อาจารย์ ม.อ. ปัตตานี คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ปี 2553 ชูผลงานวิจัยพัฒนาเพิ่มมูลค่า-แก้ปัญหายางพารายั่งยืน

อังคาร ๑๘ มกราคม ๒๐๑๑ ๑๖:๑๕
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2553 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์จาก วช. หลังงานวิจัยด้านยางพาราโดดเด่น คิดค้นผลงาน "วัสดุยางเทอร์โมพลาสติก" น้ำยางข้นชนิดใหม่ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ในการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2553 ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดสำหรับนักวิจัย โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นั้น ปรากฏว่า รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลดังกล่าว ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

โดยในปีนี้ มีนักวิจัย 12 คน ได้รับรางวัล "นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ" ใน 8 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สาขาปรัชญา สาขานิติศาสตร์และสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

สำหรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มอบให้นักวิจัยไทยที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เป็นผู้ที่อุทิศตนให้แก่การวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง ในกลุ่มวิชาการหรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทําสะสมกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ ผลงานวิจัยสร้างคุณูปการต่อวงวิชาการและประชาชน สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้ และเป็นผู้ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและเชิดชูเกียรติ เหมาะสมที่จะได้รับการยอมรับยกย่อง เพื่อเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่นๆ ต่อไป

อธิการบดี ม.อ. กล่าวด้วยว่า ในส่วนของรองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นประจำปี 2553 ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ นั้น เป็นผู้วิจัยและศึกษาเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวให้แก่อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ และเป็นผู้ริเริ่มและขยายขอบเขตการวิจัยด้านการเตรียมวัสดุยางเทอร์โมพลาสติก ที่ใช้ยางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบในประเทศไทย โดยงานที่ทำมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าน้ำยางพารา โดยพยายามบูรณาการวิชาความรู้ทั้งหมดด้วยกัน และได้ดัดแปลงโมเลกุลเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้น้ำยาง และได้พัฒนาออกมาเป็น "วัสดุยางเทอร์โมพลาสติก" ซึ่งเป็นน้ำยางข้นชนิดใหม่

“รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ เป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี และยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพารา (CoENR) อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เป็นนักวิจัยที่มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากมาย และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงอุตสาหกรรม มีประโยชน์ต่อชุมชน และผลงานล่าสุดในปี 2553 คือ โครงการต้นแบบการผลิตน้ำยางข้นจากกระบวนการครีมมิ่งในระดับอุตสาหกรรม และต้นแบบการประยุกต์ใช้งานในการทำน้ำยางเคลือบสระน้ำและสายยางยืด ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ที่จะยังผลต่อการเติบโตอย่างมั่นคงของประเทศในอนาคต” อธิการบดี ม.อ.กล่าว

ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลแก่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จะจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2554 ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยรางวัลที่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจะได้รับครั้งนี้ ประกอบด้วย เงินรางวัลมูลค่า 500,000 บาท เหรียญนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ

เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด

ในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ :

พิภพ ฆ้องวง (ท๊อป) โทร : 02-248-7967-8 ต่อ 118

Email : [email protected]

Website : www.mtmultimedia.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ