โครงการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค

พุธ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ ๑๒:๓๐
นายประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “โครงการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.30-12.30 น. ณ Jupiter Room 4-7 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 400 คน โดยมาจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการไทยเข้มแข็งทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานกลาง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น การจัดงานสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงานดำเนินโ ครงการ (Implementing Agency) เกี่ยวกับกรอบการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และขอความร่วมมือหน่วยงานดำเนินโครงการในการให้ข้อมูลโครงการแก่ที่ปรึกษาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะที่ต้องออกสำรวจ (Survey) เก็บข้อมูลติดตามและประเมินผลในภาคสนาม เพื่อจัดทำรายงานติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และคณะรัฐมนตรี

การสัมมนาในวันนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้นำเสนอกรอบติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อจะนำไปใช้ติดตามและประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค สรุปได้ดังนี้

1) การติดตามประเมินผลโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1.1 ระดับโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ การเบิกจ่ายงบประมาณ ผลผลิต ผลลัพธ์ การจัดซื้อจัดจ้าง ด้านเทคนิค ปัญหา/อุปสรรค ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ประกอบการแก้ไข ปรับปรุง ยกเลิกหรือดำเนินโครงการต่อไป

1.2 ระดับแผนงานรายสาขา เพื่อติดตามการดำเนินโครงการว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 8 ข้อ

1.3 ระดับภาพรวม เพื่อติดตามผลกระทบของโครงการต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม แบบบูรณาการในระยะสั้น และระยะยาว

2) การจัดทำตัวชี้วัด การจัดทำตัวชี้วัดแบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดระดับโครงการและตัวชี้วัดระดับสาขาการลงทุน โดยตัวชี้วัดได้สอดคล้องกับด้านปัจจัย ผลผลิต ผลลัพธ์ และวัตถุประสงค์โครงการที่แต่ละหน่วยงานได้เสนอโครงการมา นอกจากนี้ ตัวชี้วัดได้มีการทดสอบ (Pretest) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้ผ่านความเห็นชอบจากแต่ละหน่วยงานเพื่อนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต ้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

3) แนวทางการติดตามและประเมินผลโครงการการดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การติดตามโครงการส่วนหนึ่งและ การประเมินผลโครงการอีกส่วนหนึ่ง

3.1 การติดตามโครงการ เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ การกระตุ้นและเร่งรัดการดำเนินโครงการของแต่ละโครงการให้ดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทราบปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไขให้โครงการดำเนินการต่อไป อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจยกเลิกโครงการ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

3.2 การประเมินผลโครงการ เป็นการประเมินผลโครงการที่ดำเนินการเสร็จแล้วว่าโครงการประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่โครงการได้กำหนดไว้ ตลอดบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งในระยะยาวหรือไม่ โครงการมีความยั่งยืนเพียงใด การเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) รวบรวมข้อมูลโครงการตามตัวชี้วัดที่จัดไว้ และ 2) การสัมภาษณ์ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จากนั้นจึงทำการประเมินใน ด้านต่างๆ กล่าวคือ

การประเมินตัวโครงการ เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการ ว่า อยู่ในระดับใด ตั้งแต่ผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างว่าเป็นไปตามระเบียบราชการหรือไม่ ตลอดจนการตรวจสอบด้านเทคนิค โดยเน้นการตรวจสอบการก่อสร้างว่าเป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานทั่วไปหรือไม่

การประเมินผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ เป็นการประเมินความพึงพอใจของผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการและประโยชน์ที่ได้รับว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการด้วยหรือไม่ โดยสอบถามกับหน่วยงานที่ดำเนินโครงการและผู้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรงและอ้อม

4) เกณฑ์การประเมินความสำเร็จของโครงการ

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการและในระดับสาขาโครงการภายใต้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้กำหนดให้ใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นสากลใน 5 ประการประกอบด้วย (1) Relevance ประเมินความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของรัฐบาลหรือหน่วยงานดำเนินโครงการ (2) Effectiveness ประเมินความสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (3) Effic iency ประเมินด้านประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรที่ต้นทุนต่ำ (4) Impact ประเมินผลกระทบของโครงการที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (4) Sustainable ประเมินความยั่งยืนของโครงการที่ได้ดำเนินการว่ามีมากน้อยเพียงใด

ในช่วงท้ายของการสัมมนาในวันนี้บริษัทที่ปรึกษาโครงการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค พร้อมทีมงานได้มาแนะนำตัวและได้เริ่มปฏิบัติงานแล้วในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีระยะเวลาสัญญาจ้าง 1 ปี โดยบริษัทที่ปรึกษาจะลงพื้นที่สำรวจ (Survey) เก็บข้อมูลติดตามและประเมินโครงการในภาคสนาม เพื่อจัดทำรายงานติดตามและประเมินผลโครงการเสนอต่อคณะกรรมการติดต ามและประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งมีนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้กล่าวขอความร่วมมือหน่วยงานดำเนินโครงการต่างๆ ในการรายงานข้อมูลเข้าระบบการติดตามและรายงานผลโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (Projects Financial Monitoring System: PFMS-SP2) ให้มีความสมบูรณ์โดยเร็ว รวมทั้งการให้ข้อมูลโครงการแก่บริษัทที่ปรึกษาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทั้ง 4 ราย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์จัดทำร ายงานติดตามและประเมินผล ต่อไป

สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5709

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ