โครงการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ขายสินค้าและผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่าสินเชื่อโครงข่ายธนกิจ (Supplier Finance) เป็นโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการเงินแก่กลุ่มซัพพลายเชน ของกลุ่มงานธุรกิจให้บริการด้านธุรกรรมการธนาคาร (Global Transaction Banking) ของธนาคารดอยช์แบงก์ ซึ่ง สินเชื่อโครงข่ายธนกิจ อันเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการเงินให้กับลูกค้าโดยผ่านระบบออนไลน์อัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นการผสมผสานบริการด้านการธุรกรรมด้านการค้าและบริการธุรกรรมการบริหารเงิน ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถบริหารการชำระค่าสินค้าและบริการทางอิเล็คทรอนิกส์ให้กับคู่ค้าได้ดีมากขึ้นโดยผ่านระบบ อี-บิลส์ (eBills) ซึ่งเป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิคส์สำหรับกลุ่มผู้ค้าแบบธุรกิจถึงธุรกิจที่ทันสมัยและมีความปลอดภัย และสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
การให้บริการทางการเงินของธนาคารดอยช์แบงก์ในรูปแบบนี้ ทำให้การบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนของซัพพลายเชนในทุกระดับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ สินเชื่อโครงข่ายธนกิจ ยังจะช่วยให้บริษัทในประเทศไทยสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางธุรกิจกับซัพพลายเออร์ โดยอำนวยความสะดวกด้านการเข้าถึงสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และยังสามารถกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงินให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดได้อีกด้วย จากการที่ สินเชื่อโครงข่ายธนกิจ ให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์นี้เองทำให้ซัพพลายเออร์สามารถขายลดลูกหนี้ (Discount receivables) ผ่านทางออนไลน์ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถบริหารจัดการกระแสเงินสดและควบคุมบัญชีลูกหนี้ได้ด้วยตนเอง
นายไพโรจน์ อานามวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า “ดอยช์แบงก์ เป็นธนาคารแห่งแรกที่สามารถนำเสนอบริการด้านการอำนวยความสะดวกทางการเงินแก่ผู้ขายสินค้าและบริการแบบออนไลน์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งช่วยให้ซัพพลายเออร์ของเราสามารถลดต้นทุนในการบริหารเงินทุนได้ อีกทั้งยังช่วยให้เราลดขั้นตอนในการติดตั้งระบบเพราะบริษัทใช้ระบบ Cash Management ของธนาคารดอยช์แบงก์อยู่แล้ว ที่สำคัญซัพพลายเออร์รายสำคัญๆของเราสามารถใช้บริการกับธนาคารดอยช์แบงก์ได้ทั้งหมด”
ขณะที่ นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด เสริมว่า “ด้วยต้นแบบทางธุรกิจของเราที่เป็นแบบประหยัดสินทรัพย์ (Asset-light) โดยเราจะว่าจ้างองค์กรภายนอกให้เป็นผู้ดูแลเรื่องการขนส่งสินค้าไปยังคู่ค้าของเรา การที่เราได้ศึกษาและตรวจสอบการทำงานภายในองค์กร โดยดูจากรูปแบบการขนส่งสินค้าและการครอบคลุมถึงเครือข่ายทั้งหมด ทำให้สามารถวางเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุน และมองหาโซลูชั่นต่างๆ เพื่อลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการทางการเงินให้กับผู้รับจัดการขนส่งของเรา เพื่อช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้ ซึ่งธนาคารดอยช์แบงก์ สามารถนำเสนอการบริการด้านโซลูชั่นทางการเงินที่ไม่ยุ่งยากผ่านทางระบบออนไลน์ โซลูชั่นที่ว่านี้ ทำให้เรามีช่องทางด้านการบริหารจัดการทางการเงินและต้นทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับคู่ค้าของเรา อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่แข็งแกร่งและยั่งยืนกับคู่ค้า และส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุนให้กับลูกค้าของเรา ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่สูงอย่างในปัจจุบันได้"
นายณัฐ วานิชเจริญธรรม ผู้จัดการฝ่ายการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มงานธุรกิจให้บริการด้านธุรกรรมการธนาคาร ของธนาคารดอยช์แบงก์ เอจี สาขากรุงเทพ เผยว่า “การที่บริษัททั้งสองได้นำเอาระบบ สินเชื่อโครงข่ายธนกิจ(Supplier Finance) ไปใช้จนประสบผลสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าธนาคารมีความเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดได้เป็นอย่างดี”
ธนาคารดอยช์แบงก์ได้รับเลือกให้เป็น “ธนาคารด้านการค้าระหว่างประเทศที่ดีที่สุดในประเทศไทย (Best International Trade Bank in Thailand) จากการประกาศรางวัลดีเด่นของนิตยสาร เทรด ไฟแนนซ์ (Awards for Excellence) ในปี พ.ศ. 2551 และ 2553
ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารดอยซ์แบงก์
ธนาคารดอยซ์แบงก์เป็นธนาคารชั้นนำในด้านวาณิชธนกิจ มีฐานลูกค้าครอบคลุมกลุ่มลูกค้าคหบดีธนกิจส่วนบุคคลที่มีทั้งความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไร นอกจากเป็นธนาคารชั้นนำของเยอรมันและประเทศในแถบยุโรปแล้ว ธนาคารมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดอเมริกาเหนือ เอเชีย และกลุ่มประเทศตลาดใหม่ (emerging markets) ธนาคารมีพนักงาน 100,000 คน ใน 74 ประเทศทั่วโลกที่ให้บริการด้านการเงินอย่างยอดเยี่ยม ธนาคาร ฯ มีความตั้งใจที่จะเป็นธนาคารชั้นนำของโลกในการให้บริการด้านการเงินกับลูกค้าที่ความต้องการทางการเงินที่ดีที่สุด เพื่อสร้างมูลค่าผลตอบแทนอันเป็นที่ยอมรับให้แก่ผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไป
www.db.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
รุ่งนภา ชาญวิเศษ / ต้องหทัย สุดดี
เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
โทร. 0-2343-6061, 0-2343-6174
อีเมล์ [email protected], [email protected]