มอบนโยบายให้กับคณะกรรมการ บริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย จำกัด

ศุกร์ ๐๔ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๔๗
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งบริษัทในเครือของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เพื่อดำเนินโครงการไปรษณีย์เพื่อสินเชื่อรายย่อย ซึ่งต่อมา คณะกรรมการ ปณท เห็นชอบให้ใช้ชื่อบริษัทในเครือว่า บริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย จำกัด (สปณ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในเครือของ ปณท ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ๕๐ ล้านบาท โดย ปณท ถือหุ้น 100 % มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร การให้สินเชื่อ โดยมีกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นความยากจน ประชาชนที่มีรายได้เท่ากับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนระดับฐานรากโดยตรง โดยอาศัยจุดแข็งในด้านเครือข่ายที่มีศักยภาพ ความใกล้ชิดคนไทยและความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดเตรียมการยื่นขออนุญาตจากกระทรวงการคลังผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินควบคู่ไปกับกระบวนการจัดตั้งบริษัท และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนอีกไม่น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน คาดว่าจะเปิดให้ยื่นขอสินเชื่อได้ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค. 54 นี้ พร้อมนำร่อง 10 สาขา ทุกภาคทั่วประเทศ

สำหรับคณะกรรมการบริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย ประกอบด้วยตัวแทนจากไปรษณีย์ไทย กระทรวงการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน โดยในวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2554 รมว.คลัง (กรณ์ จาติกวณิช) มอบนโยบายในการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการ สปณ. ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในแต่สาขาจะได้มีโอกาสร่วมกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานให้โครงการดังกล่าวนี้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป

สำหรับโครงการนี้ นอกจากช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินโดยที่ไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาธุรกิจของ ปณท ในด้านการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับการไปรษณีย์ทั่วโลก ที่จะให้บริการใน 3 ธุรกิจหลัก คือไปรษณีย์ ธนาคาร และการประกันภัย อีกทั้ง ยังช่วยพัฒนาระบบบริการทางการเงินในระดับฐานรากให้มีความหลากหลายและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้ใช้บริการผ่านเครือข่ายของภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทั่วถึงและตรงกับความต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการสินเชื่อในระดับฐานราก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนมากขึ้นอันจะนำไปสู่การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่สังคมไทยทุกระดับ

อนึ่ง หากผู้กู้ที่มีวินัยทางการเงิน เมื่อชำระหนี้ครบตามกำหนด อาจมีการพิจารณาลดหย่อนอัตราดอกเบี้ยในครั้งถัดไปหรือเพิ่มวงเงินกู้มากขึ้นในปีถัด ๆ ไป และบางส่วนนำไปสมทบเงินออมในกองทุนการออมแห่งชาติของผู้กู้ เพื่อสร้างความมั่นคงและหลักประกันในชีวิตให้กับผู้กู้ อีกทั้งการมีวินัยของผู้กู้จะสามารถช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินอื่นๆ หรือธนาคารของรัฐได้ต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025