การจัดการเรียนร่วมให้สำเร็จ ต้องแก้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนวิธีคิด

พุธ ๑๒ มกราคม ๒๐๑๑ ๑๔:๓๖
เมื่อเร็วนี้ ๆ นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “จุดเน้นการจัดการเรียนร่วมสู่ความสำเร็จ” ในการประชุมสัมมนาผู้ขับเคลื่อนนโยบายการจัดการเรียนร่วมสู่การปฏิบัติ โดยมีผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมการสัมมนาจำนวนกว่า 400 คน ชี้การจัดการเรียนร่วมให้สำเร็จ ต้องแก้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ให้เอื้อต่อการรับเด็กด้อยโอกาสเข้าเรียน

นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายของการเรียนร่วมว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับ และหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ สกศ. ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กด้อยโอกาสได้รับบริการการศึกษาและวิชาชีพ พึ่งตนเองได้ มีโลกทัศน์และชีวิตที่ดีเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม มีความสุข มีศักดิ์ศรี มีจิตสำนึก มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมและประเทศชาติ โดยมีนโยบาย 5 ข้อ ได้แก่ 1. ให้บริการการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง ให้เด็กด้อยโอกาสทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมและหลากหลายรูปแบบ 2. จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิตที่เหมาะสมกับเด็กด้อยโอกาส โดยต้องบูรณาการทั้งด้านวิชาการ ศีลธรรม จริยธรรม และทักษะการดำรงชีวิตในสัดส่วนที่เหมาะสมและมีมาตรฐานคุณภาพเท่าเทียมกับการศึกษาในระบบปกติ

3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาและปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับสภาพของเด็กด้อยโอกาสแต่ละประเภท 4. จัดระบบการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสอย่างมีคุณภาพ 5. สร้างและพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา การทำงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสจะต้องมีความต่อเนื่อง มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขและขยายผลการดำเนินงานต่อไป

ผศ.ดร. เบญจา ชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ครูไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี ต้องมีศรัทธาความเป็นครูซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กพิเศษ นอกจากนี้ครอบครัวของเด็กจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก และโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนร่วมต้องให้ เด็กเกิดความรู้สึกเข้าใจที่จะเรียนร่วม กับเด็กพิเศษอย่างไร การช่วยเหลือเพื่อนทำอย่างไร เตรียมเด็กให้เปิดใจและยอมรับความแตกต่างของคน เป็นการปลูกฝังจริยธรรมของเด็กไปด้วย

นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึ่ม (ไทย) กล่าวถึง จุดเน้นการจัดการเรียนร่วมสู่ความสำเร็จนั้น จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และกฎ ระเบียบ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ให้เอื้อต่อการรับเด็กด้อยโอกาสเข้าศึกษาอย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม พร้อมทั้งกำกับติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์และสถานที่ เร่งจัดทำฐานข้อมูล สภาพและความต้องการจำเป็นของเด็กด้อยโอกาสทุกประเภทในทุกพื้นที่ ให้มีความชัดเจนถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบครัว สังคม และชุมชน ในการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025