นาย โรฮิท กุมาร์ วาฮิททรา กรรมการผู้จัดการ PTL เปิดเผยว่า คณะกรรมการได้มีมติอนุมัติการลงทุนมูลค่าประมาณ 2,300 ล้านบาท ในโครงการผลิตแผ่นฟิล์ม PET ชนิดหนา เพื่อตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
การลงทุนในครั้งนี้จะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีความต้องการอย่างสูงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า, อิเลคทรอนิกส์, แผงพลังงานแสงอาทิตย์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
“การลงทุนในครั้งนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันที่จำกัด เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิม อีกทั้งแผ่นฟิล์มชนิดหนาสามารถสร้างส่วนต่างกำไรได้สูงกว่าและเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงมากกว่า ซึ่งจะช่วยสร้างกำไรให้บริษัท ฯ ได้ในระยะยาว” นาย วาฮิททรา กล่าว
PTL เติบโตอย่างแข็งแกร่งตามการเติบโตของอุตสาหกรรมและราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทได้รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2553) ซึ่งมีกำไรสุทธิสูงกว่า 452.9% มาอยู่ที่ 1,436.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจาก 259.81 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นจาก 1,803.5 ล้านบาท มาอยู่ที่ 3,186.4 ล้านบาท นับเป็นการเพิ่มขึ้น 76.7 เปอร์เซนต์ หรือ 1,382.9 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาขาย ตามสถานการณืในตลาด และปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น
PTL มีกำไรสุทธิจากใน 3 ไตรมาสแรก (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2553) เท่ากับ 2,611 ล้านบาท หรือคิดเป็น กำไรต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่ 3.26 บาท เพิ่มขึ้น จาก 691.31 ล้านบาท หรือ 0.86 บาท ต่อหุ้น ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
“เรายังคงมั่นใจว่า อุปทานในตลาดสำหรับแผ่นฟิล์ม PET ชนิดบางจะยังมีความตึงตัวอยู่มาก และจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจต่อไปอีก 2-3 ไตรมาส” นายวาฮิททรา กล่าว นอกจากนี้แล้วเขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ราคาวัตถุดิบเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท้าทาย ในไตรมาสปัจจุบันราคาวัตถุดิบค่อนข้างสูงและผันผวน ภายใต้ความคาดหวังที่จะมีกำลังการผลิตใหม่ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในปี 2554 จากทวีปเอเชีย
นายวาฮิททรา เปิดเผยต่อไปอีกว่า การสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งแผ่นฟิล์ม PET ชนิดบาง และชนิดหนา จะช่วยให้ PTL สามารถตอบสนองความต้องการ สำหรับโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตสูงขึ้นเรื่อย โดยโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จใน 2 ปี
“การตัดสินใจในลงทุนในอุตสากรรม แผ่นฟิล์ม PET ชนิดหนา เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์จัดเป็นกลยุทธ์วางตำแหน่งทางการตลาดใหม่ในระยะยาว ที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อกระจายความเสี่ยงโดยเปลี่ยนจากการเน้นเซ็กเมนต์บรรจุภัณฑ์ที่มีการแข่งขันสูงเป็นหลักไปสู่เซ็กเมนต์อุตสาหกรรม และเป็นการเสริมให้โพลีเพล็กซ์เป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สำหรับแผ่นฟิล์มชนิดหนาแบบดั้งเดิม” เขากล่าว
นายวาฮิททรา ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า 2-3 ปีทีผ่านมา บริษัท ฯ ได้ทำการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น ฟิล์มอัดขึ้นรูป “Extrusion Film”, ฟิล์ม CPP และยังวางแผนที่จะเพิ่มสายการผลิตใหม่สำหรับ ฟิล์มซิลิกอน ในปลายปีนี้ด้วย ทำให้สัดส่วนของสินค้าที่มีการเพิ่มมูลค่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นต่อไป
นายวาฮิททรา กล่าวว่าเงินลงทุน 2,300 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจะมาจากกระแสเงินสดของบริษัท ฯ และบางส่วนจะมาจากเงินกู้ แสดงให้เห็นก้วย่างที่มั่นคงของธุรกิจ ด้วยมาร์จิ้นที่สูงขึ้น
บริษัท ฯ คาดหวังที่จะเจาะตลาดในประเทศ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ที่มีการใช้แผ่นฟิล์มชนิดบางในการผลิต จอ LCD/LED TV และทัชสกรีน
สำหรับกรณีที่รัฐบาลอินเดียออกกฎห้ามใช้แผ่นพลาสติกฟิล์มในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร นายวาฮิททรา ให้ความเห็นว่า ประกาศดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการจำกัดการใช้สำหรับบรรจุภัฑ์ในอาหารทุกชนิด แต่เป็นการบังคับใช้กับใบยาสูบแห้งแต่งกลิ่นรสสำหรับเคี้ยว (chewing tobacco) และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
เขายืนยันว่า บริษัท ฯ ไม่ได้รับผลกระทบจากฐานการผลิตทั้งในประเทศไทย และตุรกี โดยเห็นว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องและประโยชน์ที่หลากหลายของ PET ที่จะยังคงมีพัฒนาการต่อไปอีก จะช่วยทดแทนการลดลงของความต้องการในผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จากการดำเนินการดังกล่าว