เปิดตัวนวัตกรรมอาหารเพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปากครั้งแรกของโลก

จันทร์ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ ๑๑:๓๙
มูลนิธิทันตนวัตกรรม ร่วมมือกับบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่งจำกัด พร้อม 4 พันธมิตร ผลิตอาหารเพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก พร้อมทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง 2 ล้านกล่องปลายปีนี้

ปัจจุบันโรคมะเร็งช่องปากถือเป็นโรคของช่องปากที่ร้ายแรงที่สุด มักพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะท้ายแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 45 โรคมะเร็งช่องปากจัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งที่ศรีษะและลำคอ (Head and neck cancer) ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งช่องปากและมะเร็งคอหอยในระยะต้นจะใช้วิธีผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี แม้จะได้ผลดีในระยะแรก แต่ผู้ป่วยมักประสบปัญหาความพิการของอวัยวะบดเคี้ยวตามมา และผลข้างเคียงจากการฉายรังสีก็มักทำให้เกิดแผลในปาก ประสาทการรับรสเปลี่ยนไป ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายน้อยลงและเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี รับประทานอาหารไม่ได้ เกิดภาวะทุพโภชนาการ จากสถิติกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปีพ.ศ.2552 มีผู้ป่วยโรคมะเร็งริมฝีปาก ช่องปากและคอหอย มารับการรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศเป็นจำนวนมากเป็นอันดับ 5 ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั้งหมด และมีจำนวนวันนอนเฉลี่ยในโรงพยาบาลนานกว่าโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ สาเหตุที่ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและคอหอยต้องนอนโรงพยาบาลนาน นอกจากการผ่าตัดรักษาแลพักฟื้นแล้ว การรรับประทานอาหารเองไม่ได้และต้องพึ่งพาการให้อาหารทางสายยาง (tube feeding) ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญ ดังนั้นการพัฒนาหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานได้ทางปาก กลืนง่ายให้พลังงาน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรในด้านทันตสาะรณสุข จึงร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ร่วมกันสร้างกลไกและแนวทางการทำงานร่วมกัน

ทางด้านการผลิตมูลนิธิทันตนวัตกรรม ได้คัดเลือกบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหาร และการบรรจุภัณฑ์มารับช่วงต่อในการผลิตอาหาร โดยได้คัดเลือกบริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด บริษัทผู้ผลิตกะทิชั้นนำของประเทศ (กะทิชาวเกาะ) น้ำแกงปรุงรสรอยไทย กะทิธัญพืช ซอสปรุงรสลดโซเดียมและน้ำตาลตรากู๊ฟไรฟ์ รวมถึงน้ำนมข้าวกล้องวี-ฟิท และผลิตภัฑณ์อื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานสากลในระบบคุณภาพและระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทั้ง ISO 22000, ISO 9001:2000, HACCP, GMP, มอก.18001, ISO 1400, มรท. อีกทั้งยังเป็นโรงงานที่ผลิตในระบบปิด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย มีการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมตลอดมา จึงได้รับคัดเลือกเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารเพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก

อาหารเพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปากนั้นอยู่ในรูปของเจลอ่อน ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามรถตักรับประทานและกลืนได้ง่าย ไม่ทำให้เกิดการสำลัก ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการ UHT บรรจุลงกล่อมกระดาษปลอดเชื้อ สามารถเก็บในอุณหภูมิปกติได้ถึง 18 เดือน โดยในส่วนของสารอาหารนั้น 1 กล่องผลิตภัณฑ์ จะได้รับทั้งโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานถึง 250-260 KCAL ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ขาดสารอาหาร ในส่วนของรสชาติในขณะนี้มี 2 รสชาติ คือรสมะม่วง และนม อีกทั้งจะพัฒนารสชาติอื่นๆตามมา

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 028643900 มายแบรนด์ เอเจนซี่ จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ