"ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3"

พฤหัส ๐๓ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๔๗
ชื่อภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช(ภาพยนตร์จตุรภาค)

ภาค 1 “องค์ประกันหงสา”

ภาค 2 “ประกาศอิสรภาพ”

ภาค 3 “ยุทธนาวี”

ภาค 4 “สงครามยุทธหัตถี”

กำกับการแสดง หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล

อำนวยการสร้าง หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา

คุณากร เศรษฐี

บทภาพยนตร์ หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล และ

ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ออกแบบงานสร้าง กรัณย์พล ทัศพร

สุดเขตร ล้วนเจริญ

ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล

กำกับภาพ อานุภาพ บัวจันทร์

กำกับแสง Stanislav Dorsic

ดนตรีประกอบ Sandy McLelland

Visual Effect Supervisor วรภัณฑ์ ลีละชาต

ลำดับภาพ หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล

หม่อมราชวงศ์หญิง ปัทมนัดดา ยุคล

กำกับศิลป์ นิวัฒน์ ทุมไช

สุดเขตร ล้วนเจริญ

คัดเลือกนักแสดง เบญจพร ปัญญายิ่ง

เนติมา โพธิ์เงิน

พัชรินทร์ ปกทิม

บันทึกเสียง ไชยเชษฐ์ เศรษฐี

ออกแบบเครื่องแต่งกาย หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา

เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์

สุมาลี จันก้อน

ฐิติกรณ์ ศรีชื่น

แต่งหน้า-ทำผม มนตรี วัดละเอียด

ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง สุรศักดิ์ วงษ์ไทย

จารุพงศ์ อินทวงษ์

พยุงศักดิ์ นฤภัย

ปณิชา ปัณณสิริชาติ

ภารดี ภูปรัสสานนทน์

ธนากร สกุลกนก

ปรมินทร์ ธนพรหมศิริกุล

ใหม่ เต่าพาลี

อรรถเดช กิจวาศน์

เบญจพร ปัญญายิ่ง

ผู้กำกับการแสดง หน่วยที่ 2 กิตติกร “เรียว” เลียวศิริกุล

ไพโรจน์ ประสารทอง

ทุนสร้าง 940 ล้านบาท

โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล 376 ล้านบาท ผ่านกระทรวงพาณิชย์ 330 ล้านบาท และ

กระทรวงวัฒนธรรม 46 ล้านบาท

ระยะเวลาดำเนินการ (ภาค 3-4) 2548 — 2554

กำหนดฉาย ภาค 3 31 มีนาคม 2554

กำหนดฉาย ภาค 4 สิงหาคม 2554

นักแสดงนำ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ท. วันชนะ สวัสดี

สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ท. วินธัย สุวารี

ออกพระราชมนู นพชัย ชัยนาม

ออกพระชัยบุรี ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง

ออกพระศรีถมอรัตน์ พ.ท. คมกฤช อินทรสุวรรณ

พระมหาเถรคันฉ่อง สรพงษ์ ชาตรี

สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฉัตรชัย เปล่งพานิช

พระเจ้านันทบุเรง จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์

พระมหาอุปราชา นภัสกร มิตรเอม

มังจาปะโร ชลัฏ ณ สงขลา

ลักไวทำมู สมชาติ ประชาไทย

มณีจันทร์ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ

เลอขิ่น อินทิรา เจริญปุระ

พระสุพรรณกัลยา เกรซ มหาดำรงค์กุล

นักแสดงกลุ่มใหม่ในภาค 3 และภาค 4

รัตนาวดี อคัมย์สิริ สุวรรณศุข

อังกาบ ศิรพันธ์ วัฒนจินดา

เจ้าจอมมารดาสาย วิชุดา มงคลเขตต์

มูเตอ เกศริน เอกธวัชกุล

ท้าวโสภา พิมพรรณ ชลายนคุปต์

เสือหาญฟ้า ดอม เหตระกูล

เสือหยก พันธกฤต เทียมเศวต

นันทกะยอสู เขมชาติ โรจนะหัสดิน

ไชยกะยอสู พ.ต.ต. จตุรวิทย์ คชน่วม

พระศรีสุพรรณธรรมาธิราช ดิลก ทองวัฒนา

พระยาพะเยา เฉลิมชัย มหากิจศิริ

พระยาพะสิม ครรชิต ขวัญประชา

นรธาเมงสอ ชลิต เฟื่องอารมย์

พญาละแวก เศรษฐา ศิระฉายา

พระยาจีนจันตุ ชูชาติ ทรัพย์สุทธิพร

สีหตู วรุฒ วรธรรม

ขุนรามเดชะ ฐากูร การทิพย์

ไอ้ขาม ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ

ล่ามจีน รอง เค้ามูลคดี

ครูบาเฒ่า ถนอม นวลอนันต์

จ่าศรีพรม จันทนา สิริผล

พลับพลึง ไอรินทร์ สุรังค์สุริยกุล

ชาวบ้าน ค่อม ชวนชื่น

ชาวบ้าน จเร เชิญยิ้ม

ชาวบ้าน แป๋ว ทรงแสง

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓

การประกาศเอกราชที่เมืองแครง และสังหารสุระกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งแม่น้ำสะโตงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (หรือสมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช ๒๑๒๗ ได้สร้างความตระหนกแก่พระเจ้านันทบุเรงองค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้าประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ จึงจำต้องส่งเพียงทัพพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อนพระชันษา คงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้ ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยายังบอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร

ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง ๒ ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่-นรธาเมงสอ มาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง

กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดินละแวก เจ้ากรุงละแวกมิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า พระยาจีนจันตุ มาลอบ สืบความที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้ เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหันมาสานไมตรีกับอยุธยา และส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วยอยุธยา การได้พระศรีสุพรรณฯ มาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่

ข้างสมเด็จพระนเรศเมื่อทรงประกาศเอกราชแล้วก็จัดเตรียมการรับศึกหงสาวดี แต่เพราะกำลังรบข้างอยุธยาเป็นรอง จึงทรงวางยุทธศาสตร์รับศึกโดยมุ่งอาศัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นเพียงแห่งเดียว ครั้งนั้นได้โปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนืออันเป็นแคว้นสุโขทัยเดิมลงมารวมกับครัวที่อยุธยา การณ์ปรากฏว่าเจ้าเมืองพิชัยและสวรรคโลกข้าหลวงเดิมแข็งเมืองไม่เทครัวลงมาสมทบ จึงทรงยึดเมืองแล้วลงทัณฑ์มิให้เป็นเยี่ยงอย่างสมเด็จพระนเรศทรงเห็นว่ากำลังข้างอยุธยายังเป็นรองพม่ารามัญ จึงทรงปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การรบเสียใหม่ โดยมิปล่อยให้ทัพพระยาพะสิมและนรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่เข้ามารวมกำลังผนึกล้อมร่วมกันตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นทรงจัดทัพออกรับศึกในแขวงหัวเมือง แลด้วยทัพพม่ารามัญแยกสายเข้าตีเป็นสองทางเดินทัพช้าเร็วไม่เสมอกัน จึงทรงเทกำลังเข้ารับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ตั้งพระทัยจะตีทัพเบื้องประจิมทิศก่อน แล้วจึงเทกำลังเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เบื้องอุดรทิศภายหลัง การทั้งหมดทั้งสิ้นต้องทำแข่งกับเวลา หากพลาดท่าแม้เพียงก้าวอยุธยาก็ไม่พ้นพินาศ ถึงแม้ครั้งนั้นทัพพม่ารามัญจะมิได้ยกมาดั่งทัพกษัตริย์เช่นศึกพระเจ้าช้างเผือกบุเรงนอง แต่ไพร่พลก็มากเหลือประมาณ เพียงพอจะสร้างความย่อยยับให้เหล่าอาณาประชาราษฎร์เกินคาดเดา

ภายใต้บรรยากาศกลิ่นอายสงครามนับแต่ศึกจีนจันตุ ตลอดถึงศึกพระยาพะสิมและศึกพระเจ้าเชียงใหม่ ในพระนครก็เกิดไฟรักโชติขึ้นท่ามกลางไฟสงคราม กลายเป็นเรื่องรักระหว่างรบ ด้วย เลอขิ่น ธิดาเจ้าเมืองคัง มีอันมาพบ เสือหาญฟ้า คนรักเก่าที่รอดชีวิตมาแต่ศึกเมืองคังโดยบังเอิญ เกิดขัดข้องเป็นรักสามเส้ากับ พระราชมนู คนรักใหม่ทหารเสือพระนเรศ ไฟรักยิ่งลุกลามเมื่อ รัตนาวดี ธิดาผู้ทรงเสน่ห์ของเจ้าจอมมารดาสาย มาทอดไมตรีให้พระราชมนู เกิดเป็นปมรักซ้อนปมรบ

ทางฝ่ายหงสาวดีนั้น พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่ารามัญพระองค์ใหม่มีใจพิศวาสพระสุพรรณกัลยา-พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศ หมายจะได้มาแนบข้าง ซ้ำพระนเรศอนุชามาประกาศเอกราชท้าทายอำนาจของพระองค์ ทำให้สถานะของพระสุพรรณกัลยาในฐานะองค์ประกันต้องสุ่มเสี่ยงต่อราชภัย พระสุพรรณกัลยาซึ่งขณะนั้นมีพระราชโอรสด้วยพระเจ้าบุเรงนองแล้ว ทรงถูกพระเจ้านันทบุเรงข่มขู่ บีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการยอมพลีกายถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา หรือยอมจบชีวิตด้วยการถูกย่างสดตามโทษานุโทษของพระอนุชา ชะตากรรมของพระพี่นางสุพรรณกัลยานั้นสุดรันทด

เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงเสร็จศึกอังวะก็เตรียมการเปิดศึกกับอยุธยา ทรงระดมไพร่พล แต่งเป็นทัพกษัตริย์ กองทัพใหญ่โตเหลือคณากว่าทัพบุเรงนองช้างเผือก เฉพาะไพร่ราบมีกำลัง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๔๐,๐๐๐ คน ทัพนี้หมายมุ่งบดขยี้อยุธยาลงเป็นผุยผงหากทัพพระยาพะสิมและทัพพระเจ้าเชียงใหม่ตีกรุงไม่สำเร็จ แต่สมเด็จพระนเรศก็สู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยาให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโล-บายการศึกที่เหนือชั้นด้วยพระอัจฉริยภาพ

ฉากสำคัญในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3

ศึกทุ่งบางแก้ว

หลังจากพระเจ้านันทบุเรงทรงทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และได้เกณฑ์ชาวไทยใหญ่หลบหนีราชภัยกลับไปยังอโยธยา พระองค์จึงได้สั่งให้นรธาเมงสอและพระยาพะสิมรวบรวมไพร่พลเข้าตีอโยธยา ด้วยหมายพระทัยว่าจะสามารถบดขยี้อโยธยาลงได้อย่างง่ายดาย เพราะศึกครั้งนี้คงเกินกำลังพระนเรศผู้ยังเยาว์พระชันษา แต่การณ์กลับหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระนเรศทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในด้านการรบ พระองค์ทรงวางแผนรับศึกอย่างรอบคอบ แม้ทหารของพระองค์จะน้อยกว่ามาก แต่ก็ทรงสรรหายุทธวิธีการรบที่จะชนะฝ่ายศัตรูที่มีกำลังเหนือกว่าได้ และเป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้สูญเสียไพร่พลฝ่ายอโยธยาน้อยที่สุด (ในศึกครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวของสมเด็จพระนเรศวรในฐานะ “จอมทัพ” ที่ในภาวะสงครามต้องการความเฉียบขาด เมื่อพระองค์มีบัญชาแล้วแม่ทัพนายกองลังเลไม่ปฏิบัติตาม จะต้องถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต เช่นพระราชมนูขัดคำสั่งถอยทัพตามกลศึกในครั้งนี้ แม้พระองค์จะทรงย้ำถึงสองครั้ง ครั้งที่สามจึงให้ม้าเร็วขึ้นไปตัดหัวพระราชมนูทันทีหากยังไม่ปฏิบัติตาม)

ยุทธนาวีระหว่างกองเรือพิฆาตพระนเรศวรและเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ

เมื่อครั้งที่อโยธยาศรีรามเทพนครอ่อนแอ เนื่องจากพ่ายแพ้ศึกหงสาวดีนั้น พระยาละแวก สบช่องซ้ำเติม ส่งทัพเรือบุกเข้าโจมตีเมืองเพชรบุรี แต่กลับถูกกรมการเมืองเพชรบุรีตีแตกพ่ายล่าถอยไปแล้วนั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่ายังมีนายทัพละแวกที่เกรงอาญาทัพของนักพระสัฎฐา หนีมาสวามิภักดิ์รับราชการด้วยพระมหาธรรมราชา แต่ด้วยอุปนิสัยของพระนเรศผู้มิตั้งตนอยู่ในความประมาทจึงทรงมอบหมายให้พระราชมนูสะกดรอยสืบจนรู้ว่าพระยาจีนจันตุผู้นี้คิดคดทรยศต่ออโยธยาโดยลอบส่งข่าวสารรายงานต่อนักพระสัฎฐา เมื่อพระยาจีนจันตุรู้ว่าความลับถูกเปิดเผย จึงนำเรือสำเภาแล่นใบหมายจะหลบหนีกลับเมืองละแวก แต่การณ์ไม่ง่ายอย่างที่คิด พระนเรศทรงนำเรือพิฆาตออกไล่ล่าเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ เหตุการณ์ต่อสู้ชิงชัยด้วยปืนใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอุบัติขึ้น สมเด็จพระนเรศวรและเหล่าขุนศึกไล่ยิงเรือสำเภาจีนเป็นสามารถ และนำเรือพิฆาตเข้าเทียบเรือสำเภาจีนจันตุ ทว่าเรือพิฆาตของพระองค์เพลี่ยงพล้ำตกอยู่ในระยะปืนใหญ่ของพระยาจีนจันตุ แต่ทันใดนั้นเรือพระที่นั่งของพระเอกาทศรถได้เร่งฝีพายเข้าแทรกเรือพระนเรศวรและเรือของพระยาจีนจันตุ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับปืนใหญ่บนเรือของพระยาจีนระดมยิงมาถูกเรือของพระเอกาทศรถจมลง

(ฉากนี้จะเต็มไปด้วยความตื่นเต้นของการไล่ล่าระหว่างเรือพิฆาตและเรือสำเภาจีน สุดท้ายจะได้เห็นถึงความรักที่ยิ่งใหญ่ระหว่างพระนเรศวรและพระเอกาทศรถซึ่งสามารถตายแทนกันได้ )

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version