การพัฒนางานออกแบบก่อสร้างที่มีความสูงถึงแปดสิบฟุตในแบบโดมเช่นนี้ มาร์ค ริชชี่ วู้ดเวิร์กิ้งจำเป็นต้องวางอัตราความแม่นยำเที่ยงตรงของขนาดไม้แต่ละชิ้นให้ได้ถึงระดับไม่มีที่ติเท่านั้น จึงจะได้พื้นผิวผนังที่เรียบเนียน เงามัน สถาปนิกผู้ออกแบบยังต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ตามข้อกำหนดงานออกแบบเสียงภายในฮอลล์ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของเสียง ตามที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเสียง ยาซึ โตโยต้า ทุกกระเบียดของพื้นผิว, การชักเงาไม้ และรูปทรงเรขาคณิตต่างมีบทบาทต่อประสิทธิภาพการแสดง สะท้อนเสียงในแต่ละห้องทั้งสิ้น
แบบจำลองดิจิตัลลดซับซ้อน สู่เรียบง่าย
บริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาของ Autodesk Gold Partner M2 Technologies มีส่วนช่วยมาร์ค ริชชี้ วู้ดเวิร์กิ้งอย่างมากในการแปล แบบจำลองดิจิตัล สู่กระบวนการปฏิบัติงาน ทำให้การบริหารโปรเจ็คท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการที่ซอฟท์แวร์มีฟีเจอร์ในการตรวจสอบข้อบกพร่องต่างๆ ได้จัดว่ามีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับชิ้นงานนี้ในการตรวจสอบให้แน่ใจในขนาด ความแม่นยำเที่ยงตรงของไม้ทุกชิ้นว่าสามารถนำมาประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัวพอดีทุกกระเบียดนิ้ว “การสร้างแบบจำลองดิจิตัลขององค์ประกอบชิ้นไม้ต่างๆ ทำให้เราสามารถระบุส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้ง่าย แก้ปัญหาได้ล่วงหน้าโดยไม่ต้องให้เกิดปัญหาสิ้นเปลืองตัดไม่ทิ้งเสียแม้แต่ชิ้นเดียว” ริทช์ วิโนเคอร์ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม มาร์ค ริชชี่ วู้ดเวิร์กิ้งกล่าว “และหากจะมีไม้สักชิ้นหรือองค์ประกอบทางโครงสร้างของฮอลล์แม้แต่สักนิดที่ตรวจสอบพบว่าไม่พอดีกัน เราก็เพียงแต่สร้างแบบจำลองดิจิตัลของส่วนนั้นขึ้นมาใหม่ เพียงใช้ซอฟท์แวร์ Inventor เท่านั้นเอง” จะเห็นได้ว่าซอฟท์แวร์ Inventor ช่วยผู้ออกแบบสร้างแบบจำลองส่วนโค้งมนในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกัน รวมทั้งชิ้นส่วนไม้รูปทรงเรขาคณิตในแบบสามมิติที่ซับซ้อนได้ ในขณะที่ซอฟท์แวร์อีกตัว ได้แก่ Autodesk Vault Manufacturing ทำหน้าที่บริหาร ติดตามเก็บข้อมูลที่มาที่ไปของชิ้นส่วนทั้งโปรเจ็คท์ซึ่งมีเป็นพันๆ ชิ้น กรอบการทำงานเช่นนี้ทำให้แต่ละชิ้นลงตัว มาร์ค ริชชี่ วู้ดเวิร์กิ้งได้พื้นผิวเรียบเนียน รูปทรงออกานิกสำหรับคอนเสิร์ตฮอลล์ นอกจากนี้ซอฟท์แวร์ Inventor ยังมีส่วนช่วยอย่างมากด้านการบริหารประสานงานส่วนต่างๆ ของโปรเจ็คท์ มาร์ค ริชชี่ วู้ดเวิร์กิ้ง, พาร์ตเนอร์มากมาย เช่น งานเหล็กเส้น ผู้รับเหมา เป็นต้น ซึ่งได้ Inventor เป็นตัวตรวจสอบความเที่ยงตรงของชิ้นส่วนรูปทรงเรขาคณิตระหว่างผู้รับเหมาต่างๆ เช่นรางเหล็ก โครงสร้างเหล็กของฮอลล์ สามารถตรวจสอบได้ก่อนในแบบเวอร์ช่วลก่อนจะลงมือสร้างจริงที่ไซต์งาน ซึ่งถ้าผิดพลาดต้องเสียหายมากมาย “การที่ดิจิตัลโปรโตไทป์เข้ามาช่วยลดการสร้างของจริงได้ก่อนนั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการทำงานลงไปอย่างมาก” โรเบิร์ต ‘บัซ’ ครอสส์ รองประธานอาวุโส กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ออโตเดสก์ กล่าว “มาร์ค ริชชี่ วู้ดเวิร์กิ้งสร้างผลงานศิลป์ระดับพระกาฬที่เฮลซ์เบิร์กฮอลล์ ด้วยผู้ช่วยที่มือโปรทัดเทียมกัน ทำให้งานที่ซับซ้อน ยุ่งยากขนาดไหน ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยการสร้างแบบจำลองดิจิตัล”