คณะกรรมการการตัดสินพิจารณาภาพถ่ายมากกว่า 7,000 ภาพ จากช่างภาพมากกว่า 350 ท่านทั่วทั้งภูมิภาค อันได้แก่ ไทย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มองโกเลีย, ฟิลลิปินส์ และประเทศเจ้าภาพที่ร่วมจัดการแข่งขันในครั้งนี้ โดยเหล่าบรรดาภาพถ่ายจำนวนนับไม่ถ้วนที่บันทึกเหตุการ์ณต่างๆ ที่เกิดของผู้คนโดยได้ถูกถ่ายทำในพ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นปีที่น่าเหลือเชื่ออย่างยิ่ง ตั้งแต่เหตุการ์ณการเมืองไทยที่ไม่สงบ จนถึงสงครามในอัฟกานิสถานตั้งแต่การดิ้นรนต่อสู้ในแต่ละวัน และชัยชนะ รวมไปถึงการทำงาน และการดำรงชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ซึ่งการส่งเข้าประกวดจะถูกทดสอบถึงการอุทิศตน และความคิดสร้างสรรค์ของช่างภาพในเอเชีย รวมไปถึงความอดทนภายใต้สถานการณ์ที่รุนแรงในการเข้าไปอยู่ในพื้นที่อันตราย หรือในเขตที่ขัดแย้งกัน
โดยผลการตัดสินประกาศในงานรับรางวัลในเย็นวันศุกร์สุดพิเศษแบบค็อกเทล ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม เวลา 19.00 น. ณ เอฟซีซีที คลับเฮ้าส์ บนชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ใจกลางกรุงเทพ โดยช่างภาพ และผู้สื่อข่าวชั้นนำมากมายจะเข้าร่วมการเฉลิมฉลองในครั้งนี้ และผู้ร่วมงานทุกท่านจะได้รับ นิตยสาร Dateline ของ เอฟซีซีที ฉบับพิเศษ โดยเป็นการรวบรวมภาพถ่ายที่ชนะเลิศทั้งหมด โดยใครมาก่อนก็มีโอกาสที่จะได้รับนิตยสารก่อน
ลำดับถัดไปคือการแสดงผลงานในนิทรรศการที่จัดขึ้นในระยะเวลาถึง 2 เดือน ที่จะเปิดให้กับประชาชนทั่วไป ณ เอฟซีซีที ในเดือน ธันวาคม และ มกราคม
คณะกรรมการได้คัดเลือกผู้ชนะใน 4 ประเภท ได้แก่ ภาพในเหตุการณ์ข่าว, ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว, ภาพสิทธิมนุษยชน (การแข่งขันประเภทพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหภาพยุโรป) และภาพชุด นอกจากนี้คณะกรรมการจะเลือกช่างภาพเพียงหนึ่งท่านของปีนี้เพื่อรับรางวัลช่างประจำปีที่จะได้รับรางวัลสูดสุดในการประกวด สำหรับผลงานที่ดีที่โดดเด่นสุดจากช่างภาพเพียงหนึ่งท่านเท่านั้น
รางวัลที่จะได้รับ - ในประเภทภาพสิทธิมนุษยชน สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปจะได้รับรางวัลเงินสด US$ 2,000 และ รางวัลช่างภาพประจำปี จะได้รับรางวัลเงินสด US$ 1,000 พร้อมทั้งบัตรกำนัลจากโรงแรมที่หรูหราที่สุดในภูมิภาค และตั๋วเครื่องบินไปกลับในภูมิภาคเอเชียที่ได้จากผู้สนับสนุนของเอฟซีซีทีที่มีน้ำใจ รวมไปถึงผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันในครั้งนี้ อันได้แก่ บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย, สตาร์ อัลลิอานซ์ เครือข่ายสายการบินระดับโลก รวมไปถึง สายการบินไทย และสายการบินนานาชาติชั้นนำ, สหาภาพยุโรป, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ, โรงแรม อมารี เอเมอรัลด์ โคฟ รีสอร์ท — เกาะช้าง, โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ, โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ, โททัล ควอลิตี้ พับบลิค รีเลชั่นส์ (ทีคิวพีอาร์) และ บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล๊ป แอนด์ สตูดิโอ
ในปีนี้การแข่งขันจะได้รับการตัดสินจากเหล่าบรรดาผู้สื่อข่าวที่ได้รับการยอมรับในภูมิภาคนี้
โดมินิค โฟลเดอร์ — ผู้สื่อขาวชาวอังกฤษที่พำนักในกรุงเทพตั้งแต่ช่วงต้นของพ.ศ. 2523 ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเหล่าบรรดาองค์กรข่าวทั้งหลาย และยังเป็นสมาชิกของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยผลงานที่ผ่านมาของเขา คือ เป็นนักข่าวพิเศษสำหรับข่าวประจำสัปดาห์ของเอเชียวีคประจำภูมิภาค และรายงานข่าวส่วนใหญ่ในพม่า และกัมพูชา
ยูมิ โกโต — ช่างภาพอิสระ, ภัณฑรักษ์เกี่ยวกับภาพถ่ายในเชิงสารคดี, บรรณาธิการข่าว, และที่ปรึกษา ซึ่งมุ้งเน้นกับการร่วมงานกับศิลปินที่ดำรงชีวิต และทำงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้ง, ภัยธรรมชาติ, การถูกเอาเปรียบทางด้านสิทธิมนุษยชน และสตรี ผลงานของที่ผ่านมาได้รวมถึงการทำงานทางด้านภัณฑรักษ์ของนิทรรศการ International Orange Photo Festival ใน ฉางชา, หูหนาน ประเทศจีน และภัณฑรักษ์ของนิทรรศการ Aleppo International Photo festival ใน ซีเรีย
ดาเมียร์ ซาโกลจ์ — ช่างภาพที่ชนะในการประกวด พำนักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นช่างภาพอวุโสของสำนักข่าวรอยเตอร์ในภูมิภาคเอเชีย และสถานที่ต่างๆ ที่มีข่าวพาดหัว เขาใช้ระยะเวลา 10 ปีในตะวันออกกลางรวมไปถึงความขัดแย้งของอิรัค และอิหร่าน รวมไปถึงสงครามในอัฟกานิสถาน และ อิรัค ผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ และจัดแสดงอย่างกว้างขวาง และได้รับการยกย่อง
ห้ามพลาดงานนี้เด็ดขาด
ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
อังคณา บุญสวัสดิ์ (เปิ้ล)
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร: 0 2260 5820 ต่อ 125 อีเมล์: [email protected]