ค่าแรงสูงขึ้นก่อให้เกิดความกังวลต่อเงินเฟ้อในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่

พฤหัส ๒๔ มีนาคม ๒๐๑๑ ๐๙:๒๐
กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งได้แก่ ละตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจ่ายค่าแรงพนักงานในอัตราที่สูงขึ้นในปีนี้ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ The Grant Thornton International Business Report (IBR) ล่าสุด

ส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลการสำรวจคือการสอบถามธุรกิจเอกชน (Privately Held Business) จำนวน 5,700 บริษัทจาก 39 กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลกถึงอัตราการเพิ่มค่าแรงในปี 2011 (หากว่าบริษัทมีการวางแผนไว้) โดย 23% ของเจ้าของกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (25% ในประเทศไทย) วางแผนเพิ่มค่าจ้างให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และ 17% ของเจ้าของกิจการในละตินอเมริกาก็มีแผนการเช่นเดียวกัน

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ลูกจ้างที่ประสงค์จะได้รับค่าแรงสูงขึ้นควรหันมามองประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือละตินอเมริกา ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับการขึ้นค่าแรงให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ อันอาจมีสาเหตุมาจากตลาดแรงงานที่มีอยู่จำกัด โดยแรงงานที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ไม่มากนักแต่เป็นที่ต้องการอย่างมากในประเทศเหล่านี้ ดังนั้น สำหรับผู้จ้างงานแล้ว แรงงานที่มีฝีมือจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง เห็นได้จากการวางแผนขึ้นค่าแรงในอัตราที่สูงมาก”

“ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของภูมิภาคเหล่านี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเศรษฐกิจของบราซิลมีการเติบโตเกือบ 8% เมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนมาเลเซียและไทยขยายตัวราว 7% ทั้งนี้ เมื่อ GDP สูงขึ้น เจ้าของกิจการก็สามารถขึ้นค่าแรงให้แก่พนักงานได้”

“อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นที่น่าหวั่นเกรงสำหรับรัฐบาล เพราะการที่เจ้าของธุรกิจยังคงยินดีที่จะขึ้นค่าแรงครั้งใหญ่จะเพิ่มความกดดันต่อเศรษฐกิจของประเทศในขณะเดียวกัน เนื่องจากว่าอยู่ระหว่างการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของบราซิลเพิ่มขึ้นเป็น 5% เมื่อปีที่แล้ว, อาร์เจนตินาเป็น 10.5%, และสิงคโปร์มีการดีดตัวขึ้นจาก -0.5% เป็น 4.6% ดังนั้น รัฐบาลในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องแน่ใจว่าจะไม่ตกอยู่ในวงจรของปัญหาราคาสินค้าและค่าแรงที่สูงขึ้น”

ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน เผยว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้ว มีเพียง 11% ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรและเจ้าของกิจการชาวยุโรปที่วางแผนขึ้นค่าจ้างให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี มีเพียงหนึ่งในห้าโดยประมาณ (18%) ของเจ้าของกิจการในอเมริกาเหนือที่วางแผนดังกล่าวไว้

การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือยังคงเป็นปัญหาในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่

รายงานดังกล่าวยังเปิดเผยว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับภูมิภาคแล้ว มีจำนวน 42% (เพิ่มสูงขึ้น 17% จากปีที่แล้ว) ของธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) เชื่อว่าการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือจะเป็นข้อจำกัดของธุรกิจในการขยายตัวในปีนี้ และเป็นข้อจำกัดที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดต่อการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ส่วนในละตินอเมริกาก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดย 43% (เพิ่มสูงขึ้น 20% จากปีที่แล้ว) ของธุรกิจระบุว่าการขาดแคลนแรงงานฝีมือเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของกิจการ

เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายประเทศ เจ้าของธุรกิจในอินเดีย (51%) และบราซิล (49%) มีความกังวลว่าการขาดแคลนแรงงานฝีมือจะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของธุรกิจในปีนี้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในจีน (40%), ไทย (46%) และแอฟริกาใต้ (37%) เช่นเดียวกัน

เอียน แพสโค กล่าวเสริมว่า “การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือจะส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ รวมถึงในประเทศไทยด้วย ความต้องการแรงงานที่มีฝีมืออย่างยิ่งยวดนั้นส่งผลต่อการขึ้นค่าจ้าง และส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และอาจทำให้ความสามารถในการแข่งขันธุรกิจลดลง”

“ข้อจำกัดในเรื่องแรงงานดังกล่าวเป็นสาเหตุให้เกิดการว่าจ้างแรงงานทั้งที่มีฝีมือและด้อยฝีมือจากต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยมีการใช้แรงงานชาวพม่าเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาระยะยาว รัฐบาลจะต้องเน้นแก้ปัญหาด้านการศึกษา ต้องให้การอบรมทักษะฝีมือแก่ประชากรเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ

หมายเหตุ

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) นำเสนอทัศนคติและความคาดหวังของกว่า 11,000 ธุรกิจจาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแต่ละปี โดยเป็นการสำรวจที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการนำผลการสำรวจจากปีที่ผ่านๆ มามาจัดทำแนวโน้มข้อมูลซึ่งรวมถึง 19 ปีจากหลายประเทศในยุโรป และ 9 ปีจากหลายประเทศนอกเหนือทวีปยุโรป ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.internationalbusinessreport.com

การเก็บข้อมูล

การสำรวจนั้นจัดทำผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น (จัดทำผ่านทางไปรษณีย์), ฟิลิปปินส์และอาร์เมเนีย (จัดสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว), จีนและอินเดีย (ใช้ทั้งวิธีตัวต่อตัวและทางโทรศัพท์) เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงผู้ร่วมการสำรวจ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ช่วยให้แกรนท์ ธอร์นตัน สามารถจัดทำการสัมภาษณ์ได้ตามจำนวนครั้งที่ตั้งไว้ และมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์การสำรวจที่กำหนดไว้

การเก็บข้อมูลนั้น บริหารจัดการโดยบริษัทวิจัยที่มีชื่อว่า Experian Business Strategies ซึ่งจัดทำการแปลแบบสอบถามเป็น ภาษาของแต่ละประเทศ โดยนอกเหนือจากคำถามหลักแล้ว แต่ละประเทศสามารถเพิ่มเติมคำถามที่สำคัญหรือเจาะจงเกี่ยวกับประเทศตนเองได้ และจากปี 2011 เป็นต้นไป จะมีการเก็บข้อมูลทุกไตรมาสซึ่งการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งจะใช้เวลาราว 1 เดือนครึ่ง

กลุ่มตัวอย่าง

IBR เป็นการสำรวจทัศนคติของธุรกิจเอกชนที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ จำนวนกว่า 2,700 รายในแต่ละไตรมาส และกว่า 11,000 รายในแต่ละปี รายงานผลการสำรวจที่กล่าวมาข้างต้นในเนื้อข่าวประกอบด้วย:

? ข้อมูลและตัวเลขที่ได้จากการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 และ

? ค่าเฉลี่ยของไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2011 รวมกัน

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารในระดับประธานกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธาน และผู้บริหารอาวุโส (ชื่อตำแหน่งนั้นอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ) จาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (25%), การบริการ (25%), ค้าปลีก (15%) และการก่อสร้าง (10%) โดยอีก 25% เป็นการสำรวจในอุตสาหกรรมอื่นๆ

กลุ่มตัวอย่างในทุกประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา แต่ในบางประเทศก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปโดยมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทั้งนี้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างต้องมีมากเพียงพอด้วย

เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย

แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจ รวมถึงดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าขยายธุรกิจผ่านการควบรวมและมองหาโอกาสในการขยายกิจการ ทั้งนี้ การให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ครอบคลุมถึง การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การตรวจสอบบัญชีทั้งภายในและภายนอกองค์กร การให้คำปรึกษาทางภาษีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างองค์กร การควบรวมกิจการ งานด้านกฏหมายและการสืบสวน การบริหารความเสี่ยง การประเมินราคาทรัพย์สินสุทธิทางการเงินและภาษีก่อนที่จะทำการซื้อขายกิจการ ความช่วยเหลือด้านการโอนเงิน การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ การแนะกลยุทธ์ให้บริษัทในการออกจากธุรกิจเพื่อถอนทุนคืน การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร การเตรียมการเพื่อถ่ายโอนกิจการ และการพิจารณาผลตอบแทน ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กรุณาค้นหาที่เว็บไซต์ www.grantthornton.co.th

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อ

เอียนแพสโค ลักษณ์พิไล วรทรัพย์

กรรมการบริหาร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร

แกรนท์ ธอร์นตัน แกรนท์ ธอร์นตัน

โทร: 02 205 8100 โทร: 02 205 8142

อีเมล์: [email protected] อีเมล์: [email protected]

?

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ