จุ๊ วิชยุติ์ ปลื้ม ตาถึง ให้ประโยชน์ต่อสังคม

จันทร์ ๒๗ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๗:๔๘
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่ทางช่อง 5 ที่ให้โอกาสตลอดมา ถึงแม้เวลาจะแค่5 นาที แต่ผมก็จะทำให้คุณผู้ชมได้รับประโยชน์อย่างเต็มเปี่ยม นำเรื่องนั้นเรื่องนี้มานำเสนอเพื่อเป็นเกร็ดความรู้สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ในปี 2554 นี้ ถึงเวลาที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการให้ดูโตขึ้นตามอายุ มีการถ่ายทำจะอยู่ในสตูดิโอ ระบบแสง สี เสียงต่างๆ เสื้อผ้า หน้าผม และฉากรายการจะถูกออกแบบใหม่หมดจากทีมงานมืออาชีพ ส่วนในเรื่องของเนื้อหารายการนั้น เน้นสาระสิ่งของที่จับต้องได้ และต้องเป็นของที่ตาถึงจริงๆ ถึงจะถูกเลือกเอามาออกรายการ หลังจากเพาะบ่มมาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว

จุ๊ วิชยุติ์ เผยต่อว่า นอกจากจะเห็นหน้ากันตามจอทีวีช่อง 5 ตอนดึกๆทุกวันเสาร์แล้ว ตอนนี้ยังได้ยินเสียงหล่อๆของผม ตามหน้าปัดวิทยุของแฟนเพลงแนวเรทโทรที่มีอยู่คลื่นเดียวในเมืองไทย 93.5 เยส เรดิโอ ผมมีงานดีเจ เพื่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง ล่าสุดประสบความสำเร็จอย่างมากกับงานคอนเสิร์ตย้อนยุคเพื่อเอาใจคอเพลงเก่า ๆและคืนกำไรสู่แฟนๆที่ติดตามฟังเราตลอดมา มีแฟนคลับมาให้กำลังใจมากเกินคาด ทำให้เรามีกำลังใจจัดรายการต่อไปและหาเพลงเพราะๆมาเปิดให้ฟัง สุดท้ายนี้ผมก็ขอแฟนๆรายการตาถึงมีความสุขตลอดปี 2554 นี้นะครับ จุ๊กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ