ปอศ.เผยการจับกุมละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มกราคม 54 เกือบ 40 ล้านบาท

พุธ ๐๒ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๒๑
กองบังคับการปราบปรามและการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เผยการจับกุมละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นมา พบว่า มียอดการจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในองค์กรธุรกิจคิดเป็นมูลค่าเกือบ 40 ล้านบาท

พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามและการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 75 และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีการสืบสวนผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดำเนินไปอย่างเข้มข้น สม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา โดยจากการตรวจค้นในแต่ละครั้ง พบว่า มูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์แตกต่างกันออกไปตามขนาดของบริษัทและประเภทของธุรกิจ และยังมีบริษัทจำนวนมากที่นำซอฟต์แวร์มูลค่าสูงมาใช้สร้างผลกำไรมหาศาล โดยไม่ได้ชำระค่าลิขสิทธิ์ และเพื่อบรรลุเป้าหมายในการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศลง เราจะดำเนินการสืบสวน เก็บรวบรวมหลักฐาน และ เข้าตรวจค้นบริษัทต่างๆ ที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องต่อไป

ล่าสุด ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปอศ. ได้ดำเนินการเข้าตรวจค้นบริษัทที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อาทิ ปทุมธานี สมุทรปราการ อยุธยา ชลบุรี นครปฐม ฯลฯ โดยได้ทำการตรวจค้นธุรกิจผลิตสินค้า ขายปลีก ก่อสร้าง และอุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องสงสัยว่าใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการดำเนินกิจการ ซึ่งบริษัทที่ถูกตรวจค้นเหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และมีทุนจดทะเบียนเฉลี่ย 131.2 ล้านบาท และรายได้ต่อปีเฉลี่ย 1.47 ล้านบาท โดยจากการตรวจค้นและจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นมา พบว่า มียอดการจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในองค์กรธุรกิจคิดเป็นมูลค่าเกือบ 40 ล้านบาท

โดยบริษัทที่ถูกตรวจค้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาประกอบด้วย กิจการร่วมทุนกับอิสราเอลซึ่งพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 6.7 ล้านบาท ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคสัญชาติไทยซึ่งพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 2.5 ล้านบาท โรงงานผลิตสินค้าด้านเทคโนโลยีร่วมทุนกับมาเลเซีย ซึ่งพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 6.7 ล้านบาท และบริษัทผลิตสินค้าของไทยซึ่งพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 4.3 ล้านบาท

การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในปีนี้ ส่งผลให้กรรมการของบริษัทเกือบ 20 แห่ง ต้องถูกกล่าวโทษในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์บ่อยที่สุด ได้แก่ ซอฟต์แวร์ของบริษัทไทย ชื่อ ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ นอกจากนี้ตำรวจยังตรวจพบซอฟต์แวร์ของออโต้เดสค์ (Autodesk) อโดบี (Adobe) และไมโครซอฟต์ (Microsoft) อีกด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ผ่านทางสายด่วนหมายเลขโทรศัพท์ 0-2714-1010 หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.stop.in.th มีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้แจ้งจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.stop.in.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :

อาทิมา ตันติกุล : บริษัท วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์ โทร 02-684-1551

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๒๑ โรงพยาบาลเอกชล ได้มีการจัดกิจกรรมงาน วันเบาหวานโลก 2567 Diabetes and Well-Being สุขกาย สุขใจ โลกสดใส ใส่ใจเบาหวาน
๑๔:๓๑ ทีทีบี ชูพลัง Data และ AI ก้าวข้ามขีดจำกัด ตอบโจทย์ลูกค้าระดับเฉพาะบุคคล จับมือ databricks เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
๑๔:๒๔ AMF ประกาศรางวัลการตลาดยอดเยี่ยม และนักการตลาดดีเด่นแห่งเอเชีย ประจำปี 2567
๑๔:๑๘ สยาม ทาคาชิมายะ ณ ไอคอนสยาม เฉลิมฉลองสุดยิ่งใหญ่ครบรอบ 6 ปี
๑๔:๕๖ ใจสั่น ไม่ใช่เรื่องเล็ก AF เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า
๑๔:๓๗ บุฟเฟต์มื้อกลางวันและมื้อค่ำวันพ่อพร้อมโปรสุดพิเศษคุณพ่อทานฟรี
๑๔:๕๘ บริษัทศูนย์รับฝากคะแนน จับมือ Robinhood เข้าร่วมแพลตฟอร์ม Paypoint NETWORK มั่นใจ EFFECT ที่แข็งแกร่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนคะแนน
๑๔:๓๗ ดร.นุชนารถ ชลคงคาขนทัพวิทยากรฝีมือฉมัง!! เตรียมจัดอบรมหลักสูตร DMK Mastering Service Excellence :Professional Image and Communication ระหว่างวันที่ 27-28 ม.ค.68 ณ
๑๔:๐๖ Kaspersky เปิดคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ฟรี เรื่อง AI ในระบบการศึกษา สำหรับนักการศึกษาและผู้ปกครอง
๑๔:๕๕ NCP ฟอร์มเด่น! Q3 กำไรพุ่ง 23.88% รับผลดีธุรกิจ Upselling Service และ Dedicated Telesale Outsourcing ฮอต