รมช. ศธ. เผยรัฐบาลไฟเขียวปรับกลยุทธ์ทุนพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จันทร์ ๒๑ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๐๔
นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ระยะหลังมีผู้สนใจเข้ารับทุนวิทยาศาสตร์ ลดลง และขาดแรงจูงใจในการเลือกอาชีพเป็นนักวิจัย ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรที่สนใจเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศสูงขึ้น ตนจึงได้ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการปรับแผนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ซึ่งผ่านการอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ประกอบด้วย

1. การปรับมูลค่าทุนการศึกษาในประเทศ ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และอนุมัติในหลักการให้ปรับมูลค่าทุนการศึกษา ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้โดยอัตโนมัติ กรณีที่สำนักงาน ก.พ. ปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนใหม่

2. การปรับค่าใช้จ่ายสนับสนุนการจัดการศึกษานักเรียนทุน พสวท. ในประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของศูนย์โรงเรียนและศูนย์มหาวิทยาลัย การจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อใช้สำหรับโครงงานวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์โรงเรียน ค่าใช้จ่ายสนับสนุนทุนวิจัยสำหรับบัณฑิต พสวท. แรกบรรจุ

3. การปรับจำนวนทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เป็น 180 ทุน เพื่อให้การสร้างกำลังคนในอนาคตของชาติ (ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) ที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และลดปัญหาการขาดแคลนกำลังคนฯ คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากปีละ 130 ทุน เป็น ปีละ 180 ทุน โดยจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในประเทศ 135 ทุน และทุนการศึกษาต่างประเทศ 45 ทุน

4. อนุมัติการเพิ่มจำนวนศูนย์โรงเรียนและศูนย์มหาวิทยาลัย เป็น 20 ศูนย์ อนุมัติการปรับเพิ่มจำนวนศูนย์โรงเรียนจาก 7 ศูนย์ เป็น 10 ศูนย์ และเพิ่มศูนย์มหาวิทยาลัยจาก 7 ศูนย์ เป็น 10 ศูนย์ รวมเป็น 20 เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนไทยให้ทั่วถึงในภูมิภาคต่างๆ และเพื่อช่วยให้ผู้รับทุน พสวท. ไม่ต้องจากบิดามารดาและผู้ปกครองไปศึกษาในสถานศึกษาที่อยู่ไกลจากภูมิลำเนาเดิม ศูนย์ฯ ที่เพิ่มขึ้นจะกระจายอยู่ในภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ภาคละ 1 ศูนย์

นอกจากนั้น ยังได้มีการปรับกลยุทธ์ทุนผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนเองได้ผลักดันให้ ครม อนุมัติการปรับแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2555 — 2560) โดยทุนการศึกษายังคงมีเท่าเดิม ปีละ 580 ทุน แต่ปรับเปลี่ยนทุนแบ่งออกเป็น 2ประเภท ได้แก่ ทุนประเภทที่ 1 Premium จำนวนปีละ 400 ทุน เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโททางการศึกษาหรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างครูเพื่อสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นลำดับแรก

ทุนประเภทที่ 2 Super Premium จำนวนปีละ 180 ทุน เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโททางการศึกษาหรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างครูสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ

“การปรับรูปแบบของโครงการ สควค. นอกจากปรับเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภาแล้ว ยังคำนึงถึงความต้องการของโรงเรียน โดยเฉพาะสังกัด สพฐ. ที่เปิดสอนห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก นอกจากนั้น สพฐ. ยังได้จัดให้มีกลุ่มโรงเรียนมาตรฐานสากล และกลุ่มโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอน (EP Program) เพิ่มขึ้น ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในกลุ่มโรงเรียนเหล่านี้ นอกจากต้องมีพื้นฐานทางวิชาการดีเยี่ยม มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และมีความเป็นครูดีเยี่ยมแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย โดยปรับรูปแบบการผลิตครูจากเดิม เป็น การให้ทุนการศึกษาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) เพื่อศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโททางการศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. และจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ของคุรุสภาโดยอัตโนมัติ” รมช. ไชยยศ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ