ไซแมนเทคเผย การคาดการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย และการจัดเก็บข้อมูลท็อปฮิต ในปี 2554

พุธ ๒๒ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๓:๓๘
ไซแมนเทคเผย การคาดการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลท็อปฮิต ในปี 2554คลาวด์, เวอร์ชวลไลเซชัน ระบบรักษาความปลอดภัยบนโมบาย และโซเชียล มีเดีย ขึ้นแท่นยอดนิยมในปีใหม่นี้

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยการคาดการณ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัย และสตอเรจในปี 2554 ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยและสตอเรจได้มีการสังเกตการณ์เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลในภาพรวม โดยองค์กรธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันต่างเต็มไปข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไป เนื่องจากข้อมูลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด และในแทบจะทุกวันก็มีการเปิดตัวหรือไม่ก็นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ตลาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้คำมั่นสัญญาว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจได้มากขึ้น

“เนื่องจากทุกวันนี้ งบด้านไอทีเริ่มชะลอและลดลง ทำให้บรรดาบริษัทชั้นนำต่างๆ ต้องทำให้ค่าใช้จ่ายไอทีที่จ่ายไปสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น” นายนพชัย ตั้งไตรธรรม, ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส, ไซแมนเทค ประเทศไทย กล่าวพร้อมเสริมว่า “การที่องค์กรธุรกิจมีความเข้าใจในเรื่องความท้าทาย ความเสี่ยงและ ภัยคุกคาม ก็จะช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถวางแผนพร้อมนำความริเริ่มด้านไอทีในเชิงกลยุทธ์มาใช้ภายในองค์กร อย่างเช่น เวอร์ชวลไลเซชัน การรักษาความปลอดภัยบนระบบสื่อสารเคลื่อนที่ การเข้ารหัส การแบ็กอัพและกู้คืนข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว รวมถึงคลาวด์คอมพิวติ้ง มาช่วยปกป้องและบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

คลิ๊กเพื่อทวีต การคาดการณ์ของไซแมนเทคในปี 2554 - คลาวด์ เวอร์ชวลไลเซชัน การรักษาความปลอดภัย

บนระบบสื่อสารเคลื่อนที่ และโซเชียล มีเดีย มีบทบาทสำคัญมากขึ้น http://bit.ly/ibGkcr

เทคโนโลยีใหม่ กับ ความท้าทายใหม่

เนื่องจากเทคโนโลยีเริ่มมีความฉลาดมากขึ้นและเร็วขึ้น ภัยคุกคามต่อเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ฉลาดขึ้นและพัฒนาเร็วขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนในหมู่ผู้บริโภคมีจำนวนสูงขึ้นมาก ซึ่งส่งผลให้มีการนำสมาร์ทโฟนมาใช้ร่วมกับระบบงานในองค์กรมากยิ่งขึ้น ทำให้เส้นแบ่งระหว่างธุรกิจกับการใช้งานส่วนตัวเริ่มไม่ชัดเจน และทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์โมบายในปี 2544 นี้

นักวิเคราะห์จากไอดีซี คาดการณ์ว่า จนถึงปลายปีนี้ มีการส่งมอบอุปกรณ์โมบายเพิ่มขึ้นถึง 55% ด้านการ์ทเนอร์ก็คาดการณ์ไว้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ จะมีผู้คนประมาณ 1.2 พันล้าน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อเว็บได้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์อาจจะยังดูไม่ค่อยสนใจกับอุปกรณ์โมบายนี้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เติบโตมากขึ้น และมีแพลตฟอร์มระบบโมบายอยู่พอสมควรในท้องตลาด ทำให้ดูจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้โจมตีจะพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์โมบายในปี 2554 และอุปกรณ์เหล่านี้ ก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแง่ที่เป็นเหตุให้ข้อมูลสำคัญสูญหายได้

ช่องว่างในการปกป้องเครื่องเสมือน

การนำเวอร์ชวลไลเซชันมาใช้กันแพร่หลายก็ทำให้เกิดความท้าทายในลักษณะเดียวกัน แม้ว่าหลายบริษัทเชื่อว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันที่อยู่บนระบบโครงสร้างแบบเสมือนจะได้รับการปกป้องอยู่ก็ตาม หากยังมีผู้ดูแลด้านไอทีอีกหลายคนที่ต้องยอมรับความจริงว่าในปี 2554 เรื่องอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น การนำระบบโครงสร้างแบบเวอร์ชวลไลเซชันมาใช้ในเวลารวดเร็ว โดยติดตั้งใช้งานเป็นส่วนๆ และขาดมาตรฐาน ก่อให้เกิดช่องว่างตามมาทั้งเรื่องของความปลอดภัย ความพร้อมของระบบงานและการแบ็กอัพ แม้ว่าเวอร์ชวลไลเซชันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเซิร์ฟเวอร์ แต่องค์กรธุรกิจหลายแห่งก็กำลังพบว่าทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสตอเรจและการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกัน และถ้าไม่มีการวางแผนปกป้องสภาวะงานเหล่านี้ ก็อาจทำให้ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างเต็มที่เช่นกัน

การควบคุมข้อมูล

ระดับการเติบโตของข้อมูลในลักษณะก้าวกระโดด นับเป็นอุปสรรคในเวลาที่องค์กรต้องบริหารจัดการและกู้คืนข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ ในปี 2544 ผู้ดูแลสตอเรจจะต้องพยายามควบคุมข้อมูลให้ได้ทั้งหมด พร้อมกับต้องปล่อยวางความคิดเรื่องที่ว่าจะต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้หมด และต้องแยกประเภทให้ได้ว่าข้อมูลใดที่มีความสำคัญมากและควรเก็บรักษาไว้ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ค่าใช้จ่ายด้านสตอเรจก็จะพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง และองค์กรยังต้องเผชิญกับการที่ต้องเสียเวลาจำนวนมากไปกับการกู้คืนข้อมูล อีกทั้งยังไม่สามารถดำเนินการได้สอดคล้องตามมาตรฐานด้านกฏเกณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฏหมายสิทธิส่วนบุคคล และการสืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียมาช่วยในเรื่องของการสื่อสารและเพิ่มผลิตผลทั่วทั้งองค์กรยังเป็นการเพิ่มความซับซ้อนให้กับระบบ แม้ว่าโซเชียลมีเดียจะยังคงเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแนวทางในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในปี 2544 หากองค์กรด้านไอทียังต้องเข้าใจถึงวิธีการป้องกันและบริหารจัดการแอพลิเคชันที่ไม่ใช่มาตรฐานเหล่านี้ให้ได้ทั้งในแง่ของการกู้คืนและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจที่สื่อสารผ่านช่องทางเหล่านี้ การจัดเก็บข้อมูลในโซเชียลมีเดียแบบระยะยาวจะกลายเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากองค์กรต้องอาศัยศักยภาพในการทำธุรกิจผ่านเครือข่ายสังคม นอกจากนี้ยังต้องมีเก็บรักษาข้อมูลเหล่านี้ไว้ในระยะยาวในแง่ของการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงด้านข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในเวลาที่มีการใช้ข้อมูลผ่านระบบโมบายมากขึ้น ทำให้ข้อมูลไม่ได้รับการจัดการผ่านระบบงานส่วนกลางเหมือนเคย ผู้มีอำนาจในการออกกฏจะเริ่มเข้ามาจัดระเบียบเรื่องนี้มากขึ้นในปี 2554 และจะผลักดันให้องค์กรเหล่านี้มีการติดตั้งเทคโนโลยีการเข้ารหัส โดยเฉพาะในอุปกรณ์โมบายต่างๆ

ดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ ในปี 2544

องค์กรธุรกิจยังคงเน้นเรื่องการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในปี 2554 ในขณะที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบเฉพาะที่มีความฉลาดมากขึ้น ผู้ดูแลระบบไอทีต้องมีแนวทางที่ใช้ทั้งนวัตกรรมและกลยุทธ์มาช่วยในการแก้ปัญหา ในขณะที่ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 ก็จะมีโมเดลใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในการช่วยให้งานส่วนปฏิบัติการด้านไอทีง่ายขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง โฮสต์ เซอร์วิส และอุปกรณ์ประเภทแอพพลายแอนซ์ต่างๆ ล้วนเป็นตัวอย่างของโมเดลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และจะเปลี่ยนโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน โดยช่วยให้องค์กรปรับใช้โมเดลต่างๆ นี้ได้อย่างง่ายดาย และให้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น

องค์กรต่างๆ จะมีการใช้ทั้งในพับลิกคลาวด์ และไพรเวทคลาวด์ เนื่องจากระบบเหล่านี้จะยิ่งมีความพร้อมมากขึ้นไปอีกในปีหน้า และจะมีเครื่องมือต่างๆ ออกมาเพื่อช่วยจัดการสภาวะงานด้านสตอเรจแบบใหม่ที่ซับซ้อนขึ้น อีกทั้งช่วยให้ผู้ดูแลระบบไอทีมีความเข้าใจที่ดีขึ้นและเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้จะช่วยให้หน่วยงานด้านไอทีได้ใช้ประโยชน์ของคลาวด์อย่างเต็มที่ รวมถึงทำเป็นรายงานเสนอผู้บริหารได้อย่างชาญฉลาด ในขณะที่ลูกค้ายังสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากบริการข้อความบนคลาวด์ และยังพบว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการสืบค้นข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในองค์กรเป็นระยะยาวด้วยรูปแบบผสมผสานในการทำอาไคฟว์หรือจัดเก็บข้อมูลระยะยาวบนคลาวด์ ช่วยให้องค์กรสามารถใช้บริการโฮสต์ข้อความไว้บนคลาวด์ ในขณะที่สามารถเก็บข้อมูลระยะยาวไว้ที่ไซท์งานตัวเองได้ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้องค์กรสามารถผสานการใช้งานด้านอีเมลร่วมกับแหล่งเนื้อหาที่จัดเก็บอยู่ในองค์กรเช่นบน PST, IM และในแชร์พอยท์ในกรณีที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวข้องต่างๆ

มัลติมีเดีย

- วิดีโอ เกี่ยวกับ การคาดการณ์แนวโน้มในปี 2554 จากไซแมนเทค

- พ็อดแคสท์ เกี่ยวกับ การคาดการณ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

- บล็อกโพสต์: การคาดการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2554: สิ่งที่กำลังจะเกิด

- ชมพรีเซนเทชันบน Slideshare: การคาดการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2554

- การสำรวจ: การคาดการณ์ความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2554

- การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันระบบโครงสร้างสำคัญประจำปี 2553

- การศึกษาเกี่ยวกับการกู้คืนภัยพิบัติประจำปี 2553

- การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล 2553

- แนวโน้มการเข้ารหัสข้อมูลจัดทำโดย Ponemon ประจำปี 2553

- รายงานสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในองค์กรประจำปี 2553

- รายงานสถานการณ์ดาต้าเซ็นเตอร์ประจำปี 2553

- รายงานภัยคุกคามความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 14

- ภาพรวมของ Trojan.Hydraq

- การสำรวจด้านความปลอดภัยของมือถือและอุปกรณ์สมาร์ทโฟนจัดทำโดย Mocana ประจำปี 2553: ความกังวลที่เพิ่มตามความนิยม สมาร์ทโฟนต้นเหตุของปัญหาที่อาจบานปลาย (PDF)

- Stuxnet Dossier (PDF)

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

- โซลูชันเพื่อการปกป้องข้อมูลจากไซแมนเทค

- โซลูชันเพื่อการกู้คืนภัยพิบัติจากไซแมนเทค

- โซลูชันด้านความพร้อมของระบบจากไซแมนเทค

- ข้อมูลความปลอดภัยจากไซแมนเทค

- การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากไซแมนเทค

- การบริหารจัดการด้านสตอเรจจากไซแมนเทค

- โซลูชันการบริหารจัดการระบบเวอร์ชวลไลเซชันจากไซแมนเทค

- การรักษาความปลอดภัยบนเว็บจากไซแมนเทค

ติดต่อกับไซแมนเทคได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

- ติดตามเกี่ยวกับสตอเรจของไซแมนเทคบน Twitter

- ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Symantec บน Facebook

- อ่านข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ

- ไซแมนเทค เชื่อมโยงชุมชนธุรกิจ

สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด

คุณมงคล จุลโยธิน 02-655-6633 [email protected]

คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633 [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ