แพทย์ชั้นนำของไทยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล ล่าสุดร่วมกันยืนยันถึงศักยภาพอันน่าพอใจของการรักษาเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาได้อย่างเห็นได้ชัด พร้อมทั้งช่วยลดความสิ้นเปลืองในการจ่ายยาที่ไม่จำเป็น ทำให้สามารถใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ แนวทางการรักษาเฉพาะบุคคลเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน โดยในประเทศไทยได้นำมาใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี รวมทั้งโรคมะเร็งบางชนิด
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นรินทร์ วรวุฒิ ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า “การรักษาเฉพาะบุคคลนับว่ามีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหา ศาลแก่ระบบสาธารณสุขของไทย โดยการรักษาแนวทางนี้จะลดความสิ้นเปลืองจากการจ่ายยาโดยไม่จำเป็น พร้อมทั้งช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับยาเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตนเองอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ความก้าวล้ำในด้านการรักษาเฉพาะบุคคลยังได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยให้มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
จากพื้นฐานความรู้ที่ว่าผู้ป่วยแต่ละคนที่ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเดียวกันอาจตอบสนองต่อยาชนิดเดียวกันได้แตกต่างกันออกไป การรักษาเฉพาะบุคคลจึงพยายามค้นหาแนวทางการรักษาที่เหมาะ สมที่สุดกับลักษณะทางด้านพันธุกรรม ลักษณะอาการเฉพาะ รวมทั้งชนิดของโรคที่ผู้ป่วยแต่ละคนเป็นอยู่
ในปัจจุบันได้มีการนำวิธีการรักษาเฉพาะบุคคลมาใช้จริงในประเทศไทยแล้ว นั่นคือการใช้ยาที่ออกฤทธิ์กับเซลล์มะเร็งเต้านมอย่างเฉพาะเจาะจงโดยยาดังกล่าวจะมีผลกับมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวชี้วัดทางชีวภาพที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงเท่านั้นซึ่งจะแสดงลักษณะอาการเฉพาะออกมา หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเนื้องอกมีตัวชี้วัดทางชีวภาพตรงตามที่ระบุไว้ แพทย์ก็จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาชนิดนี้ได้ กระบวนการดังกล่าวทำให้มั่นใจได้ว่าการให้ยาจะให้เฉพาะกับผู้ป่วยที่สามารถได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นๆ มากที่สุด
นอกจากนั้น การรักษาเฉพาะบุคคลยังถูกนำมาใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ซึ่งเกิดขึ้นกับประชากรประมาณร้อยละหนึ่ง หรือมากกว่า 600,000 คนในประเทศไทย โดยมีกระบวนการในการตรวจวินิจฉัยถึงสองขั้นตอน เพื่อใช้บ่งชี้ประเภทของผู้ป่วยและระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้ยาที่ออกฤทธิ์อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นวิธีการมาตรฐานในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ขั้นแรกผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยเพื่อบ่งชี้ว่าติดเชื้อไวรัสที่มีรูปแบบพันธุกรรม หรือ genotype แบบใด เนื่องจากรูปแบบพันธุกรรมที่แตกต่างกันของไวรัสจะส่งผลต่อโอกาสที่การรักษาจะประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ แพทย์ก็จะวินิจฉัยปริมาณไวรัส HCV RNA ที่ตรวจพบในร่างกาย และปรับระยะเวลาการรักษาให้เหมาะสม (อาจลดหรือขยายระยะเวลาการรักษาออกไป) โดยยึดตามผลการวินิจฉัยสองขั้นตอนดังกล่าว หลังจากนั้น ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษาที่สอดคล้องกันและมีการติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดซึ่งจะช่วยให้มีประสิทธิผลมากที่สุด
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทวีศักดิ์ แทนวันดี จากสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การรักษาเฉพาะบุคคลเป็นแนวคิดใหม่ในการรักษาผู้ป่วย และทำให้เกิดประโยชน์มหาศาลกับทุกฝ่ายในแวดวงสาธารณสุข ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในแบบที่เหมาะสมที่สุดกับตัวเอง และไม่ต้องผ่านกระบวนการรักษาต่างๆ ที่บางครั้งก็มีความเสี่ยง ขณะเดียวกันแพทย์ก็จะสามารถเข้าใจได้ดีที่สุดว่าการรักษานั้นได้ผลกับผู้ป่วยหรือไม่ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา และสามารถนำวิธีการรักษานั้นๆ ไว้ใช้กับผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์จริงๆ เท่านั้น”
ทั้งนี้ การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างโรช ไทยแลนด์ และ โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าวิจัยยาและการตรวจวินิจฉัยนับเป็นพลังขับเคลื่อนให้สามารถใช้วิธีการรักษาเฉพาะบุคคลได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โรช ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกในด้านนี้ เล็งเห็นว่าการรักษาเฉพาะบุคคลเป็นกลยุทธ์หลักของบริษัทและเป็นสิ่งที่โรชจะให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาต่อไป
“โรช เป็นหนึ่งในบริษัทเวชภัณฑ์ยารายแรกๆ ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อค้นหาวิธีการรักษาแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งในปัจจุบันเป็นสิ่งที่โรชมุ่งให้ความสำคัญ และจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไปอย่างแน่นอน” ดร.รอล์ฟ อัมเมลบวร์ก ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด กล่าว “ด้วยความเชี่ยวชำนาญที่เราได้สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานทั้งในฝ่ายการตรวจวินิจฉัยและฝ่ายค้นคว้าวิจัยยาจึงทำให้เรามีศักยภาพที่โดดเด่นในการคิดค้นวิธีการรักษาที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วย”
ทางด้าน นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “การตรวจวินิจฉัยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้การรักษาเฉพาะบุคคลเกิดขึ้นจริงได้ หากไม่มีการตรวจทดสอบแล้ว แพทย์ก็จะไม่สามารถบอกได้ว่าการรักษาที่ให้กับผู้ป่วยนั้นได้ผลหรือไม่ ทำนองเดียวกันกับโรง เรียนที่มีแต่การเรียนการสอนแต่ไม่มีการสอบวัดผล การตรวจวินิจฉัยจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้แพทย์รู้ว่าอะไรคือแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ และยิ่งเครื่องมือเหล่านี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเพียงใด ก็จะทำให้เราสามารถรักษาผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคลได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น”
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน โรชยังกำลังพัฒนาการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อใช้ในการรักษาโรคในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งรวมไปถึงการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังบางชนิดที่เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ ซึ่งมีผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังประมาณร้อยละ 50 ที่จะสามารถรับการรักษาด้วยยาตัวนี้ได้ รวมทั้งยังมีการพัฒนาการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อบ่งชี้ถึงสตรีที่มีการติดเชื้อไวรัส human papilloma virus (HPV) และมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
ดร.รอล์ฟ อัมเมลบวร์ก ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทวีศักดิ์ แทนวันดี จากสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นรินทร์ วรวุฒิ ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับ โรช
โรช หนึ่งในกลุ่มบริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชั้นนำของโลก ที่มุ่งเน้นด้านการค้นคว้าวิจัยยาและการวินิจฉัยโรค มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ เมืองบาเซล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในฐานะบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดของโลก และผู้นำนวัตกรรมทางด้านเวชภัณฑ์ยา การตรวจโรค การป้องกัน การวินิจฉัยตลอดจนการรักษาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มบริษัทโรช มุ่งมั่นดำเนินและพัฒนาธุรกิจเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนทั่วโลก
โรช คือผู้นำของโลกในด้านการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และยาสำหรับการรักษาโรคมะเร็งและการปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจาก นั้นยังเป็นผู้นำตลาดด้านไวรัสวิทยา และมีบทบาทในด้านการรักษาโรคสำคัญอื่นๆ เช่น ภาวะภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเอง การอักเสบ ความผิดปกติของระบบเมตะบอลิซึ่ม และโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง
โรช ลงนามในข้อตกลงเรื่องการวิจัยและพัฒนายา และเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับนานาคู่ค้าทางธุรกิจ โดยได้ซื้อกิจการของจีเนนเทค รวมทั้งเข้าถือหุ้นใหญ่ในบริษัทชูไก ปัจจุบันบริษัททุ่มงบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาประมาณ 9 พันล้านฟรังก์สวิสในปี 2553 และมีบุคลากรกว่า 80,000 คนทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท สามารถค้นได้จากเว็บไซต์ www.roche.com.
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:ศรน์โศภิน พุทธชาติเสวี
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน (ประเทศไทย) จำกัด
โทร: 0-2627-3501 ต่อ 101
อีเมล: [email protected]