NNCL เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้า SPP หลังได้รับอนุมัติจาก กกพ. คาดเริ่มก่อสร้างได้ปี 2555 พร้อมมั่นใจรายได้ปีนี้โตเกิน 20%

ศุกร์ ๐๗ มกราคม ๒๐๑๑ ๑๓:๕๗
บมจ.นวนคร เตรียมลุยสร้างโรงไฟฟ้า หลัง กกพ.อนุมัติบริษัท ผลิตไฟฟ้า นวนคร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ คัดเลือกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ขนาด 120 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 5,000 ล้านบาท ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี คาดเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2555 พร้อมมั่นใจจะได้รับอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้า SPP แห่งที่ 2 เร็วกว่าที่คาด เผยปี 2554 รายได้โตไม่ต่ำกว่า 20%

นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ NNCL ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนครพร้อมระบบสาธารณูปโภคในนามโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท ผลิตไฟฟ้า นวนคร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง NNCL ถือหุ้นในสัดส่วน 30% บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) RATCH ถือหุ้นในสัดส่วน 40% และพันธมิตรทางธุรกิจอีกหนึ่งรายในสัดส่วน 30% ผ่านการพิจารณาและคัดเลือกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) กำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำการก่อสร้างในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ล้านบาท

โดยหลังจากนี้บริษัทจะทำการออกแบบโรงไฟฟ้า และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment) รวมทั้งร่างขอบเขตงาน TOR (Terms of Reference) เพื่อเปิดประมูลจัดหาผู้รับเหมา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2554 และสามารถเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ภายในปี 2555

“บริษัทผ่านการอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้า SPP ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าประเภท Firm ระบบ Cogeneration ปี 2553 เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการทำ EIA และ TOR ซึ่งคาดว่าจะเรียบร้อยภายในปีนี้ และจะเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ในปี 2555 และแล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จะขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 90 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือจะขายให้กับโรงงานในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร”นายนิพิฐ กล่าว

อย่างไรก็ตาม บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขออนุมัติก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP แห่งที่ 2 ซึ่งมั่นใจว่าจะได้รับการอนุมัติในระยะเวลาที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากบริษัทสามารถขออนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งแรกสำเร็จ นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาการบริการด้านอื่นๆในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และต่อยอดให้ธุรกิจให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม

กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ NNCL กล่าวต่อว่า สำหรับยอดขายที่ดินในปี 2554 บริษัทคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเดิมยังมีความต้องการขยายกำลังการผลิต ขณะเดียวกันลูกค้ารายใหม่ก็ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทมีแผนจะปรับราคาขายที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20% ซึ่งจะช่วยให้รายได้รวมของบริษัทปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% นอกจากนี้ บริษัทจะใช้เงินลงทุนที่มีอยู่ประมาณ 200 ล้านบาท ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่กว่า 600 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งโครงการขยายกำลังการผลิตน้ำ

เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย : บริษัท มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

ในนาม บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ NNCL: รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ :

พงศกร แจ้งประภากร Tel: 02-664-4233, Fax: 02-664-4232

E-mail:[email protected],[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ