พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ โดยนายสุลักษณ์จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เหรียญรางวัล และเงินรางวัล 20 ล้านเยน
นายสุลักษณ์เกิดในปีพ.ศ.2476 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน นายสุลักษณ์ได้รับการศึกษาด้านกฎหมายและสาขาวิชาอื่นๆในประเทศไทย อังกฤษ และเวลส์ เขาเดินทางกลับสู่ประเทศไทยในปีพ.ศ.2504 โดยตลอดชีวิตการทำงาน เขาได้ใช้สติปัญญาในการขับเคลื่อนแนวคิดและการเคลื่อนไหวเชิง “พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม” (engaged Buddhism) เขาเป็นทั้งอาจารย์ นักวิชาการ สื่อ นักเคลื่อนไหว และผู้ก่อตั้งองค์กรหลายแห่ง รวมถึงเครือข่ายนานาชาติพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม (International Network of Engaged Buddhists - INEB)
คณะกรรมการมอบรางวัลกล่าวถึงการเลือกนายสุลักษณ์เป็นผู้รับรางวัลประจำปี 2554 ว่า เขาเป็น “เสียงของเหตุผลและจริยธรรม” และ “มีสติปัญญาในการโน้มน้าวผู้คนให้ช่วยกันส่งเสริมความสำคัญของความตระหนักรู้ทางสังคม ในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วโลก” และอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาได้รับรางวัลคือการใช้ปัญญาในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเขาแสดงจุดยืนอย่างหนักแน่นในการต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
รางวัลสันติภาพนิวาโน
รางวัลสันติภาพนิวาโน ตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2526 เพื่อเป็นเกียรติและเป็นกำลังใจแก่บุคคลและองค์กรที่ได้อุทิศตนอย่างมีนัยสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างศาสนา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสันติภาพในโลกต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงการให้ความสำคัญกับศาสนาหรือภูมิภาคใดโดยเฉพาะเจาะจงเกินไป ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลจึงมาจากบุคคลและองค์กรราว 700 รายซึ่งเป็นตัวแทนของ 125 ประเทศ ทั้งนี้ ชื่อของรางวัลถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายนิกเกียว นิวาโน ผู้ก่อตั้งและประธานคนแรกขององค์กรพุทธฆราวาสริชโช-โคเซไก (Rissho Kosei-kai)
มูลนิธิสันติภาพนิวาโน ได้รับการจัดตั้งในปีพ.ศ.2521 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสันติภาพของโลก รวมทั้งสนับสนุนวัฒนธรรมแห่งสันติ ทางมูลนิธิส่งเสริมการวิจัยและกิจกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับศาสนา และสนับสนุนให้เกิดสันติภาพผ่านทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา ทั้งนี้ มูลนิธิสันติภาพนิวาโนเป็นองค์กรการกุศลที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐ และการบริจาคให้องค์กรสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
แหล่งข่าว: มูลนิธิสันติภาพนิวาโน
ติดต่อ:
(นาย) ทาดาชิ ทากาทานิ
โทรศัพท์: +81-3-3226-4371
โทรสาร: +81-3-3226-1835
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: www.npf.or.jp/english/
AsiaNet 43452
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --