มทร.ธัญบุรี เจ๋ง ผลิต เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใหญ่

พุธ ๒๒ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๓๑
มทร.ธัญบุรี เจ๋ง จับมือร่วมกับศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ผลิตเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใหญ่ขึ้นในราคาย่อมเยาว์ ประสิทธิภาพเท่าเทียมของนอก

ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใหญ่ (Continuous Passive Motion in Knee Arthroplasty - for adults) วิจัยร่วมกับ ผศ.นพ นิยม ละออปักษิณ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชุมารี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ จ.นครนายก

เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่ามากขึ้น ทั้งจากอุบัติเหตุ โรคเอ็นอักเสบ และข้อเข่าเสื่อมจากสาเหตุต่างๆ เช่น การเป็นโรคอ้วนทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากกว่าปกติ การเล่นกีฬาหรือทำงานหนักมาก เป็นต้น การรักษาโดยการผ่าตัดข้อเข่า หรือการผ่าตัดใส่ข้อเทียม ในปัจจุบันคนไข้ไม่เพียงแต่ต้องการให้หายขาด หากยังคาดหวังให้สามารถหายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วและทำงานได้ดีเหมือนเดิม

จากสภาพปัญหาและความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นสภาพและทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีและรวดเร็วขึ้น “อย่างไรก็ตามการทำการผ่าตัดให้ได้ผลดี ผู้ป่วยควรได้รับการฟื้นสภาพที่ดีด้วย” จึงจะทำให้ผลการรักษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จึงคิดผลิต เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข้าอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใหญ่ ขึ้นมา เพื่อพัฒนาเครื่อง CPM สำหรับกายภาพบำบัด ทดแทนการนำเข้า โดยมีราคาต่อเครื่องประมาณ 200,000 — 300,000 บาท

สำหรับเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข้าอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใหญ่ ประกอบด้วย 1. ส่วนของมอเตอร์ 2.ส่วนของแกนหมุน 3.ส่วนของโครงรับขาผู้ป่วย 4.ส่วนของรางสไลด์ 5.ส่วนของที่พับเท้าปรับได้ ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ dsPIC33 สามารถปรับความเร็วได้ 3 ระดับการวิจัยและการทดลองในครั้งนี้เพื่อพัฒนาเครื่อง CPM สำหรับกายภาพบำบัด ช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข้าอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใหญ่ที่ผลิตขึ้นเองนี้มีราคาประมาณ 25,000 บาท ผู้ที่สนใจสามารถ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม โทรศัพท์ 0-2549-4746

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ