แอสคอน ชูกลยุทธ์ “สร้างเร็ว” พร้อมโชว์เคส ไซต์งานจริง เน้นสร้างความแตกต่างอย่างมีเทคนิค

พุธ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๐๕ ๑๔:๒๑
กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่น
บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางของเมืองไทย เสนอกลยุทธ์ใหม่ “สร้างเร็ว” เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากอาคารที่สร้างเสร็จเร็วกว่ากำหนด โดยใช้เทคนิคพิเศษ “ดับเบิล เทรค“ การก่อสร้างแบบก้าวกระโดด พร้อมโชว์เคส ณุศาศิริ แกรนด์ คอนโด ส่งงานเร็วกว่ากำหนด 6 เดือน
นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “แอสคอน มีความชำนาญ และมีวิธีการในการดำเนินงานรวมถึงออกแบบการก่อสร้างอาคารสูงด้วยเทคนิคพิเศษ รวมไปถึงสิ่งสำคัญที่เราเน้นเสมอก็คือคุณภาพและมาตรฐานงานที่ดี มีการส่งมอบงานตรงเวลาและมีความปลอดภัย แต่สิ่งที่เราจะสร้างความแตกต่างจากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างทั่วไปก็คือการใช้กลยุทธ์การก่อสร้างเสร็จเร็วกว่ากำหนด พร้อมทั้งยังตระหนักถึงความปลอดภัยอีกด้วย”
“ในส่วนของการสร้างเร็วนั้นเรามีเทคนิคพิเศษ ที่เรียกว่า “ดับเบิล เทรค” (Double Track) การก่อสร้างแบบก้าวกระโดดโดยสามารถที่จะก่อสร้างโครงสร้างของอาคารชั้นล่างที่เป็นฐานไปพร้อมกับอาคารสูงด้านบนได้ในเวลาพร้อมกัน อย่างในส่วนของคอนโดมิเนียม ณุศาศิริ แกรนด์ คอนโด สุขุมวิท-เอกมัย ที่เรากำลังก่อสร้างอยู่ ณ ปัจจุบัน เราก็ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวในการดำเนินการก่อสร้าง โดยเราสามารถสร้างส่วนในของพลาซ่าไปพร้อมกับอาคารสูงที่เป็นส่วนที่พักอาศัยได้พร้อมกันทีเดียวเลย ซึ่งจะทำให้งานก่อสร้างของเราสามารถสร้างเสร็จเร็วกว่ากำหนดของสัญญาถึง 6 เดือน โดยทางณุศาศิริเองมีความยินดีและพอใจเพราะสามารถขายและโอนโครงการให้ลูกค้าได้เร็วยิ่งขึ้น” นายพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับเทคนิค“ดับเบิล เทรค“ (Double Track) นี้เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันในต่างประเทศ อาทิ อเมริกา ออสเตรเลีย และเราก็นำเทคนิคนี้มาใช้เพื่อนำเสนอลูกค้าที่ต้องการก่อสร้างอาคารแบบรวดเร็ว ปลอดภัย และมีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากอาคารที่ก่อสร้างได้เสร็จเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้เพราะสามารถ เปิดขายโครงการและโอนให้ลูกค้าได้เร็วกว่ากำหนด ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เรามั่นใจว่าลูกค้าน่าจะพอใจ”
ส่วนในความคืบหน้าของการเตรียมการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทฯนั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างช่วงของการเตรียมการ คาดว่าหุ้นของบริษัทฯจะเข้าซื้อขายได้ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งบริษัทฯจะเสนอขายหุ้นจำนวนทั้งหมด 50 ล้านหุ้น เงินที่ได้จากการระดมทุนคาดว่าจะประมาณ 150-200 ล้านบาท จะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และจัดซื้อเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์สำหรับธุรกิจก่อสร้าง รวมทั้งใช้ลงทุนในสต๊อกสินค้าและโรงงานของบริษัทย่อย ซึ่งหลังขายหุ้นและได้เงินทุนแล้วคาดว่าจะทำให้บริษัทมีความคล่องตัว รวมถึงสามารถลดภาระดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงทำให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้บริษัทฯ เชื่อว่าหุ้นของบริษัทฯจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากบริษัทฯ มีผลประกอบการที่ดี มีงานในมือที่สามารถรับรู้รายได้ไปอีก 2 ปีประมาณ 2,700ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯในช่วงปี 2545-2547 ที่ผ่านมา รายได้จากการรับเหมาก่อสร้างมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 42.20 %ต่อปี และในปี 2548 บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยปี 2549 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30 % จากปี 2548 เนื่องจากบริษัทจะขยายฐานลูกค้าในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและมุ่งเน้นไปที่โครงการของภาครัฐเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :
อลิซาเบท วงศ์วาสิน, จิราภรณ์ โพธิพรหม
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)
โทร 02-662-2266 แฟกซ์ 02-204-2662--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ