หลักสี่ใช้กระบวนการ CBM หวังลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน

พุธ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๐:๓๘
สำนักงานเขตหลักสี่ขานรับนโยบายการลดมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าลดปริมาณมูลฝอยในพื้นที่ ด้วยแนวคิดการจัดการมูลฝอยโดยชุมชน (CBM) จัดกิจกรรมขยะแลกไข่กระตุ้นให้ชาวชุมชนเห็นคุณค่าขยะรีไซค์เคิล มุ่งลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน

นางสาวระเบียบ กูบกระบี่ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ กทม. แจ้งว่า สำนักงานเขตหลักสี่ตั้งเป้าลดปริมาณมูลฝอยในพื้นที่ด้วยแนวคิดการจัดการมูลฝอยโดยชุมชน (Community Basedd Solid Waste Management : CBM) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการจัดการมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชุมของตนเอง จัดระบบการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อมุ่งเป็นต้นแบบชุมชนน่าอยู่ โดยเขตฯ ได้เสริมสร้างวินัยประชาชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนในการคัดแยกขยะมูลฝอยและนำไปใช้ประโยชน์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมให้คำนึงถึงประโยชน์ของมูลฝอยบางประเภทที่สามารถกลับมาผลิตใหม่ อันเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันจะหมดไป ทั้งนี้เขตฯ ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการรับซื้อวัสดุรีไซเคิล ผู้ประกอบการรับซื้อเศษอาหาร เข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการลดปริมาณมูลฝอย เช่น การให้ความรู้แก่ประชาชน จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ เป็นต้น สำหรับชุมชนที่เขตฯ ได้กระตุ้นและส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยด้วยกระบวนการ CBM ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วมีจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนพงษ์เพชร แจ้งวัฒนะ 14 ชุมชนกฟภ.- นิเวศน์ 2 และชุมชนพัชราภา-เทพไพเราะ นอกจากนี้เขตฯ กำลังขยายการดำเนินงานอีก จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนชวนชื่นบางเขน ชุมชนราชพฤกษ์ ชุมชนพงษ์เพชรพัฒนา และชุมชนแจ้งวัฒนะผาสุก และจะขยายไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วพื้นที่เขตฯ ในอนาคต

นางสาวระเบียบ กล่าวด้วยว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในหลายด้าน เช่น ด้านกายภาพชุมชนจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาด สวยงาม ด้านเศรษฐกิจจะได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าก่อนทิ้งเป็นขยะมูลฝอย ด้านสังคมเกิดความสมานสามัคคี ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาของชุมชนทั้งในส่วนการจัดการขยะและการพัฒนาชุมชน ด้านคุณภาพชีวิต ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพราะมีระบบจัดการขยะที่ดีสามารถลดแหล่งสะสมเชื้อโรคและพาหะนำโรค ลดปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการเสริมสร้างวินัยประชาชนในการทิ้งขยะตั้งแต่ในระดับครัวเรือนด้วย อย่างไรก็ดีเพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เขตฯ กำหนดติดตามผลการดำเนินงานและประสานแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ทุก 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณขยะ ข้อมูลองค์ประกอบขยะ การคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO