ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่นในวันนี้ ประกาศ ผลสำรวจเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือ SMB ในปี 2011 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งวัดจากทัศนคติและข้อปฏิบัติของกลุ่มธุรกิจ SMB และลูกค้าของกลุ่มเหล่านี้ เกี่ยวกับความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ ผลการศึกษาพบว่า แม้กลุ่มธุรกิจ SMB จะมีความเสี่ยง ส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมเรื่องของการรับมือภัยพิบัติเป็นเรื่องแรกๆ จนกว่าจะเจอปัญหาเรื่องความเสียหายหรือข้อมูลสูญหาย โดยข้อมูลยังระบุว่า ต้นทุนในการไม่เตรียมการในเรื่องนี้ค่อนข้างสูง อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการล้มเหลวทางธุรกิจ ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ การปล่อยให้เกิดดาวน์ไทม์ไม่เพียงสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาลแต่ยังทำให้เสียลูกค้าได้
“ความเสียหายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอาจเกิดจากภัยธรรมชาติ ความผิดพลาดโดยมนุษย์ หรืออาจเกิดจาก ความล้มเหลวของระบบไอที กลุ่มธุรกิจ SMB ที่ดูแลข้อมูลที่มีความสำคัญ อย่างเช่น รายชื่อลูกค้า รายละเอียดของเครดิตการ์ด หรือไฟล์ส่วนตัว ไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงของความผิดพลาดหากเกิดข้อมูลสูญหายได้” จากคำกล่าวของ มร เดวิด เซียนซิออล รองประธานด้าน SMB และช่องทางจัดจำหน่าย ของไซแมนเทค ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น กล่าวพร้อมเสริมว่า “จากผลการวิจัย SMB ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบอันยิ่งใหญ่จากภัยพิบัติ การวางแผนง่ายๆ ช่วยให้ SMB ปกป้องข้อมูลเมื่อเกิดหายนะ และยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของบริษัทด้วย”
แม้มีการเตือน แต่SMBก็ยังไม่มีการเตรียมตัว
ผลการสำรวจ พบว่า บริษัทSMBส่วนใหญ่ (52 เปอร์เซ็นต์) ไม่ได้มีแผนการณ์ในการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติ กลุ่มSMB 38 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับทางบริษัทจึงไม่มีการเตรียมความพร้อม ส่วนอีก 28 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่า เรื่องของการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องแรกที่ให้ความสำคัญ การขาดการเตรียมตัวทำให้เกิดสิ่งที่น่าตกใจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อย่างเช่น โดยSMBแบบทั่วไป พบข้อผิดพลาด 5 อย่าง โดยที่สำคัญคือ การถูกโจมตีทางไซเบอร์ การขาดแคลนพลังงาน ความผิดพลาดในการอัพเกรด หรือความผิดพลาดจากพนักงาน
ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงข้อมูลข่าวสารที่ขับเคลื่อนSMB ไม่ได้รับการปกป้อง โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของSMB ได้มีการสำรองข้อมูลในทุกสัปดาห์ หรือบ่อยครั้งมากขึ้น มีเพียง 21 เปอร์เซ็นต์ ที่มีการสำรองรายวัน ผู้ตอบแบบสอบถาม ยังคงรายงานว่า ภัยพิบัติยังทำให้เกิดความสูญเสียข้อมูล ในความเป็นจริงแล้ว ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของSMB จะสูญเสียอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ หากเกิดภัยพิบัติ
จากการสำรวจพบว่า ครึ่งหนึ่งของSMB ได้มีการเตรียมแผนการรับมือภัยพิบัติ หลังจากมีประสบการณ์ด้านความผิดพลาด หรือ ข้อมูลสูญหาย กลุ่มSMB 54 เปอร์เซ็นต์ ได้มีการรวมแผนเข้าด้วยกันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มีเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ มีการทดสอบแผนการฟื้นฟูซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเตรียมการรับมือ
ภัยพิบัติสามารถส่งผลกระทบด้านการเงินอย่างมากสำหรับกลุ่มSMB ต้นทุนกลางของดาวน์ไทม์ ของSMB อยู่ที่ประมาณ 14,500 เหรียญสหรัฐต่อวัน ความเสียหายส่งผลให้สูญเสียลูกค้า โดย 59 เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นลูกค้าของSMB ตัดสินใจเปลี่ยนกลุ่มบริษัทจากการที่ระบบคอมพิวเตอร์ไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบผลการสำรวจในปีที่แล้ว โดยลูกค้าSMB 52 เปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจได้กระบุว่า บริษัทเวนเดอร์ เกิดระบบล่มชั่วคราวในช่วงที่มีภัยพิบัติ
ลูกค้าSMB ยังได้มีรายงานถึงเรื่องของผลกระทบต่อธุรกิจ เมื่อSMBประสบปัญหาดาวน์ไทม์ ทำให้ลูกค้าสูญเสียรายได้ประมาณ 45,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนั้น ยังส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินโดยตรง โดย 24 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าSMB ได้สูญเสีย ข้อมูลสำคัญ “บางส่วน” หรือ “ส่วนใหญ่” ซึ่งเป็นผลจากภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบต่อSMBเวนเดอร์
ข้อแนะนำ
ผลการสำรวจระบุว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ของSMB ตั้งใจที่จะเตรียมแผนในการรับมือภัยพิบัติในอนาคต ไซแมนเทคได้มีการเสนอคำแนะนำดังต่อไปนี้
- อย่ารอให้สายเกินไป เป็นเรื่องสำคัญสำหรับSMB ที่ไม่ควรรอจนกระทั่งเกิดภัยพิบัติ ในการเตรียมการว่าจะทำอะไร ในการปกป้องข้อมูล ดาวน์ไทม์มีต้นทุนสูง เจ้าของธุรกิจต้องเริ่มกำหนดแผนการรับมือในวันนี้ โดยแผนควรรวมการแบ่งแยกระบบและข้อมูลที่สำคัญ ต่อการดำเนินธุรกิจ
- ปกป้องข้อมูลทั้งหมด ในการลดความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลที่สำคัญทางธุรกิจ SMBต้องติดตั้งโซลูชั่นระบบรักษาความปลอดภัยและสำรองข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อสำรองข้อมูลและเก็บรักษาไฟล์ที่สำคัญไว้ ทั้งนี้ ภัยธรรมชาติ การขาดแคลนพลังงาน รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ ล้วนแล้วแต่สามารถสร้างความเสียหายให้ข้อมูลและการเงิน ดังนั้น SMB ต้องมั่นใจว่าไฟล์สำคัญได้รับการเก็บรักษาอย่างปลอดภัยไม่เฉพาะในส่วนฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกแต่ยังรวมถึงเครือข่ายของบริษัท แต่ต้องอยู่ในสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ปลอดภัย
- ให้พนักงานมีส่วนร่วม พนักงานในองค์กรSMB มีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ดาวน์ไทม์ และสามารถที่จะสร้างความเข้าใจในเรื่องแนวทางปฏิบัติระบบรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ และควรทำอย่างไร หากข้อมูลถูกลบโดยไม่ตั้งใจหรือไม่พบในไฟล์ เนื่องจากSMBมีทรัพยากรน้อย พนักงานทั้งหมดควรรู้ว่าจะเรียกข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติ
- ทดสอบอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เจอกับภัยพิบัติจะเป็นช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของทีมในการเรียนรู้ว่า ไฟล์ที่สำคัญไม่ได้มีการทำสำรองตามแผนที่กำหนดไว้ การทดสอบการเรียกคืนหลังภัยพิบัติอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องจำเป็น ทดสอบแผนของคุณเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัว
- ทบทวนแผนของคุณ หากการทดสอบไม่สามารถทำได้บ่อยครั้ง ด้วยเหตุผลด้านทรัพยากรและแบนด์วิธ SMB ควรจะมีการทบทวนแผนการรับมือภัยพิบัติอย่างน้อยไตรมาสละครั้ง
ผลสำรวจแผนการรับมือภัยพิบัติ SMBของ ไซแมนเทค
ผลสำรวจแผนการรับมือภัยพิบัติSMBของ ไซแมนเทค เป็นผลการสำรวจที่ดำเนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 โดย บริษัท Applied Research ที่สำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ที่รับผิดชอบในเรื่องคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และทรัพยากรเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก รายงานได้รับการออกแบบเพื่อวัดผลกระทบและขั้นตอนของความพร้อมในการกู้คืนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ ผลการศึกษาที่มีผู้ตอบแบบสอบถาม 1840 คน จาก 23 ประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา, เอเชีย แปซฟิก และละตินอเมริกา โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย แปซิฟิก ที่มีขนาดองค์กรที่มีพนักงาน ตั้งแต่ 5-499 คน
เกี่ยวกับ ไซแมนเทค
ไซแมนเทค เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเพื่อความปลอดภัย ระบบจัดเก็บข้อมูล และการบริหารระบบ เพื่อช่วยให้ลูกค้าและองค์กรต่างๆ ได้รับความปลอดภัย และสามารถรับมือกับโลกในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม ซอฟต์แวร์และบริการของเราช่วยปกป้องจากความเสี่ยงในด้านต่างๆ ให้ความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากกว่า ช่วยเพิ่มความมั่นใจเมื่อต้องจัดเก็บหรือเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.symantec.com
สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
คุณมงคล จุลโยธิน 02-655-6633 [email protected]
คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633 [email protected]