ผู้ชนะในปีนี้ ได้แก่:
ช่างภาพดีเด่นประจำปี: พอลล่า บอนสตีล
ภาพในเหตุการณ์ข่าว
รางวัลที่หนึ่ง: อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา (ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง)
รางวัลชมเชย: แดเนียล เบเลฮูลัค (น้ำท่วมในประเทศปากีสถาน)
รางวัลชมเชย: เซปเทียวาน (กลุ่มผู้ชุมนุมในกรุงจาการ์ตา)
ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
รางวัลที่หนึ่ง: โปรเบิล เราะชีด (ผู้สวดมนต์ในประเทศบังกลาเทศ)
รางวัลชมเชย: โรเบิร์ต กิลฮูรี่ (การฆ่าตัวตายของภูเขาไฟฟูจิ)
ภาพสิทธิมนุษยชน
รางวัลที่หนึ่ง: คัทซูโอะ ทาคาฮาชิ (ผู้อพยพชาวพม่า)
รางวัลชมเชย: โนริโกะ ฮายาชิ (การโจมตีด้วยน้ำกรดในประเทศปากีสถาน)
รางวัลชมเชย: ปิแอร์เปาโล มิททิคา (เหมืองแร่กัมมะถันในประเทศอินโดนีเชีย)
ภาพชุด
รางวัลที่หนึ่ง: ซอก แจฮยอน (พนักงานเสิร์ฟในประเทศฟิลิปปินส์)
รางวัลชมเชย: อมแบร์โต ฟราตินี่ (อุตสาหกรรมบริการทางเพศในประเทศญี่ปุ่น)
การจัดงานประกวดภาพถ่ายเชิงข่าวได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ถือเป็นความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด นับตั้งแต่การจัดงานในปี 2551 เป็นต้นมา ในปีนั้นมีช่างภาพเข้าร่วมการประกวดเพียง 35 ท่าน และภาพส่งเข้าประกวดเพียงร้อยกว่าภาพ ซึ่งมีภาพส่งเข้าประกวดจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าเหล่าบรรดาช่างภาพทั่วเอเชียให้ความสำคัญในการส่งภาพประกวด ทั้งๆที่อุตสาหกรรมทางด้านสื่อมวลชนนานาชาติประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจก็ตาม ซึ่งทำให้ช่างภาพข่าวประสบความยากลำบากเกี่ยวกับค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงาน
โดยคณะกรรมการตัดสินให้ความชื่นชมกับผลงานของ พอลล่า บอนสตีล เป็นอย่างมาก ช่างภาพข่าวซึ่งประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับรางวัลช่างภาพดีเด่นประจำปี
ในปีนี้ มิสบอนสตีล ซึ่งมีชื่อเสียงในกลุ่มช่างภาพในเอเชียสำหรับปีของเธอในการทำงานที่ยากลำบากในการครอบคลุมบางเหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ เมื่อข่าวพาดหัวเธอก็ไม่กลัวที่จะอยู่ในแถวหน้า เหมือนอย่างเธอได้ถ่ายทอดเหตุการณ์ประเทศไทยในปีนี้ เธอได้บันทึกบางเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงตายในแต่ละประเทศด้วยภาพอย่างกล้าหาญไม่ว่าจะเป็นภาพเหตุการณ์ความรุนแรงของสมรภูมิรบบนถนนในกรุงเทพมหานครสู่ผู้ชมทั่วโลก เธอยังถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำภาพข่าวชุดซึ่งรายงานอย่างเจาะลึก รวมไปถึงการใช้เวลานานนับเดือนในการทำงานในประเทศอัฟกานิสถาน เธอใช้เวลาหลายชั่วโมงในการพัฒนาความสัมพันธ์ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของผู้ติดเฮโรอินที่พยายามจะทำให้พวกเขากลับฟื้นฟูสู่สภาพเดิม ภาพถ่ายเหยื่อชาวอัฟกานิสถานในสงครามของเธอนั้นได้ถ่ายทอดได้อย่างเสมือนกับ
เหตุการณ์จริง
โดยเฉพาะการถ่ายทอดหนึ่งในเรื่องราวที่ยังไม่เคยเปิดเผยในสงครามซึ่งเป็นการถ่ายทอดที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นภาพที่ประชาชนถูกจับอยู่ตรงกลางระหว่างการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย โดยคณะกรรมการตัดสินได้ตัดสินจากเป้าหมาย ความทักษะทางด้านเทคนิค และความสามารถในการถ่ายภาพความเป็นมนุษย์ในสถานการณ์ที่ทารุณโหดร้ายของเธอ ด้วยบ่อยครั้งแสง และคอนทราสต์ได้นำความละเอียดอ่อนสู่ภาพของเธอเป็นอย่างมาก
ทางคณะกรรมการยังมีความชื่นชมผลงานที่ส่งเข้าประกวดสำหรับประเภทภาพสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลงานที่มีความน่าสนใจกับประเด็นที่อยู่ในความสนใจเกี่ยวกับ สิทธิของผู้หญิง, ความเท่าเทียม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในภูมิภาคนี้ โดยคณะกรรมการประทับใจผลงานของ คัทซูโอะ ทาคาฮาชิ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ภาพถ่ายเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เลวร้ายของผู้หญิงชาวพม่าที่ถูกขายสู่ประเทศจีน และถูกบังคับให้แต่งงาน ซึ่งผู้หญิงได้ถูกสัญญาจ้างงานในประเทศจีน ประเทศที่มีการเจริญทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุด สุดท้ายเธอก็ค้นพบว่าตัวเองว่าถูกหลอก ผู้ที่สามารถหลบหนีออกมาได้นั้นได้เล่าถึงการถูกข่มขืน การถูกข่มเหงทางร่างการ และความโดดเดียว โดยภาพถ่ายที่ชนะเลิศนั้นได้คือภาพผู้หญิงพม่าที่ได้รับอิสระในประเทศจีนในขณะที่รวมอยู่กับสามีของเธอ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงถึงความสามารถที่พิเศษของช่างภาพที่ได้ความเชื่อใจกับบรรดาเหยื่อ และได้นำการต่อสู้ที่อยู่ภายในจิตใจของพวกเขาแสดงสู่โลกภายนอก ช่างภาพอื่นๆ ก็ได้รับการยอมรับในสาขานี้ ได้แก่ ภาพความหวาดกลัวในความรุนแรงต่อผู้หญิงในปากีสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายด้วยน้ำกรด และภาพการขาดมนุษยธรรมกับคนงานในเหมืองแร่กำมะถันในประเทศอินโดนีเซีย
“ผมขอแสดงความยินดีกับช่างภาพที่ชนะการประกวดรวมไปถึงคณะผู้ที่จัดงานในครั้งนี้ ด้วยการตอบรับจากผู้ที่สนใจจำนวนมาก จากช่างภาพมากกว่า 350 ท่านจากทั่วภูมิภาค เราตัดสินใจให้การสนับสนุนรางวัลในประเภทพิเศษนี้ เพราะสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชคือศูนย์กลางของความสัมพันธ์ภายนอกของสหภาพยุโรป การอภิปรายทางการเมืองทั้งสองครั้งเราได้ยึดถือ และดำรงความคิดในการพัฒนาการทำงานของเรา ภาพที่ชนะการประกวดจะช่วยให้เกิดการตระหนักในสาธารณชนเพิ่มสูงขึ้นทางด้านการค้ามนุษย์ในการสนับสนุนการต่อสู้กับความชั่วร้ายของการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน” กล่าวโดย นาย เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย
“นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรารู้สึกประหลาดใจไปกับทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ของบรรดาช่างภาพเอเซีย ในการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของพวกเรา” แพททริก บาร์ตา คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย และหนึ่งในผู้จัดการประกวดกล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เห็นช่างภาพมากมายได้ส่งผลงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก และเราคาดว่าจะได้มีโอกาสรับผลงานที่ดีที่สุดเพิ่มมากขึ้นในการประกวดปีต่อๆไป”
สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว และภาพชุดจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,000 เหรียญสหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับชั้นประหยัดเพื่อเดินทางในภูมิภาคเอเชียจากสายการบินในเครือ Star Alliance เครือข่ายสายการบินระดับโลก รวมไปถึง สายการบินไทย และสายการบินนานาชาติชั้นนำ ผู้ชนะในประเภทภาพสิทธิมนุษยชนจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 2,000 เหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป รางวัลช่างภาพดีเด่นประจำปีจะได้รับเงินรางวัน 1,000 เหรียญสหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับชั้นประหยัดเพื่อเดินทางในภูมิภาคเอเชีย ผู้ชนะยังจะได้รับบัตรกำนัลท่องเที่ยวจากโรงแรมชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การประกวดจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดสนับสนุนจากผู้สนับสนุนที่ใจดีของเอฟซีซีทีอีกมากมาย
บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) เป็นบริษัทเภสัชกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านเภสัชกรรมระดับโลก ที่นำเสนอสินค้าเกี่ยวกับการบำบัดโรคหัวใจ คอเรสเตอรอลสูง และเกี่ยวกับทางการแพทย์ในด้านต่างๆ ไฟเซอร์เป็นผู้นำระดับโลกทางด้านการวิจัย และวิวัฒนาการ เป็นผู้สนับสนุนสมาคมฯ เป็นระยะเวลายาวนาน โดยให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อเป็นรางวัลในปีนี้
สำนักงานคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย ตัวแทนดูแลกิจการของสหภาพยุโรปในประเทศไทยและให้การสนับสนุนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมทั้งการพัฒนาอื่นๆ โดยให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน ในประเภทการแข่งขันเพื่อสิทธิมนุษยนชนในปีนี้
สตาร์ อัลลิอานซ์ เครือข่ายสายการบินระดับโลก รวมไปถึง สายการบินไทย และสายการบินนานาชาติชั้นนำ ให้การสนับสนุนตั๋วเครื่องบินไปกลับในเอเชียเพื่อเป็นรางวัลสำหรับการประกวด
โททัล ควอลิตี้ พับบลิค รีเลชั่นส์ (ทีคิวพีอาร์) บริษัทอิสระชั้นนำ ให้บริการด้านการปรึกษา และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยทีคิวพีอาร์ให้การสนับสนุนทางด้านการจัดการ และการปรึกษาทางด้านประชาสัมพันธ์ในการประกวดในปีนี้
บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล็บ หนึ่งในผู้ที่ได้รับความไว้วางใจที่สุดในการให้บริการห้องแล็บในกรุงเทพ และเป็นผู้ร่วมมือกับ เอฟซีซีที มาเป็นเวลานาน ที่ให้บริการอัดภาพถ่ายคุณภาพสูงสำหรับภาพที่ชนะรางวัล สำหรับการจัดแสดง ณ คลับเฮาส์ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย
โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล หนึ่งในโรงแรมระดับตำนานในเอเชีย ให้การสนับสนุนห้องพัก 1 คืน สำหรับสองท่านที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล — กรุงเทพ พร้อมทั้งอาหารเช้า และอาหารค่ำที่ลอร์ด จิม หรือเดอะไชน่า เฮ้าส์
โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ หนึ่งในธุรกิจอันดับหนึ่ง และโรงแรมที่เป็นตำนานในเขตศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพ ให้การสนับสนุนห้องพักแกรนด์ ดูลักซ์ 1 คืน 2 รางวัลและบัตรรับประทาน สำหรับ 2 ท่าน 4 รางวัล ที่ห้องอาหารเอ็กเพรสโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล บุฟเฟ่ต์
โรงแรม ฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ หนึ่งในผู้นำทางด้านการโรงแรมในเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพ ให้การสนับสนุน ห้องพักสุพรีเรีย 1 คืน 2 รางวัล
โรงแรม อมารี เอมเมอรัลด์ โคฟ เกาะช้าง รีสอร์ทที่โดดเด่นด้วยห้องพัก และห้องสูทที่หรูหราที่สุดในประเทศไทยบนเกาะช้าง โรงแรม อมารี เอเมอรัลด์โคฟ รีสอร์ท — เกาะช้างอยู่ในเครืออมารี ให้การสนับสนุนห้องพักสองคืนพร้อมทั้งอาหารเช้า และอาหารค่ำ
รางวัลในปีนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากบรรดาช่างภาพผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยกย่อง ซึ่งให้เกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ได้แก่
โดมินิค โฟลเดอร์ — ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษที่พำนักในกรุงเทพตั้งแต่ช่วงต้นของพ.ศ. 2523 ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเหล่าบรรดาองค์กรข่าวทั้งหลาย และยังเป็นสมาชิกของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยผลงานที่ผ่านมาของเขา คือ เป็นนักข่าวพิเศษสำหรับข่าวประจำสัปดาห์ของเอเชียวีคประจำภูมิภาค และรายงานข่าวส่วนใหญ่ในพม่า และกัมพูชา
ยูมิ โกโต — ช่างภาพอิสระ, ภัณฑรักษ์เกี่ยวกับภาพถ่ายในเชิงสารคดี, บรรณาธิการข่าว, และที่ปรึกษา ซึ่งมุ้งเน้นกับการร่วมงานกับศิลปินที่ดำรงชีวิต และทำงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้ง, ภัยธรรมชาติ, การถูกเอาเปรียบทางด้านสิทธิมนุษยชน และสตรี ผลงานของที่ผ่านมาได้รวมถึงการทำงานทางด้านภัณฑรักษ์ของนิทรรศการ International Orange Photo Festival ใน ฉางชา, หูหนาน ประเทศจีน และภัณฑรักษ์ของนิทรรศการ Aleppo International Photo festival ใน ซีเรีย
ดาเมียร์ ซาโกลจ์ — ช่างภาพที่ชนะในการประกวด พำนักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นช่างภาพอวุโสของสำนักข่าวรอยเตอร์ในภูมิภาคเอเชีย และสถานที่ต่างๆ ที่มีข่าวพาดหัว เขาใช้ระยะเวลา 10 ปีในตะวันออกกลางรวมไปถึงความขัดแย้งของอิรัค และอิหร่าน รวมไปถึงสงครามในอัฟกานิสถาน และ อิรัค ผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ และจัดแสดงอย่างกว้างขวาง และได้รับการยกย่อง
เอฟซีซีที จะได้จัดแสดงภาพที่ชนะเลิศจากการประกวด ณ คลับเฮ้าส์ของสโมสรเป็นเวลาประมาณสองเดือนด้วยกัน จนถึงช่วงปลายเดือนมกราคม โดยการจัดแสดงจะเปิดให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจด้านการถ่ายภาพได้เข้าชม ณ
นิทรรศการ เอฟซีซีที โฟโต้ คอนเทส วินเนอร์
วันที่: 3 ธันวาคม - 29 มกราคม
สถานที่: เอฟซีซีที คลับเฮาส์ ชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ เลขที่ 518/5 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (เชื่อมกับบีทีเอส สถานีชิดลม)
เวลาทำการ: เปิดทุกวันจันทร์ — ศุกร์ 10.00 น — 23.00 น. ปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุด โทร: 02-652-0580-1
อีเมลล์: [email protected]เว็บไซท์: http://www.fccthai.com
รูปสำหรับการประกวดในปีนี้ สามารถเป็นเจ้าของได้โดยติดต่อ คุณแพททริก บาร์ตา คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ได้ที่ [email protected] หรือ 081-309-9109 พร้อมกันนี้สามารถเข้าชมภาพได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ที่ www.fccthai.com โดยทางเรายินดีจัดการสัมภาษณ์ผู้ที่ชนะการประกวดในครั้งนี้ให้กับสื่อมวลชนที่สนใจ
เกี่ยวกับช่างถ่ายภาพ
แดเนียล เบเลฮูลัค ช่างภาพประจำกรุงนิวเดลลี ของ เก็ตตี้ อิมเมจ นิวส์ เซอร์วิส ครอบคลุมบริเวณเอเชียใต้และนอกเหนือไปจากนี้ เกิดที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตเรีย เขาได้ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ที่ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟนิวเซ้าท์เวล เขาได้เข้ารวม เก็ตตี้ อิมเมจ พ.ศ. 2545 ที่ซิดนีย์ และได้ย้ายถิ่นฐานไปที่ ลอนดอน ในฐานะงานช่างภาพพ.ศ. 2548 ผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ และนิตยสารชั้นนำทั่วโลก รวมไปถึงเดอะนิวยอร์คไทมส์, เดอะวอชิงตัน โพสต์, เดอะลอสแองเจลิสไทมส์, เดอะวอลสตรีทเจอร์นัล, เดอะการ์เดียน, ดิอินดิเพนเดนท์, เดอะ ไทมส์, สเติร์น, นิตยสารไทมส์, นิวส์วีค และอื่นๆอีกมากมาย
พอลล่า บอนสตีล เป็นช่างภาพอวุโสของ เก็ตตี้ อิมเมจ ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ เธอได้รับรางวัลจากที่ต่างๆ อย่างมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงรางวัลรองชนะเลิศช่างภาพประจำปีในงาน Pictures of the Year-International (POYI) และ National Press Photographer’s Association (NPPA) และรางวัลต่างๆอีกมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมไปถึง The World Press Photo และ Overseas Press Club: the John Faber award เธอเป็นช่างภาพข่าวมากกว่า 25 ปี ซึ่งครอบคลุมไปถึงข่าวหลากหลายประเภท สารคดี ภัยพิบัติจากธรรมชาติ สงคราม และเขตที่มีความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัฟกานิสถาน พอลล่าได้จบการศึกษาระดับปริญญา คณะวิจิตรศิลป์ สาขาภาพถ่ายเชิงข่าว จาก Rochester Institute of Technology ในนิวยอร์ค ผลงานของเธอที่ผ่านมา ได้แก่ Providence Journal Bulletin, The New Haven Register, The Hartford Courant, เดอะชิคาโก ทริบูน และ เดอะรีจิสเตอร์กาด ในเมืองยูจีน มลรัฐโอเรกอน พ.ศ. 2541 พอลล่าได้เลือกที่จะทำงานอิสระ และได้ย้ายมาพำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย และหลังจากนั้น 4 ปีเธอได้ร่วมงานกับเก็ตตี้ อิมเมจ
อมแบร์โต ฟราตินี่ เกิดที่เมืองโทรอนโต และได้ทำงานช่างภาพเกี่ยวกับภาพนิ่ง ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่มิลาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับภาพถ่ายแฟชั่น และได้เริ่มทำงานอิสระ
โรเบิร์ต กิลฮูรี่ เกิดที่สหราชอาณาจักร ปัจจุบันเป็นช่างภาพอิสระที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้ปรากฎต่อสาธารชนไปทั่วโลก รวมไปถึงนิวส์วีค นิตยสารไทมส์ เดอะนิวยอร์คไทมส์, อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทริบูน, เดอะไทมส์, เดอะการ์เดียน และเดอะซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮอรัลด์ ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้สื่อข่าวของ เจแปน ไทมส์ พ.ศ. 2547 โรเบิร์ต ได้จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวารสารศาสตร์ ระหว่างที่เขามุ่งศึกษาทางด้านภาพถ่ายเชิงข่าว และตั้งแต่เขาทำงานอิสระ ภาพถ่ายเขามุ่งเน้นไปยังประเด็นทางด้านสังคมในประเทศญี่ปุ่น
โนริโกะ ฮายาชิ เป็นช่างภาพอิสระที่ประจำอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เธอเกิดพ.ศ. 2526 และเธอได้เคยศึกษาทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ และศึกษาทางด้านสื่อสารมวลชนในระดับวิทยาลัย เธอได้เริ่มทำงานเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแกมเบียน “The Point” ทางตะวันตกแอฟริกา พ.ศ. 2549 ในพ.ศ. 2553 ภาพของโนริโกะได้รับเลือกให้เป็น Young Portfolio Acquisition 2010 ของพิพิธภัณฑ์คิโยซาโต ของ Photographic Art
ซอก แจฮยอน เป็นช่างภาพอิสระ เขาเคยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Kyungil ในเกาหลีใต้ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านนิเทศศิลป์ จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเคยทำงานอยู่หนังสือพิมพ์ประจำวัน ในมิชิแกน ก่อนที่จะสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพที่มหาวิทยาลัยเกาหลี เขาได้จัดแสดงผลงานที่เป็นผลงานของเขาเองหลายครั้ง ระหว่างที่เขาได้ทำสารคดีเกี่ยวกับผู้หลบหนีชาวเกาหลีเหนือในช่วงต้นพ.ศ. 2546 เขาได้ถูกจับโดยเจ้าหน้าที่ของจีน และถูกกักขังในคุกชาวจีนนานกว่า 14 เดือน ในปัจจุบันเขาได้ทำงานเกี่ยวกับภาพถ่ายสารคดี และเขาเป็นตัวแทนให้กับ OnAsia.com
ปิแอร์เปาโล มิททิคา เป็นช่างภาพสารคดีทางสังคมชาวอิตาลี โดยปัจจุบันเขาได้เป็นตัวแทนให้กับ ทรอลลีสหราชอาณาจักร เขาได้จบการศึกษาในระดับปริญญาโท และได้รับประกาศนียบัตรจาก CRAF ทางด้านการอนุรักษ์ เทคนิค และประวัติการถ่ายภาพ พ.ศ. 2533 เขาได้ถ่ายภาพในประเทศจีน เวียดนาม, คิวบา, บอสเนีย, โคโซโว, เซอร์เบีย, ยูเครน, เบลารุส, อินเดีย, อินโดนีเซีย และบังกลาเทศ โดยภาพถ่ายของเขาได้จัดแสดงอยู่ทั่วยุโรป และสหรัฐอเมริกา และจัดแสดงผลงานอย่างถาวรในสถาบันหลากลายรวมไปถึงโรเซนบลูม นิวยอร์ค (สหรัฐอเมริกา), พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเชอร์โนบิล เคียฟ (ยูเครน) และ พิพิธภัณฑ์ เจ. พอล เก็ตตี้ ลอสแองเจลิส (สหรัฐอเมริกา)
อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา เป็นช่างภาพอิสระประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ เขาได้เริ่มการถ่ายภาพดังเช่นงานอดิเรกในพ.ศ. 2540 ในขณะที่เขาทำงานเกี่ยวกับวิศวกรคอมพิวเตอร์ และได้ตกหลุมรักการถ่ายภาพเป็นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นได้ทำงานเป็นช่างภาพอิสระเป็นเวลา 2 ปี เขาได้ทำงานให้กับ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทริบูน ไทยเดย์ หลังจากนั้นอีกสองปี เขาได้กลับมาเป็นช่างภาพอิสระอีกครั้ง เขาได้ทำงานให้กับ เก็ตตี้ อิมเมจ โดยทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวชั่วคราวในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ในหลายนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ รวมไปถึง นิตยสารไทมส์, เดอะการ์เดียน (สหราชอาณาจักร), เดอะนิวยอร์คไทมส์ และอื่นๆ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 อธิษฐ์ได้รับเลือกจาก Visa Pour L’image ให้จัดแสดงผลงานของเขาเกี่ยวกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ณ แปร์ปินญอง ประเทศฝรั่งเศส และเขายังได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัล Visa D’ or News 2010
โปรเบิล เราะชีด เกิดที่เมืองกาซิเพอ ในประเทศบังกลาเทศ พ.ศ. 2522 เขาได้จบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ และยังได้เรียนการถ่ายภาพ ปัจจุบันได้ทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพ ในมหาวิทยาลัย Bangabandhu Sheikh Mujibur Rahman Agricultural ด้วยความสนใจพิเศษทางด้านการถ่ายภาพเชิงสารคดี และภาพถ่ายรูปคน เขาได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมไปถึง International Year of Biodiversity Award พ.ศ. 2553 งานประกวดภาพถ่ายนานาชาติ ซาลอน ออฟ เจแปน 2008 (รางวัลอาซาฮี ชิมบุน) และรางวัลอื่นๆ
เซปเทียวาน ช่างภาพเชิงข่าวที่ประจำอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ผลงานที่ผ่านมาประกอบไปด้วยภาพภัยธรรมชาติ และรายงานข่าวเกี่ยวกับวัฒนธรรม เขาได้รับรางวัลมากมาย รวมไปถึง มอชตาร์ ลูบิส อวอร์ด ในพ.ศ. 2553 และ รางวัลอันทรงเกียรติในงานประกวดภาพถ่าย ไออาร์ซี 2010
คัทซูโอะ ทาคาฮาชิ ช่างภาพอิสระประจำอยู่ในโตเกียว โดยเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญงานทางการให้ “เสียงจากความเงียบ” และเขายังได้ทำงานทางด้านสารคดีเกี่ยวกับผู้อพยพชาวพม่า
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
อังคณา บุญสวัสดิ์ (เปิ้ล)
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย)จำกัด
โทร: 0 2260 5820 ต่อ 125 อีเมล์: [email protected]