โรงพยาบาลกรุงเทพเปิดตัว “สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ”

อังคาร ๐๗ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๔:๑๒
โรงพยาบาลกรุงเทพเปิดตัวสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ” (Pacific Rim Electrophysiology Research Institute at Bangkok Hospital) พร้อมเผยแพร่ศักยภาพงานวิจัยให้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ Pacific Rim Electrophysiology Research Institute at White Memorial Medical Center, Los Angeles, USA และ Heart Rhythm Institute, Centinela Hospital Medical Center, USA เปิดตัว “สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ” (Pacific Rim Electrophysiology Research Institute at Bangkok Hospital) เพื่อเป็นสถาบันที่ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้บริการตรวจและรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ พร้อมทั้งจะเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาต่อเนื่องสำหรับอายุรแพทย์หัวใจทั้งแพทย์ไทยและแพทย์ต่างชาติ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เป็น World-Class Cardiac Electrophysiology Research Institute

นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในปัจจุบัน โรงพยาบาลกรุงเทพมีเครือข่ายอยู่ 20 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาและตรวจสุขภาพเป็นจำนวนหลายแสนคน ซึ่งโรคหัวใจ เป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้น เพื่อสร้างมาตรฐานและระบบการตรวจรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านการการแพทย์และเทคโนโลยี การวินิจฉัยการรักษา เพื่อพัฒนาความรู้ของแพทย์และพยาบาล รวมไปถึงการรวบรวมสถิติการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้มีประสิทธิภาพ ทางโรงพยาบาลจึงได้ประสานความร่วมมือนี้ กับ สถาบันวิจัยและรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Pacific Rim Electrophysiology Research Institute ซึ่งมีสาขาอยู่หลายแห่งในต่างประเทศ จัดตั้ง “สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ” ขึ้นในประเทศไทย เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งให้บริการตรวจและรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต

้ นผิดจังหวะ และพร้อมจะเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาต่อเนื่องสำหรับอายุรแพทย์หัวใจ ทางโรงพยาบาลคาดหวังว่า สถาบันวิจัยแห่งนี้จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น World-Class Cardiac Electrophysiology Research Institute

นายแพทย์ กุลวี เนตรมณี ประธานสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ อายุรแพทย์รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีชื่อเสียงในวงการแพทย์หัวใจระดับโลก และมีประสบการณ์มากว่า 30 ปี เป็นผู้อำนวยการของ Pacific Rim Electrophysiology Research Institute at White Memorial Medical Center, Los Angeles, USA และ Heart Rhythm Institute, Centinela Hospital Medical Center, USA กล่าวว่า สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับความร่วมมือจากอายุรแพทย์หัวใจจากหลากหลายสถาบันชั้นนำทั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในภาครัฐอื่นๆ เช่น ร.พ.ศิริราช ร.พ.รามาธิบดี ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ร.พ.ภูมิพลอดุลยเดช และ วชิรพยาบาล เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ

1. ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งปัจจุบันสถาบันแห่งนี้ได้จับมือกับศูนย์ป้องกันและพัฒนาการการรักษาโรคหัวใจ ร.พ.ภูมิพลอดุลยเดช เพื่อร่วมกันดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยังไม่ทราบสมมุติฐาน ดังเช่น โรคใหลตาย ซึ่งเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ จนได้รับการถ่ายทอดทางรายการ National Geographic และการวิจัยเกี่ยวกับโรคใหลตายของผู้วิจัยกลุ่มเดียวกันนี้ ยังได้รับการยอมรับในการแสดงผลงานภายในการประชุมของสมาคมหัวใจระดับโลกที่สหรัฐอเมริกา (American Heart Association

2. เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอันเป็นประโยชน์สำหรับอายุรแพทย์หัวใจทั้งแพทย์ไทยและต่างชาติ

3. ให้บริการตรวจและรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกประเภทโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วยมาตรฐานสากล (JCI-Joint Commission International)

4. เป็นสถาบันวิจัยและรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น การหาจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยใช้ภาพหัวใจ 3 มิติตามความซับซ้อนของคลื่นหัวใจและรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าพลังงานเท่าคลื่นวิทยุ จี้ทำลายจุดนั้น ในอนาคตจะมีการใช้หุ่นยนต์ ช่วยตรวจและรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย

สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะแปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ ยังให้บริการตรวจและรักษาด้วย 1. การใช้สายสวนพิเศษจี้ทำลายจุดกำเนิดหรือวงจรที่ผิดปกติในห้องหัวใจ อันเป็นสาเหตุของการเต้นผิดจังหวะ (Catheter Ablation) ซึ่งปัจจุบันได้ใช้เทคโนโลยีพิเศษ คือ Complex Fractionated Atrial Electrocardiograms (CFAEs)

2. การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และตรวจหาจุดกำเนิดของการนำไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ เพื่อทำการรักษาด้วยไฟฟ้าพลังงานความถี่เท่าคลื่นวิทยุ รวมถึงประเมินประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษา ตลอดจนการปรับสภาพอุปกรณ์ติดตัวที่ใช้ควบคุมไฟฟ้าหัวใจ

3. การฝังอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าหัวใจให้เต้นในจังหวะที่ปกติ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ทุกชนิด (Cardiac Device Implantation)

นวัตกรรมการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างมีประสิทธิภาพ..ที่สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ(Pacific Rim Electrophysiology Research Institute at Bangkok Hospital)AF Ablation หรือการใช้สายสวนชนิดพิเศษเพื่อค้นหาตำแหน่งและจี้ทำลายจุดกำเนิดการเต้นผิดปกติในหัวใจด้วยไฟฟ้าพลังงานความถี่เท่าคลื่นวิทยุในผู้ป่วยที่หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ซึ่งมักจะมีอาการอ่อนล้า ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจมีอันตรายถึงอัมพฤกษ์ อัมพาต และหัวใจล้มเหลวได้ การรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว อัตราการหายสูง ไม่ต้องผ่าตัดหรืออาจจะไม่ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต

AF Ablation with Complex Fractionated Atrial Electrocardiograms (CFAEs) เป็นวิธีการจี้ทำลายจุดกำเนิดของการเต้นผิดปกติในห้องหัวใจซึ่งนายแพทย์ กุลวี เนตรมณี เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาการหาตำแหน่งความผิดปกติในหัวใจจากภาพหัวใจ 3 มิติด้วยระบบแสดงภาพของ CARTO และ CARTOSOUND ในสีต่างๆ ตามความซับซ้อน (degree and length) ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และภาพ 3 มิตินี้สามารถ mapping กับภาพที่ได้จาก CT/MR หรือ real time ultrasound จึงทำให้เห็นตำแหน่งของความผิดปกติของโรคชัดเจนขึ้น ทำให้แพทย์จี้ทำลายจุดกำเนิดการเต้นผิดปกติได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งที่ได้รับการจี้รักษาแล้วทำให้ไม่ถูกจี้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการลดอาการแทรกซ้อนหลังการรักษา กล่าวได้ว่าด้วยวิธี CFAEs นี้ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและมีอัตราการหายมากกว่าการจี้หัวใจโดยทั่วไป

SVT Ablation หรือวิธีรักษาโดยการจี้ทำลายจุดกำเนิดการเต้นผิดปกติในหัวใจห้องบนด้วยไฟฟ้าพลังงานความถี่เท่าคลื่นวิทยุในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบบ่อยในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะทั่วไป ภาวะดังกล่าวผู้ป่วยอาจจะมีหรือไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น วูบ เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดทำงาน ดังนั้นการตรวจหาตำแหน่งและจี้ทำลายจุดกำเนิดการเต้นผิดปกติในห้องหัวใจด้วยวิธีนี้จึงเป็นการรักษาที่สาเหตุโดยตรงจึงสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพการวิจัยต่อเนื่อง ที่ สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ

ปัจจุบันการศึกษาเพื่อหาทางรักษาและป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากโรคอันตรายเช่นโรคใหลตายนี้ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ โดย ร่วมกับศูนย์ป้องกันและพัฒนาการการรักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิดวงตะวัน (Cardiac Arrest Prevention Research and Education, CAPRE) และมูลนิธิเวชดุสิตในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (email: [email protected]) ก็ยังคงค้นคว้าวิจัยเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่ถูกต้องอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย นอกจากนี้ สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพยังมีแผนงานในการเพิ่มโครงการวิจัยเกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกประเภท รวมถึงการวิจัยในโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อไปในอนาคต

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 023103000 โรงพยาบาลกรุงเทพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๔๗ TEKA ร่วมสนับสนุนชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๕:๑๘ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ STI และพันธมิตร เดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง ผ่านกิจกรรม
๑๕:๓๐ ม.พะเยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านวิชาการ กับ National Pintung University สาธารณรัฐประชาชนจีน
๑๕:๓๒ สยามเซ็นเตอร์ ต้อนรับเทศกาลส่งท้ายปลายปี กับ The Magical Art (of) Toy Celebration รวมเหล่าอาร์ททอยกว่า 100 คาแรกเตอร์
๑๕:๔๘ สหพัฒนพิบูล ต้อนรับการกลับมาของซีรีส์สควิดเกม เล่นลุ้นตาย (Squid Game) ซีซัน 2 เปิดตัวรสชาติใหม่ Spicy Korean Squid Ink
๑๕:๐๙ PCE จัด Analyst Meeting Q3/2024 โชว์ศักยภาพผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มครบวงจร
๑๕:๔๔ ภาพถ่าย ช่วยแม่ คว้ารางวัลประกวดภาพถ่าย รู้จักดิน ทำกินได้ เนื่องในวันดินโลก ประจำปี 2567
๑๕:๔๓ โรงพยาบาลวิมุต ผ่านมาตรฐานสถานพยาบาลระดับโลก Joint Commission International (JCI)
๑๕:๕๖ ทั่วโลกตื่นตัวรับเทรนด์การดูแลสุขภาพเชิงคุณค่า (Value-Based Healthcare) จากงานประชุมวิชาการร่วม ประจำปี 2567 ของ
๑๕:๔๖ สุดปัง! 'LYKN' อวดความน่ารักสุดทะเล้นใส่แฟน ๆ TMC ในเพลง 'หยอกไม่หลอก'