ภาพข่าว: ไทยคม มอบชุดอุปกรณ์ดีทีวี ผ่านวุฒิสภาร่วมสนับสนุน “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนที่ขาดแคลน”

อังคาร ๒๓ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๗:๕๓
นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ (ที่ 4 จากซ้าย) บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) มอบชุดอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมดีทีวี ในโครงการไทยคิด ไทยคม จำนวน 30 ชุด ผ่านวุฒิสภา เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล หรือขาดแคลนครูสอนหนังสือ ตาม “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนที่ขาดแคลน” โดยมี นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการ (ที่ 4 จากขวา) เป็นผู้รับมอบ ร่วมด้วย นายอนันต์ วรธิติพงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 3 (ที่ 1 จากซ้าย) และรองศาสตราจารย์อัจฉรา เตชฤทธิพิทักษ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 5(ที่ 2 จากขวา) ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๒

“โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนที่ขาดแคลน” จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เพื่อช่วยเหลือ และจัดสรร พร้อมบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์ประกอบการใช้งาน ให้กับโรงเรียนที่ยังขาดแคลน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียน ได้ทำการศึกษาและเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ให้เท่าทันกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ