ครม.อนุมัติแนวทางแก้ปัญหาบัตรสมาร์ทการ์ดแล้ว

พฤหัส ๐๙ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๓:๓๑
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงแนวทางแก้ไขปัญหาบัตรสมาร์ทการ์ดว่า คณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.)มีมติเมื่อวันนี้ (7 ธ.ค.53) ตามแนวทางที่กระทรวงไอซีทีเสนอ โดยให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550) เพื่อรองรับบัตร 26 ล้านใบที่กรมการปกครองได้ออกให้ประชาชนไปแล้วและรายการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อรองรับบัตรสมาร์ทการ์ดที่ กระทรวงไอซีที ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนคู่สัญญา (บจ.วีสมาร์ท) ผลิตไปแล้วจำนวน 9 ล้านใบให้สามารถนำออกมาใช้งานได้

“การที่ ค.ร.ม. มีมติเลือกแนวทางการแก้กฎกระทรวงมหาดไทยนั้น มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ 1.พิจารณาถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักเพราะแนวทางนี้จะทำให้ประชาชนได้ใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดเร็วที่สุด โดยคาดว่าจะสามารถนำส่งให้กับอำเภอ หรือเขตต่างๆ ได้ภายในเดือนมกราคม 2554 ภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยกลับไปแก้ไขกฎกระทรวงฯ ภายใน 2 สัปดาห์ และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง 2.การเลือกแนวทางนี้แทนการเปิดประมูลใหม่จะทำให้ภาครัฐลดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องจากเอกชน กรณีที่ไม่รับบัตรซึ่งผลิตออกมาอย่างถูกต้องตามทีโออาร์และบัตรที่ค้างสต็อกอยู่เพื่อรอการผลิตของบริษัท 3.บัตรสมาร์ทการ์ดรุ่นนี้ถือว่ามีคุณสมบัติที่สูงกว่าข้อกำหนดที่ระบุไว้ คือ มีความสลับซับซ้อนมากกว่าทำให้ปลอมแปลงได้ยากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ ค.ร.ม.เลือกการแก้ไขกฎกระทรวงมหาดไทยแทนการเปิดประมูลใหม่ที่จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานกว่าและเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องมากกว่า” นายจุติ กล่าว

นอกจากนี้ ค.ร.ม.ยังมีมติอนุมัติโครงการธนาคารไปรษณีย์เพื่อรายย่อย โดยให้มีการตั้งบริษัทจำกัดขึ้นเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อย อันเป็นโครงการที่ต่อยอดจากนโยบายการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล ซึ่งจะมุ่งเน้นกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ จำนวนกว่า 4 ล้านคน และกลุ่มที่ประสบปัญหาเงินกู้นอกระบบ จำนวน 18 ล้านคน โดยจะมีการดำเนินการจัดตั้งให้เร็วที่สุด

ส่วนประเด็นการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.ทีโอที กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการสรุปแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนออกมาตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด มีเพียงการส่งจดหมายจากกระทรวงไอซีทีเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น โดยมีกำหนดให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้กระทรวงฯ ภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ซึ่งกระทรวงฯ จะได้ประมวลความเห็นจากคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และความเห็นกระทรวงไอซีที เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

สำหรับข้อมูลที่ทางกระทรวงฯ ได้ขอเพิ่มเติมนั้น คือ 1.ความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูองค์กรในระยะยาว 3.ความคืบหน้าเรื่องการดำเนินการเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3จีของทีโอที 4.รายงานการเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคมกับคู่สัญญา และ 5.รายงานฉบับสมบูรณ์ผลสรุปการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ฯ

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 021416747 MICT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025
๑๐:๐๐ ซัมซุง จัดงาน Live Human Display การแสดงสะท้อนการใช้ชีวิตสุดชิล เมื่อมี AI จาก Galaxy Tab S10 Series เป็นตัวช่วยในการทำงาน
๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย