อาจาร์หมอสมุนไพร สุรพรรณ รองรับคนไข้จำนวนมาก เปลี่ยนวันเวลาเปิดทำการ

พฤหัส ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๒:๑๒
อาจารย์หมอสุรพรรณ หมอสมุนไพร แพทย์แผนไทย และตะวันออก (ไทย จีน อินเดีย) เปลี่ยนเวลาทำการเป็น ทุกวันศุกร์ และเสาร์ เวลา 11.00 — 15.00 น. ที่วิภาวดีรังสิต 60 แยก 6 โทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 085 188 9086, 084 731 5080

คุณหมอสุรพรรณ ศิริธรรมวานิช ปัจจุบันอายุ 73 ปี ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณทิตกิตติมศักดิ์ บ.ภ., บ.ว.(คท.) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา / ผู้ทรงคุณวุฒิสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย และอาจารย์อาจารย์พิเศษการแพทย์แผนไทยคณะเภสัชศาสตร์ ภาควินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึงมีงานเขียนหนังสือด้านการแพทย์แผนไทย จำนวน 4 เล่ม คือ ปรัชญาการแพทย์ตะวันออก โหราศาสตร์ในวิชาการแพทย์แผนไทย ปราณจักระ ไทเก๊ก แมะยืดชีวิตจับชีพจร และนวด พลังจักรวาลชุบกายสลายโลก

คุณหมอสุรพรรณ เป็นอีกหนึ่งคนที่ทุ่มเทเวลาในการศึกษาด้านสมุนไพร ไทย จีน อินเดีย และตั้งตำรับยาเพื่อรักษาโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรังมากถึง 30 ตำรับ อาทิ โรคเอดส์ เอสแอลดี รูมาตอยน์ เกาท์ เบาหวาน ความดัน กระดูกทับเส้นประสาท โรคไต โรคตับ เป็นต้น ทั้งยังใช้วิธีการตรวจรักษาโดยใช้ระบบสรีระวิทยาพลังปราณจักระและวิชาแมะ ทำให้สามารถรักษาต้นเหตุของการเกิดโรคได้ เมื่อผู้ป่วยทานยาอย่างต่อเนื่องก็จะมีอาการดีขึ้นหรือในบางรายอาจจะหายเป็นปกติ

กว่าจะมาเป็นกูรูในเรื่องการแพทย์แผนไทยและสอบผ่านใบประกอบโรคศิลป์แผนโบราณ สาขา เภสัชกรรม และ สาขาเวชกรรมนั้น คุณหมอสุรพรรณก็ได้ศึกษาหาความรู้มาไม่น้อย ทั้งจากพระอาจารย์ และพระธุดงค์ หลายๆ ท่านที่มีความรู้ในศาสตร์ด้านนี้ ไม่เพียงแต่เรียนรู้ทฤษฏีเท่านั้น คุณหมอสุรพรรณยังได้ออกท่องป่าเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านสมุนไพรกับเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จากการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ทำให้คุณหมอสุรพรรณมีทักษะในการดมกลิ่น ชิมรสตัวยา และรู้จักสรรพคุณของตัวยา ตลอดจนแหล่งกำเนิดและคุณสมบัติของยาได้เป็นอย่างดี

คุณหมอสุรพรรณ กล่าวว่า ตำรับยาที่คิดค้นเพื่อใช้ในการรักษานั้น จะไม่ส่งผลเสียต่ออวัยวะในร่างกาย แต่กลับจะช่วยปรับโครงสร้างในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น โดยการรักษานั้นจะไม่มีการใช้สมุนไพรเดี่ยวมาใช้ เพราะการใช้สมุนไพรเดี่ยวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไขความเข้าใจในการใช้ยาสมุนไพรของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ยังคงมีความเข้าใจผิดในการบริโภค บ้างก็เป็นไปตามกระแสความนิยม ยาตัวนั้นดี ตัวนี้ดี แต่แท้จริงแล้วคุณภาพหรือสรรพคุณตัวยากลับไปส่งผล 100% อาจเป็นเพราะปัจจุบันมักเน้นที่ยอดขายมากกว่าผลประโยชน์ของผู้บริโภค อีกทั้งใส่สรรพคุณหรือคำชวนเชื่อที่จูงใจมากเกินจริง หากแท้จริงแล้วการใช้ยาสมุนไพรให้มีคุณสมบัติครบในการรักษาโรคนั้น ต้องตั้งเป็นตำรับยาหาใช่การใช้สมุนไพรเดี่ยว โดยตำรับยาจะต้องประกอบไปด้วยยาหัวหน้า ยาช่วยฤทธิ์ ยาคุมฤทธิ์ ยากลบพิษ และยานำทาง อาทิ บุพโพ ยาแก้การอักเสบ อัฐิ ยาบำรุงกระดูก สัตถกะวาตะ ยาแก้ลม ความดัน มัตถะ ยาบำรุงสมอง ยามัจฉา แก้ ปวดหลัง ปวดเอว มุตตัง ยาขับปัสสวะ สหัสรังสี ยาบำรุงเส้น แก้กษัย สัตตะ ยาบำรุงหรือ ยาอายุวัฒนะ ยาประดง แก้ติดเชื้อ เป็นต้น

ในด้านการผลิตยาสมุนไพรและการรักษานั้นได้มีการประยุกต์ประบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเตรียมยาสมุนไพรแต่ไม่ส่งผลต่อสรรพคุณของตัวยา โดยได้พัฒนารูปแบบและบรรจุภัณฑ์ของตัวยาให้ง่ายต่อการรับประทานและพกพา นอกจากนี้ยังได้ผสมผสานการรักษาด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์แผนไทยและแผนปัจจุบัน เช่น จะต้องรู้จักโรคและสามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง จะต้องมุ่งเน้นรักษาที่โรคหรือการดักหน้าโรคมากกว่าการรักษาตามอาการ นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการเฝ้าระวังและติดตามผล ตัวอย่างก็เช่น การนำผลการตรวจเลือด ตรวจน้ำตาล จากห้องแล็ป มาช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นการยืนยันผลการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจว่าการเข้ารับการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ในการรักษายังมีนายแพทย์ รัฐพล แพทย์ศาสตร์บัณทิต แพทย์แผนปัจจุบันจากฟิลิปปินส์ ผู้เป็นบุตรชายมาร่วมในการดูแลรักษาคนไข้ โดยการหลอมรวมสองศาสตร์ทางการแพทย์เข้าด้วยกัน ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีความสมบูรณ์และเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมกับนางสาว ธัชวรรณ ศิริธรรมวานิช บุตรสาว ที่ปัจจุบันถือเป็นมือขวาอีกคนหนึ่งของหมอสุรพรรณ ที่เป็นอีกหนึ่งผู้สืบทอดความรู้และตำรับยาควบคู่ไปกับผู้เป็นพี่ชาย

วันนี้ คุณหมอสุรพรรณได้ฝากบอกกับผู้ที่สนใจและศรัทธาในการรักษาแบบแผนโบราณว่า อยากให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากหมอที่มีใบประกอบโรคศิลปะ มีความชำนาญและประสบการณ์ในโรคนั้นๆ เพราะในปัจจุบันมีหมอแผนโบราณเปิดให้การรักษาอยู่ทั่วไป หากไปเข้ารับการรักษาจากหมอแผนโบราณที่ไม่มีความรู้จริงๆ การรักษาก็จะไม่ส่งผลดีตามที่ควรจะเป็น และอย่าได้ไปหลงเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับสรรพคุณของยาสมุนไพร ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก่อนตัดสินใจใช้ รวมไปถึงยังได้เสนอแนะไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านแพทย์แผนไทยว่า ต้องให้ผู้เรียนรู้จักสมุนไพรพื้นบ้านและสมุนไพรในตำรับยาแพทย์อย่างละเอียด รวมไปถึงสอนให้รู้จักโรค ภาวะการณ์เกิดโรคต่างๆ เพื่อที่จะได้วิเคราะห์โรคได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ อย่างในปัจจุบัน โรคปวดหลัง ปวดเอว โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน อาการเครียด สาเหตุที่เกิดก็มาจาก พฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาแพทย์ไม่ว่าแผนไหนๆ แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ