ปภ. จัดสัมมนาจัดการแผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ศุกร์ ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ ๑๗:๐๖
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น JICA สานต่อโครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยระยะที่ 2 ระยะเวลา 4 ปี พ.ศ. 2553 — 2557 โดยจัดสัมมนาจัดการแผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ณ โรงแรมอมารีเอเทรียม เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการจัดการภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหว และ ภัยธรรมชาติ ให้กับเจ้าหน้าที่ ปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยนำร่องดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ลำพูน และนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งเป้าที่จะขยายผลการดำเนินโครงการให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคของประเทศ

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลาหลายปี ที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงบ่อยครั้งมากขึ้น ทุกประเทศจึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงสภาพปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำหรับในส่วนของประเทศไทย ซึ่งมี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ได้รับ การสนับสนุนทางวิชาการจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการส่งเสริมศักยภาพด้านการจัดการภัยพิบัติแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน โดยดำเนิน โครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย” ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการ ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติในอนาคต ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับชุมชน แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะเวลา 2 ปี พ.ศ. 2549 - 2551 ขณะนี้เป็นการดำเนินการในระยะที่ 2 ระยะเวลา 4 ปี พ.ศ. 2553 — 2557 ในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ลำพูน และนครศรีธรรมราช โดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมลดภัยพิบัติและยกระดับมาตรฐานการจัดการภัยพิบัติของไทย

นายวิบูลย์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้เกิดมาตรฐานการจัดการภัยพิบัติร่วมกัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) จึงได้จัดสัมมนาจัดการแผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยระยะที่ 2 ในวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ณ โรงแรมอมารี เอเทรียม เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้และทักษะ ในการจัดการภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติด้านอื่นๆ ซึ่งการจัดสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ การรายงานผลการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการฯ การบรรยาย ใน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ เรื่องความเข้าใจและความจำเป็นในการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ โดย ดร.นากามูระ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากประเทศญี่ปุ่น เรื่องการประเมินโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย โดย ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย เรื่องมาตรการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว โดย ดร.เมกูโร่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ ปภ. ได้ตั้งเป้าที่จะขยายผลการดำเนินโครงการให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค ของประเทศในอนาคต เพื่อพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติ โดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน และเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติต่างๆ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ