ภาพพิธีเปิดตัวเว็บไซด์เครือข่ายโครงการ CSR DIW
เพื่อกระตุ้นและรวมพลังผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยสู่การดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเข้มแข็ง
จากซ้ายไปขวา
1. นายธีระ หงส์รพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการประสานและรับมอบงานโครงการ
2. คุณเสรี พงศ์ลิมากร ผู้แทนของสถานประกอบการ เครือข่าย CSR-DIW จาก บริษัท คาร์เปท อินเตอร์ แนชั่นแนล ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน)
3. นายศุภชัย ศิริวัฒนเจริญชัย รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
4. คุณจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ
5. นายยงยุทธ ทองสุข รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะผู้บริหารโครงการ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเข้าร่วมงาน 150 กว่าแห่งทั่วประเทศร่วมเป็นเกียรติถ่ายรูปที่ระลึก
การแถลงข่าวในหัวข้อ “รวมพลัง อุตสาหกรรมไทย บนเส้นทางความรับผิดชอบต่อสังคม” โดย
จากซ้ายไปขวา
1. ดร. สันติ กนกธนาพร สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ
2. นายยงยุทธ ทองสุข รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
3. นายศุรพงศ์ พงศ์เดชขจร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวตอุตสาหกรรม
4. นายศุภชัย ศิริวัฒนเจริญชัย รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
5. นายธีระ หงส์รพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการประสานและรับมอบงานโครงการ
NOTE TO EDITOR:
“โครงการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DIW) คือเส้นทางสู่การรวมพลังอุตสาหกรรมไทยสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเข้มแข็งโดยมีหัวใจหลักคือการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 26000 และเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างมีความสุข”
“ด้านแนวทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมไทยสู่การดำเนินงานกิจการเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สอดคล้องกับภารกิจเร่งด่วนของกระทรวง เนื่องจาก
1) เป็นกระแสหลักของโลกทั้งผู้บริโภค ประชาชน สังคม สิ่งแวดล้อม แรงงานให้ความสนใจ และส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญเริ่มปฏิบัติและมีความต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเครือข่ายถือเป็นสัญญาณที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้
2) ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการดำเนินงานที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน มีการปฏิบัติที่สอดคล้องตามกฎหมาย และที่สำคัญเป็นแนวทางที่สามารถปรับใช้ได้กับอุตสาหกรรมทุกขนาดทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
3) ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแนวทางที่จะสามารถพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน เพื่อสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องคำนึงและหาแนวทางลดผลกระทบเพื่อให้สามารถเติบโตและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข จากแนวทางการพัฒนา 3 ประการข้างต้น กล่าวได้ว่า CSR-DIW Network จะเป็นเส้นทางสู่การรวมพลังสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสุขอย่างเข้มแข็งได้”
โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้เข้าร่วมโครงการ CSR-DIW นี้ จะได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชนรอบข้าง พร้อมทั้งได้รับการทวนสอบเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) และได้เข้าร่วมเครือข่าย CSR-DIW Network ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบการที่ได้รับเกียรติบัตร CSR-DIW โดยกิจกรรมหลักของเครือข่ายประกอบด้วย การร่วมสัมมนา ฝึกอบรมระหว่างกลุ่มสมาชิก การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้พัฒนารูปแบบการรายงานผลการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นระบบมีช่องทางการเผยแพร่ผลการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซต์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม www.diw.go.th และ www.csrdiwnetwork.com และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องจะได้รางวัล Continual Award
สื่อมวลชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
ทีมประชาสัมพันธ์ คุณสุภาพร รุ่งเจริญเกียรติ
อีเมลล์ [email protected] / [email protected]
บริษัท เอเซีย มีเดีย เซอร์วิส จำกัด