นายมัธยม นิภาเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลต้องเสียงบประมาณในด้านสาธารณสุขต่อปีในมูลค่าที่ สูงมาก โดยในปี 2553 ได้ใช้งบประมาณไปกับการนำเข้า วัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์จากต่างประเทศ มูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เกิดจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ของประ เทศยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร รวมถึง ด้าน ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ มักถูกมองว่า ยังมีประสิทธิภาพ และคุณภาพไม่เทียบเท่ากับสินค้าที่ ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน เมื่อมองสถานการณ์การส่งออก ของอุตสาหกรรมประเภทนี้ กลับพบว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง อาทิ ปี 2552 มูลค่า 12,420 ล้านบาท,ปี 2551 มีมูลค่า 10,440 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.97 ซึ่ง นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับการวางแผนพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อส่งเสริมเชิงพาณิชย์สู่ตลาดทั้งใน และนอกประเทศ ดัง นั้น ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ การแพทย์ที่ได้จัดทำขึ้น จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดรายจ่ายของภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ต้องสูญเสียไปกับการสั่งซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศซึ่ง มีราคาสูง ด้วยวิธีการผลิตเองในประเทศ โดยใช้แนวคิดหลักคือ “ไทยคิด ไทยผลิต ไทยใช้” ทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและ ช่วยเศรษฐกิจของประเทศได้
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การ ดำเนินการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ของ ประเทศ โดยการจัดสัมมนาภายใต้หัวข้อเรื่อง “จุดประกายตลาด ใหม่...นวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ไทย ไม่ไกลเกินเอื้อม” ใน ครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างการรับ รู้การขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการ แพทย์ไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้เกิดเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตนวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการ แพทย์ไทย อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมโยงธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ โดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย และหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องร่วมกัน 4 กระทรวง คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผู้คิด) กระทรวงอุตสาหกรรม (ผู้ผลิต) กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานเอกชน (ผู้ใช้) และกระทรวงพาณิชย์ (ผู้ จำหน่าย)โดยร่วมกันขจัดอุปสรรคและข้อจำกัดเดิมที่ส่งผลต่อการ พัฒนา เช่น การขาดองค์ความรู้ และ เทคโนโลยีในการผลิต ขาดความช่วยเหลือด้านการตรวจสอบ รับรองคุณภาพมาตรฐานเพื่อเพิ่ม ความ เชื่อมั่นยิ่งขึ้น ร่วมทั้งรวมดำเนินการให้เกิดการวิจัยและพัฒนาแบบครบ วงจรนั้นคือการนำไปสู่เชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้การสัมมนาในครั้งนี้ จึงเป็นเวทีจุดประกายให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประชุมเห็นศักยภาพ และข้อได้เปรียบของประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัย ลงทุนและขยายตลาดของอุตสาหกรรมวัสดุทางการแพทย์ของประเทศให้ทัดเทียมระดับนานาชาติ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ สำคัญคือ การร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และ วัสดุทางการแพทย์ของประเทศต่อไป ดังนั้น การสร้างให้เกิดความร่วมมือขึ้นในครั้งนี้ จึงนับได้ว่าเป็นการตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูประบบการ วิจัยและพัฒนาของประเทศทางหนึ่งด้วย
การดำเนินงานดังกล่าวนับเป็นกระบวนการ ขับเคลื่อนแบบบูรณาการอย่างครบวงจร และความมุ่งหวังในผลตอบแทนที่ได้ รับคือ เกิดผลสำเร็จทั้งในด้านเศรษฐกิจ รายได้ การจ้างงาน และการเพิ่มมูลค่าสินค้า ซึ่งสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายของรัฐในการสั่งซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ โดยหันมาใช้สินค้าที่สามารถผลิตได้เองโดยฝีมือคนไทย ทั้งยังมีคุณภาพ และมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดสากลอีกด้วย นายอาทิตย์ ฯ กล่าวทิ้งท้าย
สำนัก พัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม โทร. 0 2202 4575 ข้อมูล
กลุ่ม ประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รายงาน / เผยแพร่