ผลสำรวจจากแกรนท์ ธอร์นตัน เผยละตินอเมริกามีทัศนคติด้านบวกสูงสุด ส่วนไทย 39%

พฤหัส ๒๐ มกราคม ๒๐๑๑ ๑๐:๕๐
ระดับความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในภูมิภาคละตินอเมริกาต่อสภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีทัศนคติด้านบวกสูงสุดในช่วงวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน ฉบับล่าสุด หรือ 2011 Grant Thornton International Business Report (IBR) และเป็นครั้งแรกที่ภูมิภาคละตินอเมริกามีทัศนคติด้านบวกสูงนำภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกในปี 2011

ทั่วทั้งละตินอเมริกา นักธุรกิจมีทัศนคติด้านบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาคของตนในปี 2011 ที่ +75% ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) มีทัศนคติด้านบวกที่ +50% ในขณะที่อเมริกาเหนือมีทัศนคติด้านบวกเพียง +26% และยุโรปมีทัศนคติด้านบวกที่ต่ำที่สุดที่ +22%

สำหรับภายในละตินอเมริกา ประเทศชิลี (+95%) มีระดับทัศนคติด้านบวกสูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับการสำรวจ ตามด้วยบราซิล (+79%), อาร์เจนตินา (+70%) และเม็กซิโก (+64%)

เอ็ด นุสบอม ประธานกรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

"ในระยะเวลาหลายปีหลัง จุดศูนย์รวมของกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRIC) อยู่ในประเทศ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศละตินอเมริกาก็มีพัฒนาการอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าจะมีการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 4% ในปี 2011 และหากความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เราจะได้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของละตินอเมริกาในทศวรรษถัดไป"

"ความสำเร็จและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศบราซิลส่งผลอย่างมากต่อประเทศเพื่อนบ้าน

โดยข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของบราซิลที่คาดการณ์โดย IMF อยู่ที่ 7.5% ในปี 2010 ช่วยดึงให้ภูมิภาคโดดเด่นและแพร่กระจายทัศนคติด้านบวกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี, อาร์เจนตินา และเม็กซิโก นอกจากนี้ เรามิอาจละเลยผลกระทบต่อเนื่องทั่วทั้งภูมิภาคอันเกิดจากการที่บราซิลจะได้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขัน World Cup ในปี 2014 และ Olympics ในปี 2016 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในละตินอเมริกาและส่งผลต่อความรู้สึกเชื่อมั่นและทัศนคติด้านบวก"

ทัศนคติด้านบวกแกว่งตัวและแบ่งเป็นสองขั้วในยุโรป

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ IBR 2011 เปิดเผยว่ากลุ่มเศรษฐกิจหลักในยุโรปมีการแกว่งตัวของทัศนคติด้านบวก โดยธุรกิจในเยอรมนีมีทัศนคติด้านบวกสูงสุดในยุโรปที่ +75% ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา (2010: +38%) นอกจากนี้ ฟินแลนด์ (+57%), เบลเยี่ยม (+45%) และเนเธอร์แลนด์ (+19%) ล้วนมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระดับสูงสำหรับปี 2011 อย่างไรก็ตาม กลุ่มเศรษฐกิจในยุโรปที่ประสบกับปัญหาหนี้สาธารณะ ได้แก่ ไอร์แลนด์ (-45%), สเปน (-50%) และกรีซ (-44%) มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก

ผลการสำรวจของปีนี้รายงานถึงยุโรปในสองขั้วที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยระดับความเชื่อมั่นของธุรกิจที่แยกตัวออกเป็นสองแนวทางทั่วทั้งภูมิภาคจะส่งผลให้ประเทศในยุโรปที่มีความโกลาหลเมื่อปี 2010 มีความตึงเครียดสูงขึ้น การดำเนินการใช้ค่าเงินสกุลเดียวกันในประเทศต่างๆ ที่มีแนวนโยบายไปในทิศทางตรงกันข้ามก็จะยากยิ่งขึ้น ประเทศในแถบยุโรปจึงมีแนวโน้มที่จะประสบกับความตึงเครียดเป็นเวลาหลายปี ตลอดจนความผันผวนระยะยาวในตลาดเงิน ทั้งนี้ ปี 2011 อาจเป็นช่วงเวลาที่จะต้องมีการตัดสินใจครั้งสำคัญเกี่ยวกับเงินสกุลยูโร

สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งปีที่ผ่านมามีทัศนคติด้านบวกสูงสุด กลับมีการลดระดับอย่างมีนัยสำคัญจาก +64% เป็น +50% เนื่องจากกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น จีน (ลดลงจาก +60% เมื่อปี 2010 เป็น +42%), ออสเตรเลีย (ลดลงจาก +79% เมื่อปี 2010 เป็น +37%) และนิวซีแลนด์ (ลดลงจาก +66% เป็น +35%) มีการแกว่งตัวของทัศนคติด้านบวกมายังทิศทางลบพอสมควร

ส่วนในประเทศไทย ก็ได้มีการสำรวจผู้บริหารธุรกิจว่ามีทัศนคติด้านบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในอีก 12 เดือนข้างหน้าว่าอยู่ในระดับใดเช่นกัน โดยสืบเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งเมื่อปี 2010 ทำให้ผลการสำรวจ IBR ในปีนี้ (2011) สะท้อนให้เห็นว่าระดับทัศนคติด้านบวกยังคงเพิ่มสูงขึ้นจาก 12% เมื่อปีที่ผ่านมาเป็น 39% ในปีนี้

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย แสดงความเห็นว่า “เราหวังว่ากระแสที่ต่อเนื่องของทัศนคติด้านบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจจะสามารถกลายเป็นจริงได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ยุ่งยากซับซ้อนในประเทศไทย และหากมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในปี 2011 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจน่าจะยังคงมีความแข็งแกร่งต่อไป หากปราศจากความไม่สงบทางการเมือง”

ธุรกิจทั่วโลกคาดว่าการลงทุนน้อยลงในปี 2011

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ IBR 2011 รายงานว่าเจ้าของธุรกิจคาดว่าจะมีระดับการลงทุนเพียงปานกลางในปี 2011 โดยธุรกิจทั่วโลกจำนวน 35% คาดว่าจะมีการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรกล และ 24% ที่คาดว่าจะมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) เว้นแต่ในจีนแผ่นดินใหญ่ที่แตกต่างออกไปคือธุรกิจจำนวน 47% คาดว่าจะมีการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรกล และ 61% ที่คาดว่าจะมีการลงทุนใน R&D

เอียน แพสโค กล่าวว่า “จะช้าหรือเร็ว ธุรกิจจะต้องมีการลงทุนหากต้องการเติบโต ดังนั้น รัฐบาลในกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ จึงควรสรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์อยู่แล้วในหลายกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาแล้ว ทางเลือกในการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุนจึงอาจไม่สามารถทำได้อีก ดังนั้น รัฐบาลจำต้องมีความคิดที่สร้างสรรค์ โดยอาจมุ่งเน้นไปหาธนาคารที่มีระดับการให้กู้ยืมแก่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจต่างๆ ยังต่ำอยู่ เนื่องจากธนาคารเหล่านั้นต้องการสร้างเสริมงบดุลของตนเองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จากวิกฤตการณ์ทางการเงิน”

ในทางตรงกันข้ามกับประเทศอื่นๆ อีกจำนวนมาก นักธุรกิจไทยยังคงมีทัศนคติด้านบวกสูงกว่าปีที่ผ่านมาในทุกๆ ด้าน เช่นมีค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +59% ต่อรายรับที่สูงขึ้น, ค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +49% สำหรับการลงทุนทางด้านโรงงานและเครื่องจักรกล และ ค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +47% สำหรับผลกำไรที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ เอียน แพสโค กล่าวเสริมว่า “การแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลให้การส่งสินค้าออกจากประเทศไทยมีราคาสูงยิ่งขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเดียวกันก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน ดังนั้น ธุรกิจไทยจึงจำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรายังมีศักยภาพและแข่งขันได้ แกรนท์ ธอร์นตันสนับสนุนให้ผู้วางแผนนโยบายของประเทศให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจไทย โดยพัฒนากรอบการดำเนินการเพื่อให้การอนุมัติการกู้ยืมเงินจากธนาคารมีขั้นตอนที่ง่ายยิ่งขึ้น”

ความคาดหวังต่อการจ้างงาน

เมื่อสอบถามธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับความคาดหวังต่อการจ้างงานในปี 2011 ธุรกิจในยุโรปตอบรับว่ามีทัศนคติด้านบวกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ทั่วโลก โดยธุรกิจในยุโรปมีค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวกที่ 16% เปรียบเทียบกับ +35% และ +56% ในเอเชียแปซิฟิกและละตินอเมริกาตามลำดับ ส่วนประเทศไทยมีค่าดุลยภาพทัศนคติในทิศทางบวกที่ +42% โดยเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมาก (+29%) แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ ASEAN เพียงเล็กน้อยที่ +45%

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) นำเสนอทัศนคติและความคาดหวังของกว่า 11,000 ธุรกิจจาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแต่ละปี โดยเป็นการสำรวจที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการนำผลการสำรวจจากปีที่ผ่านๆ มามาจัดทำแนวโน้มข้อมูล ซึ่งรวมถึง 19 ปีจากหลายประเทศในยุโรป และ 9 ปีจากหลายประเทศนอกเหนือทวีปยุโรป

การเก็บข้อมูลการสำรวจนั้นจัดทำผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น (จัดทำผ่านทางไปรษณีย์), ฟิลิปปินส์และอาร์เมเนีย (จัดสัมภาษณ์แบบเจอหน้ากัน), จีนและอินเดีย (ใช้ทั้งวิธีเจอหน้ากันและทางโทรศัพท์) เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงผู้ร่วมการสำรวจ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ช่วยให้แกรนท์ ธอร์นตัน สามารถจัดทำการสัมภาษณ์ได้ตามจำนวนครั้งที่ตั้งไว้ และมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์การสำรวจที่กำหนดไว้

การเก็บข้อมูลนั้นได้รับการบริหารจัดการโดยบริษัทวิจัยที่มีชื่อว่า Experian Business Strategies ซึ่งจัดทำการแปลแบบสอบถามเป็นภาษาของแต่ละประเทศ โดยนอกเหนือจากคำถามหลักแล้ว แต่ละประเทศสามารถเพิ่มเติมคำถามที่สำคัญหรือเจาะจงเกี่ยวกับประเทศตนเองได้ การสำรวจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 ได้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม ปี 2010 (ซึ่งเป็นผลที่ได้นำมาเผยแพร่ในเนื้อข่าวนี้)

กลุ่มตัวอย่างMETHODOLOGY

IBR เป็นการสำรวจความคิดเห็นของธุรกิจที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งทำการสำรวจธุรกิจกว่า 5,700 รายเมื่อไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 และกว่า 11,000 รายในแต่ละปี โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารในระดับประธานกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธาน และผู้บริหารอาวุโส (ชื่อตำแหน่งนั้นอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ) จาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (25%), การบริการ (25%), ค้าปลีก (15%) และการก่อสร้าง (10%) โดยอีก 25% เป็นการสำรวจในอุตสาหกรรมอื่นๆ

กลุ่มตัวอย่างในทุกประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา แต่ในบางประเทศก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปโดยมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทั้งนี้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างต้องมีมากเพียงพอด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อ

เอียน แพสโค

กรรมการบริหาร

แกรนท์ ธอร์นตัน

โทร: 02 205 8100

อีเมล์: [email protected]

ลักษณ์พิไล วรทรัพย์

ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร

แกรนท์ ธอร์นตัน

โทร: 02 205 8142

อีเมล์:[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version