“ยอดสั่งซื้อล่าสุดจากประเทศไทยยืนยันได้ถึงความสำเร็จอีกขั้นของกังหันก๊าซของเราในตลาดเอเชีย ซึ่งเราคาดหวัง ว่าตลาดจะพัฒนามากยิ่งๆ ขึ้นไปในหลายๆ ปีนี้” มาร์คุส ทักเค่ หัวหน้าฝ่ายบริหารของธุรกิจพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมของกลุ่มพลังงานของซีเมนส์กล่าว
ทั้งนี้ กังหันก๊าซจำนวน 14 ตัวที่มีการสั่งซื้อสำหรับโรงไฟฟ้าต่างๆ ของบริษัทกัลฟ์ เจพี นั้น จะถูกนำไปใช้ดังนี้จำนวน 8 ตัวสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (gas-fired cogeneration) 4 โรงในจังหวัดสระบุรี ซึ่งได้แก่ สระบุรี เอ (Saraburi A) สระบุรี บี (Saraburi B) อินดัสเทรียล โคเจน (Industrial Cogen) และ คอมไบน์ ฮีท แอนด์ เพาเวอร์ (Combined Heat and Power) จำนวน 2 ตัวสำหรับโรงไฟฟ้าฉะเชิงเทราโคเจนเนอเรชั่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนที่เหลืออีก 4 ตัวสำหรับโรงไฟฟ้า 2 แห่ง คือ อีอาร์ ไอ แอล โคเจนเนอเรชั่นในจังหวัดระยอง และ ปทุมโคเจนเนอเรชั่น ในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมเหล่านี้จะอยู่ที่ประมาณ 800 เมกะวัตต์ โดยไอน้ำที่เกิดขึ้นจะถูกขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ในส่วนของโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (CCPP) ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี นั้น ซีเมนส์จะจัดหากังหันก๊าซรุ่น SGT-800 ให้ 2 ตัวรวมถึงจัดหาขดลวดทำความเย็น (chiller coils) โมดุลระบบไฟฟ้าและตัวควบคุม (electrical and control modules) และโซลูชั่นการผลิตแบบบูรณาการขั้นสูง (high integrated generator solution — HIGS) ตลอดจนจัดหากังหันไอน้ำรุ่น SST-400 ให้ โดยพลังงาน ไอน้ำและน้ำเย็นที่เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าจะถูกส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมนี้ (CCCP) จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555
กังหันก๊าซรุ่น SGT-800 ของซีเมนส์ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูง (best in-class efficiency) มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในระดับสูงสุด (maximum reliability) อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในวงจรชีวิตการใช้งานที่ต่ำ (low lifecycle costs) นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้แบบ Dry Low Emissions (DLG) ทำให้ลดการเกิดก๊าซไนโตรเจนลงได้มากที่สุดซึ่งลูกค้าได้เลือกกังหันก๊าซของซีเมนส์รุ่น SGT-800 ก็เนื่องจากการออกแบบให้ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพและความทนทานเหมาะต่องานอุตสาหกรรม
โรงไฟฟ้าเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กของรัฐบาล ซึ่งต้องการให้โรงไฟฟ้าเหล่านี้ส่งออกพลังงานความร้อนในรูปแบบของไอน้ำและน้ำร้อนอย่างน้อยร้อยละ 5 ไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าโดยรวม