ก.ไอซีที ติดตั้งครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ให้คนพิการ เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม

อังคาร ๐๑ มีนาคม ๒๐๑๑ ๐๙:๔๐
นางสาวจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในงานแถลงข่าวโครงการติดตั้งครุภัณฑ์คนพิการและพิธีมอบครุภัณฑ์คนพิการ ว่า กระทรวงฯ มีนโยบายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ครู ผู้ปกครอง และชาวบ้าน ตลอดจนคนพิการและผู้สูงอายุ ได้รับโอกาสในการเข้าถึงและพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อลดช่องว่างการเข้าถึงด้านข้อมูลข่าวสาร โดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งได้จัดตั้งไปแล้ว จำนวน 879 ศูนย์ และกำลังจะดำเนินการจัดตั้งเพิ่มเติมอีก 1,000 ศูนย์ พร้อมกันนี้ยังได้ดำเนินการติดตั้งครุภัณฑ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุเพิ่มเติมในศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน สมาคม มูลนิธิ ศูนย์ฝึกอาชีพ และมหาวิทยาลัย จำนวน 120 แห่ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป้าหมายให้เกิดการเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงโลกดิจิทัล ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

“นโยบายการติดตั้งครุภัณฑ์คนพิการและผู้สูงอายุนี้ มุ่งหวังเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโลกดิจิทัล โดยมุ่งเน้นให้คนพิการและผู้สูงอายุสามารถเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งในการดำเนินการนั้น จะมีการติดตั้งอุปกรณ์และโปรแกรมสำหรับคนพิการทางการมองเห็น คนสายตาเลือนราง คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางการสื่อความหมาย และผู้สูงอายุ อาทิ โปรแกรมอ่านจอภาพ และโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (ตาทิพย์) ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยในการเข้าถึง ไอซีที สำหรับคนพิการทางสายตา ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งมีการจัดหาเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์เพื่อพิมพ์เอกสารเป็นอักษรเบรลล์ให้คนพิการทางสายตาสามารถอ่านเอกสารสิ่งพิมพ์ได้ และยังมีชุดอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้พิการที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร เช่น ชุดอุปกรณ์ช่วยพูดพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้มีความบกพร่องทางการสื่อสารให้สามารถสื่อสารกับคนปกติได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ

กระทรวงฯ หวังว่าการดำเนินงานกิจกรรมดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านไอซีที ให้แก่กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาด้วยไอซีที และเพิ่มพูนทักษะการใช้ไอซีทีมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำ องค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ต่อไป” นางสาวจิตภัสร์ กล่าว

สำหรับรายละเอียดการดำเนินการติดตั้งครุภัณฑ์คนพิการครั้งนี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 รายการ ได้แก่ 1.โปรแกรมอ่านหน้าจอภาษาอังกฤษ (Screen Reader) 2.โปรแกรมอ่านหน้าจอภาษาไทย (Thai Jaws Braille) 3.โปรแกรมแปลง สื่อสิ่งพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษ 4.โปรแกรมแปลงสื่อสิ่งพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ภาษาไทย 5.โปรแกรมแปลงภาพเป็นอักษรและเสียงสังเคราะห์ 6.โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (ตาทิพย์) 7.โปรแกรมขยายจอภาพ 8.โปรแกรมแปลงภาพเป็นอักษรภาษาอังกฤษ (Open Book) 9.โปรแกรมแปลงภาพเป็นอักษรภาษาไทย (Arnthai) 10.อุปกรณ์ช่วยพูดพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง 11.เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer) 12.โต๊ะวางเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ และ13. กระดาษเฉพาะสำหรับเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ ซึ่งรายการครุภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยให้คนพิการสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ