เลขา วช. หวังสร้างบัณฑิตพัฒนางานวิจัยอย่างยั่งยืน

อังคาร ๒๘ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๗:๕๖
เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมอภิปราย เรื่อง “บัณฑิตศึกษากับงานวิจัยแก้วิกฤติชาติ”ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ที่ผ่านมา

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขา วช. กล่าวว่าในการจัดสรรทุนวิจัยจะเน้นให้นักวิจัยมีแนวคิดที่ตรงตามยุทธศาสตร์การวิจัยโดยเกิดจากการกลั่นกรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิ ตามเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การวิจัยเป็นหลัก ซึ่งงานวิจัยจะสามารถช่วยตอบโจทย์ และแก้ปัญหาของประเทศได้ จึงได้กำหนดแผนและนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ๑๓ หัวข้อ ได้แก่ ๑.เศรษฐกิจพอเพียง ๒.ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมมาภิบาล ๓.การปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมการเรียนรู้ ๔.การบริหารจัดการน้ำ ๕.ภาวะโรคร้อน และพลังงานทางเลือก

๖.การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก และลดการนำเข้า ๗.การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ ๘.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ๙.เทคโนโลยีใหม่ และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม ๑๐.การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ๑๑.สังคมผู้สูงอายุ ๑๒.ระบบโลจิสติกส์๑๓.การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ และผลงานวิจัยต้องเป็นพลังในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาชาติต่อไป

โดย วช. เป็นเสมือนแผนที่นำทางให้กับนักวิจัย รวมทั้งจัดสรรให้ทุนวิจัย แต่การให้ทุนจะมีการพิจารณามากขึ้นโดยคำนึงถึงผลงานวิจัยจะต้องเป็นแบบเชิงบูรณาการเลขา วช. ยังกล่าวต่ออีกว่า “องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนางานวิจัยประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ

๑) นิสิต นักศึกษา ๒) อาจารย์ ๓) สถาบัน แนวโน้มอีก ๕ — ๑๐ ปีข้างหน้า ในการสร้างบัณฑิตศึกษาพบว่าปริมาณนิสิต นักศึกษา จำนวนน้อยกว่าที่ต้องการ แต่สายสังคมศาสตร์เยอะมากจึงเกิดปัญหา จบมานิสิตไม่มีงานทำ มหาวิทยาลัยเองมองว่าในการกำหนดหลักสูตร ในการสร้างต้องมองว่าสร้างแล้วมีคุณภาพจบมาต้องมีงานรองรับ”

ทำให้ผลงานวิจัยที่ทำขึ้น ๑๐๐% แบ่งออกได้เป็น ๗๐% เกิดจากการทำเพื่อให้จบหลักสูตร และอีก ๓๐% เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะพัฒนาเพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ได้จริงไม่ขึ้นหิ้งเหมือนผลงานส่วนใหญ่ที่ทำขึ้นผิดวัตถุประสงค์ ในการงานวิจัยต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ อาจารย์มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและร่วมสอนให้นักศึกษารู้จักการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ งานวิจัยที่ได้ได้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง แต่งานวิจัยยังถูกจำกัดด้วยต้นทุน ทำให้นักศึกษาเลือกที่จะทำงานวิจัยที่ใช้ทุนน้อย ซึ่งการหาทุนอาจารย์จะต้องเป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษาสามารถดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จต่อไป นอกจากนี้ท่านยังได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “อยากที่จะเห็นงานวิจัยที่เกิดจากมันสมองของนิสิตเองจะมีคุณค่ามากที่สุด กว่างานที่เกิดจากความรู้สึกที่ทำเพื่อให้ได้จบการศึกษา”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 025799775 prnrct

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ