ทนายเสื้อแดงชี้ คำสารภาพของนายกรัฐมนตรีไทยย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม

ศุกร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ ๑๒:๔๑
ในสัปดาห์นี้ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของไทย ได้ยอมรับต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกว่า เขาถือสองสัญชาติ คือสัญชาติไทยและสัญชาติอังกฤษ

ความจริงในเรื่องนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม ในเอกสารที่ทนายของกลุ่มเสื้อแดงยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อขอให้มีการไต่สวนกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในช่วงที่ทหารปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 91 คน ได้รับบาดเจ็บหลายพันคน และถูกจับกุมอีกหลายร้อยคน ทั้งนี้ สัญชาติของนายอภิสิทธิ์เกี่ยวเนื่องกันกับกรณีที่เกิดขึ้น เนื่องจากหลักฐานในคำฟ้องที่ระบุว่า นายอภิสิทธิ์เป็นบุคคลสัญชาติอังกฤษ ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม ดังนั้นคำฟ้องจึงเข้าเงื่อนไขเรื่องเขตอำนาจศาล ICC ตามมาตรา 12.2 (บี) ของสนธิสัญญากรุงโรม

“ตลอดระยะเวลา 24 วันที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ไม่ได้แสดงความจริงใจในประเด็นเรื่องการถือสัญชาติอังกฤษ แต่กลับสร้างความสับสนด้วยการกล่าวถึงการขอวีซ่าและการออกค่าใช้จ่ายเองในการไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อแก้ตัวที่ไม่ตรงประเด็น” นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม หุ้นส่วนบริษัท อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ แอลแอลพี ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าว “นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ต้องเข้าใจว่านี่ไม่ใช่เรื่องตลก และไม่ใช่เวลามาทำตลกว่าตนเองเชียร์ทีมฟุตบอลอังกฤษทีมใด ในขณะที่รัฐบาลของเขาประสพความล้มเหลวในการสอบสวน ดำเนินคดี หรือแม้แต่ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม”

ในช่วงหลายสัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ทนายของกลุ่มเสื้อแดงยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ และนายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกของนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาปฏิเสธต่อสาธารณชนโดยตลอด โดยอ้างว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีการกล่าวหมิ่นประมาทโจมตีนายอัมสเตอร์ดัมและแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง เช่น นายจตุพร พรหมพันธ์ ในเรื่องสัญชาติของนายอภิสิทธิ์ ผ่านทางสื่อหลายต่อหลายครั้ง

การเปลี่ยนแปลงท่าทีอย่างฉับพลันของรัฐบาลถือเป็นจุดสำคัญ นายอัมสเตอร์ดัมกล่าว “ถ้าพวกเขาไม่สามารถพูดความจริงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเล็กๆ เพียงข้อเดียว แล้วคนไทยจะคาดหวังให้พวกเขามาดูแลเรื่องความยุติธรรมได้อย่างไร”

ยิ่งไปกว่านั้น นายอัมสเตอร์ดัมยังเปรียบเทียบกรณีนี้กับการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมทั่วโลก รวมถึงการชุมนุมล่าสุดในตูนิเซีย อียิปต์ บาห์เรน และลิเบีย “นี่เป็นคดีสำคัญที่มีหลักฐานแน่นหนา และเปิดโอกาสให้ประชาคมโลกได้แสดงให้เห็นว่า บรรดานักเผด็จการและผู้นำเผด็จการจะต้องรับผิดชอบที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนของตนเอง และเพราะมีการปราบปรามอย่างน่ารังเกียจและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากการเรียกร้องประชาธิปไตยในโลกอาหรับในปัจจุบัน เราจึงจำเป็นต้องเผยแพร่ข้อมูลนี้ในขณะนี้”

ทั้งนี้ ได้มีการสร้างเว็บไซต์พิเศษขึ้นเพื่อจัดเก็บภาพวิดีโอและหลักฐานคำให้การของเหยื่อจากการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมในประเทศไทย สามารถชมได้ที่ http://www.thaiaccountability.org และสามารถชมสำเนาเอกสารที่ยื่นต่อศาล ICC รวมถึงหลักฐานต่างๆ ได้ที่ http://www.robertamsterdam.com/thailand

แหล่งข่าว: อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ แอลแอลพี

ติดต่อ:

เจมส์ ไคเมอร์ (James Kimer)

โทร: +1-917-355-0717

อีเมล: [email protected]

AsiaNet 43450

-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ