ความร่วมมือระหว่างฟิลิปส์และสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก
บริษัทรอยัลฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ ได้ตกลงร่วมเป็นพันธมิตรกับสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก ในฐานะผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในโครงการวันนอนหลับโลกประจำปี 2554 (World Sleep Day 2011) ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคมนี้ทั่วโลก การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของฟิลิปส์ในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของฟิลิปส์ที่ต้องการให้ทั่วโลกตระหนักถึงผลกระทบของการนอนหลับที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
ฟิลิปส์ผู้ส่งเสริมส่งเสริมการนอนหลับอย่างถูกสุขลักษณะ
ในฐานะผู้นำในธุรกิจเพื่อพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ฟิลิปส์ตระหนักดีถึงความสำคัญของการนอนหลับสนิทเป็นอย่างยิ่ง เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอจะมีส่วนสำคัญต่อการรักษาสุขภาพทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย เพราะการนอนหลับที่เพียงพอจะมีผลต่อกระบวนการทำงานของร่างกายมนุษย์ทั้งในตอนที่ร่างกายทำงานและหยุดพักผ่อน ในขณะเดียวกันการนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเรา แม้ว่าจะเป็นการทำงานเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม อย่างไรก็ตามปัจจุบันมนุษย์กำลังประสบปัญหาการนอนหลับทั้งในแง่ระยะเวลาการนอนที่ไม่เพียงพอและการนอนหลับไม่สนิท ดังนั้น ฟิลิปส์จึงมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สรรสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยจัดการปัญหาการนอนหลับ
และนวัตกรรมเหล่านั้นจะถูกคิดค้นขึ้นจากการเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก
ภารกิจหลักของสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก คือการพัฒนาสุขลักษณะการนอนหลับที่ดีให้กับประชาชนทั่วโลก และเพื่อทำให้เป้าหมายขององค์กรเป็นจริงทางสมาคมจะใช้วิธีการเผยแพร่และกระตุ้นการศึกษา ,ค้นคว้า วิจัย และการให้ความใส่ใจดูแลกระจายไปสู่ทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่การแพทย์ด้านการนอนหลับไม่ได้รับการพัฒนามากนัก สมาคมการแพทย์เพื่อคุณภาพการนอนหลับโลกปรารถนาที่จะสะพานเชื่อมโยงปัญหาความแตกต่างในเรื่องการนอนหลับของแต่ละสังคมและวัฒนธรรมเพื่อนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาและการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ด้านการนอนหลับ ทางสมาคมการแพทย์เพื่อคุณภาพการนอนหลับโลกต้องการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศด้วยมาตรฐานระดับสากลในเรื่องการแพทย์เพื่อการนอนหลับ
โครงการ “ฟิลิปส์รักษ์โรงเรียน รักษ์โลก” (SimplyHealthy@SchoolS)
( www.sleepeducation.net.au).โครงการ “ฟิลิปส์รักษ์โรงเรียน รักษ์โลก” เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนของฟิลิปส์ ที่ได้ดำเนินงานทั่วโลก เพื่อพัฒนาสุขภาพเด็กนักเรียนทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น โดยพนักงานฟิลิปส์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมนี้เพื่อนำเสนอวิธีการและเคล็ดลับง่ายที่เด็กๆ สามารถพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้ดียิ่งขึ้น โดยเน้นให้เด็กๆให้ความใส่ใจเป็นพิเศษต่อ อากาศหายใจ แสงสว่าง น้ำ สุขอนามัยของช่องปาก การออกกำลังกายและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เรายังปรับปรุงระบบแสงสว่างใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานให้กับโรงเรียนที่เราได้เข้าไปร่วมทำกิจกรรมอีกด้วย สำหรับงานวันนอนหลับโลกประจำปี 2554 นี้จะยังมีการเปิดตัวหลักสูตรการศึกษาในหัวข้อของการนอนหลับ ทั้งนี้หลักสูตรได้รับการพัฒนาความร่วมมือกับผู้นำด้านการวิจัยชาวออสเตรเลียในโปรแกรมการศึกษาการนอนหลับและ ดร.ซาร่าห์ บลันเดน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการนอนหลับประเทศออสเตรเลีย
ภายใต้โครงการ “ฟิลิปส์รักษ์โรงเรียน รักษ์โลก” นี้ ฟิลิปส์ได้จัดกิจกรรมที่เรียกว่า Healthy Heroes เพื่อให้เด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีอายุระหว่าง 8-12ปี ให้ได้เห็นวิธีการอย่างง่ายๆในการทำให้ตนเองมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เด็กๆเหล่านี้เติบโตขึ้นเป็นบุคคลที่มีทั้งสุขภาพจิตใจและสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นในอนาคต
ในปี 2553 ฟิลิปส์ได้ดำเนินกิจกรรมนี้ใน 38 ประเทศ โดยมีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ประมาณ 63,000 คน ในจำนวนโรงเรียนมากกว่า 660 แห่ง และมีพนักงานฟิลิปส์เข้าร่วมกิจกรรมนี้มากกว่า 3,500 คนจากทั่วโลก ทั้งนี้ โครงการ “ฟิลิปส์รักษ์โรงเรียน รักษ์โลก” จะเปิดตัวเว็ปไซต์ www.simplyhealthyatschools.com
ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคมนี้เป็นต้นไป
นวัตกรรมในการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ
ปัจจุบันผู้บริโภคยังขาดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพเมื่อร่างกายได้รับการฟื้นฟูระหว่างการนอนหลับ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอตามพื้นฐานทั่วไปจะก่อให้ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวและโรคเรื้อรังตามมา ทั้งโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตัน เบาหวาน และโรคอ้วน จากผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนที่มีพฤติกรรมนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน จะมีดัชนีมวลกายสูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือเป็นโรคอ้วน ทั้งนี้ความผิดปกติของกระบวนการนอนเป็นเหตุผลหนึ่งที่รบกวนช่วงเวลาการนอนหลับที่ร่างกายควรจะได้รับการพักผ่อน ซึ่งบริษัทฟิลิปส์ร่วมทำงานกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง เพื่อการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมและจะนำไปสู่การวินิจฉัยและการบำบัดรักษาโรคให้กับผู้ป่วยที่ประสบปัญหานี้
ผลการศึกษาตามโครงการ ดัชนีบ่งชี้ความมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยบริษัทฟิลิปส์
ดัชนีบ่งชี้ความมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบริษัทฟิลิปส์ เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างถึง 31,000 คน ใน 23 ประเทศทั่วโลก โดยหัวข้อหนึ่งของการศึกษา เน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกนอนหลับไม่เพียงพอและมีผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของพวกเขา และเกือบครึ่งของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าตัวเองเป็นคนนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพเมื่อเทียบกับคนทั่วไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าคนจำนวนมากจะรู้สึกเหนื่อยล้าเพราะไม่ได้รับการนอนหลับที่ดีในตอนกลางคืน
ข้อมูลสำคัญ
? 60 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่าง ระบุว่า พวกเขาได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ (ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ไม่รู้ตัวว่ากำลังนอนหลับอย่างมีคุณภาพหรือไม่)
? เหตุผลหลักของผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอเป็นเพราะเข้านอนดึกแต่ต้องตื่นแต่เช้า
? กลุ่มตัวอย่างเพศชายรู้สึกว่าตัวเองนอนหลับเพียงพอในแต่ละคืนเมื่อเปรียบเทียบกับเพศหญิง
? ในกลุ่มตัวอย่างมีเพียงไม่กี่คนที่บอกว่า การหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นเหตุผลที่ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ แต่จากการศึกษาพบว่าเพศชายจะมีปัญหาการหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่าเพศหญิง และในเกือบทุกประเทศเพศชายจะประสบปัญหาดังกล่าวมากกว่าเพศหญิงสองหรือสามเท่า
? เหตุผลสำคัญที่ทำให้เพศหญิงนอนหลับไม่เพียงพอ มาจากความกังวลและความเครียดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต
? ในการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ได้แก่สุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ซึ่งพบในกลุ่มตัวอย่างใน 10 ประเทศที่ได้ทำการศึกษา และตามมาด้วยปัญหาสุขภาพจิตใจ
ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
? ชาวอเมริกันในวัยผู้ใหญ่มากกว่า 20 ล้านคน ประสบปัญหาภาวะการหยุดภายใจขณะนอนหลับ (ข้อมูลจาก National Sleep Foundation)
? ผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน โดยความผิดปกติของทางเดินหายใจอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การมีลิ้นขนาดใหญ่ หรือ มีเนื้อเยื่อพิเศษหรือกล้ามเนื้อบางส่วนปิดกั้นทางเดินลมหายใจ
? ระยะเวลาการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับสามารถเกิดขึ้นในแต่ละครั้งตั้งแต่ 10 วินาทีขึ้นไปจนถึง มากกว่า 1 นาที ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนท์ในแต่ละช่วงที่ร่างกายหยุดหายใจ ที่สำคัญไปกว่านั้น ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ 5 ครั้ง จนถึง 100 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นภายในช่วงเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งจะส่งผลเพิ่มความเครียดให้กับหัวใจและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้อีกมากมาย (U.S. Dept. of Health & Human Services, NIH, 2009)
ลักษณะอาการ
? กรนเสียงดังและรุนแรง โดยมีลักษณะอาการหอบหรือหายใจไม่ออกขณะนอนหลับ
? ง่วงนอนมากในช่วงเวลากลางวัน
? ปวดหัวในตอนเช้า มีปัญหาด้านความจำหรือการเรียนรู้
? มีอาการฉุนเฉียวง่ายและไม่สามารถควบคุมสมาธิในการทำงานได้
? อารมณ์ขึ้นๆลง หรือมีบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอาจมีความรู้สึกเศร้าสร้อย คอแห้งหลังจากตื่นนอนและถ่ายปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
* ข้อมูลเหล่านี้มาจากการวิเคราะห์ส่วยย่อยของดัชนีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยบริษัทฟิลิปส์ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 14,000 คน จาก 10 ประเทศ
? หากไม่ได้รับการดูแลรักษา โรคการหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะสามารถส่งผลและเพิ่มเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจวาย เส้นเลือดอุดตัน โรคอ้วน และเบาหวาน นอกจากนี้ยังไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ทำให้หัวใจล้มเหลว และยังมีผลกระทบต่อการทำงานตลอดจนโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่รถยนต์ (U.S. Dept. of Health & Human Services, NIH, 2009)
ใครคือผู้เข้าข่ายเสี่ยง?
? ทุกๆคนที่มีโอกาสเป็นโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งสามรถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย เพศหญิง และเด็กในทุกช่วงอายุ อย่างไรก็ตามจะพบได้มากในเพศชายและคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
? โดยปกติผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับจะไม่รู้ว่าตัวเองหยุดหายใจในตอนกลางคืน และอีกกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับไม่ได้รับการตรวจ
? ประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศอมริกามากกว่า 12 ล้านคน มีภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ แต่เข้าใจว่าตนเองเป็นโรคหอบหืดทั่วไป (U.S. Dept. of Health & Human Services, NIH, 2009)
? มากกว่า 1 ใน 25 ของชายวัยกลางคน และ 1 ใน 50 ของหญิงวัยกลางคน เป็นโรคภาวะหยุดภายใจขณะนอนหลับ และประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ของเด็ก และประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้นของคนที่มีอายุ 65 ปี ประสบปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน
? ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบมากในชาวอาฟริกัน อเมริกัน เอเชีย คนพื้นเมืองในอเมริกา และสเปน มากกว่าคนผิวขาวคอเคเชียน (ยุโรป)
ภาวะการหยุดหายใจในเด็ก
? ไม่ควรละเลยเมื่อเด็กนอนกรน เพราะอาจเป็นอาการของโรคการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
? หากเด็กนอนกรนตลอดเวลา เด็กๆเหล่านั้นจะทุกข์ทรมานจากผลข้างเคียงที่อาจทำให้เด็กไม่มีสมาธิ ซุกซนผิดปกติ และระดับไอคิวลดลง
การวินิจฉัย
? ปรึกษาแพทย์ถึงความผิดปกติในการนอนหลับรวมทั้งอาการต่างๆ ซึ่งหากพบว่าการนอนหลับเข้าข่ายน่าสงสัยแพทย์จะส่งตัวคนไข้ไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหา
? เราได้ดำเนินการศึกษาเพื่อวินิจฉัยโรคโดยสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับข้ามคืน ผ่านเครื่องมือตรวจการนอนหลับ(Polysomnogram:PSG) ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยได้ถึงระดับความรุนแรงของการนอนที่ไม่ปกติและหาวิธีรักษาที่เหมาะสม การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการหยุดหายใจชั่วคราว จะส่งผลถึงการนอนหลับ และยังมีผลให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือด
? การศึกษาพฤติกรรมการนอนหลับสามารถทำได้ทั้งที่บ้านและในห้องตรวจ ปัจจุบันการตรวจศึกษาพฤติกรรมที่บ้านได้รับการอนุญาตเพื่อจำแนกภาวะการเป็นโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ
? ถ้าคุณคิดว่าตนเองกำลังได้รับความเจ็บปวดจากโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ สามารถทำแบบทดสอบการนอนหลับของตัวเองได้ทางออนไลน์ผ่านเวปไซท์www.philips.com/sleepapnoea
การบำบัดรักษา
? วิธีการรักษาอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ใช้กันมากที่สุดคือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Continuous Positive Airway Pressure หรือ CPAP
? การบำบัดด้วย CPAP จะใช้วิธีการปล่อยอากาศผ่านทางจมูก โดยผู้ป่วยจะสวมหน้ากากของเครื่อง CPAP
? แรงดันของอากาศจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการปิดกั้นของทางเดินอากาศ โดยผู้ป่วยจะสามารถหายใจได้อย่างสะดวกตลอดช่วงเวลาการนอนหลับ
? การบำบัดด้วย CPAP เป็นการรักษาที่ไม่ต้องใส่อวัยวะเทียมเพิ่มเข้าไปในร่างกาย เช่น ท่อหลอดลมคอ หรือ ท่อเจาะคอ แต่หากสามารถช่วยบรรเทาอาการโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับได้เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์
? ฟิลิปส์ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า CPAP System One และ EasyLife mask ซึ่งเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “FLEX” นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับความชื้นและตัวหน้ากากครอบจมูกยังถูกคิดค้นขึ้นมาให้มีครอบได้เรียบสนิทกับผิวหน้าเป็นพิเศษด้วยเทคโนโลยี AutoSeal ที่มีเพียงหนึ่งเดียว ทั้งนี้โปรแกรมซอฟต์แวร์ Encore Pro ของบริษัทฟิลิปส์ยังได้พัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยไว้ให้กับแพทย์ได้นำมาใช้ในการทบทวน ประเมิน คิดค้นทางบำบัดรักษาตามความจำเป็น
? ในกรณีของเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับที่รุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยเครื่อง CPAP และหน้ากากและที่ครอบศีรษะ Respironics Small Child Profile Lite CPAP
ทางเลือกในการรักษายังครอบคลุมไปถึง
? การผ่าตัด
? การเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรม
ประโยชน์ของการบำบัดรักษาอย่างสม่ำเสมอ
? ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
? ประโยชน์อื่นๆจากการใช้เครื่อง CPAP เป็นประจำในทุกคืน
? ช่วยเพิ่มพลังงานและความกระตือรือร้นในช่วงระหว่างวัน
? ช่วยลดความดันโลหิต
? ลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและหัวใจวาย
? ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
? ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? American Sleep Apnea Association (www.sleepapnea.org)
? National Center on Sleep Disorders Research (www.nhlbi.nih.gov/about/ncsdr/index.htm)
? National Institutes of Health (U.S. Department of Health and Human Resources) (www.nhlbi.nih.gov/health/dci/Diseases/SleepApnea/SleepApnea_WhatIs.html)
? National Sleep Foundation (www.sleepfoundation.org)
? Australian Centre for Education in Sleep (ACES) (www.sleepeducation.net.au)