โดยจระเข้โบราณโคราโตซูคัส จินตสกุไล พบที่บ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในหมวดหินโคกกรวดที่มีอายุอยู่ในตอนต้นยุคครีเทเชียส หรือประมาณ 100 ล้านปีก่อน ชิ้นส่วนที่พบเป็นหัวกะโหลกที่มีลักษณะแบน ขากรรไกร ผอมเรียว ฟันมีขนาดใกล้เคียงกัน จากลักษณะของฟันคาดว่าน่าจะกินพวกปลาหรือสัตว์น้ำเป็นอาหารหลัก ถือเป็นจระเข้โบราณของโลกจากแหล่งประเทศไทยที่มีวิวัฒนาการสูง ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นกลุ่มจระเข้ในปัจจุบัน ถือเป็นตัวเชื่อมระหว่างจระเข้โบราณกับลูกหลานจระเข้ปัจจุบัน จระเข้โบราณชนิดนี้มีชื่อว่า โคราโตซูคัส จินตสกุไล (Khoratosuchus jintasakuli) มีที่มาของชื่อ ดังนี้ Khoratosuchus (โคราโตซูคัส): Khorat หรือ โคราช คือ สถานที่ที่พบตัวอย่างต้นแบบ suchus แปลว่า จระเข้ ส่วน Jintasakuli (จินตสกุไล) : คณะผู้วิจัยตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ที่ค้นพบตัวอย่างต้นแบบ และได้อนุญาตให้ ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ จากคณะวิทยาศาสตร์์ และศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม นำไปวิเคราะห์วิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2549 ปัจจุบันตัวอย่าง ต้นแบบ (Holotype) เก็บรักษาอยู่ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ บ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ราชภัฏโคราช จับมือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ราชภัฏโคราชจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติอย่างยิ่งใหญ่
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ราชภัฏโคราช ร่วมกับ ชุมชนเทศบาลตำบลรังกาใหญ่ MOU เพื่อสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น