ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน

จันทร์ ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๐:๔๒
นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ผลการสำรวจ ประเมิน และแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนของประเทศไทย ใน กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ว่า ภายหลังจากกระทรวงฯ ได้ดำเนินกิจกรรมการประเมินผลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โดยการสำรวจ สอบถาม และสัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์ฯ ผู้ดูแลศูนย์ฯ และประชาชนผู้ใช้บริการ จำนวน 279 ศูนย์ ทำให้ทราบว่า ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนโดยส่วนใหญ่ประมาณ 90% สามารถดำเนินงานรวมทั้งบริหารจัดการได้ดี และผลสำรวจระดับความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนก็จัดอยู่ในเกณฑ์ดี เช่นกัน จะมีเพียงส่วนน้อยไม่ถึง 10% เท่านั้นที่ยังไม่สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนและสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในอนาคต

“กระทรวงฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการให้การสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ทั้งที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และศูนย์ฯ ที่ยังประสบปัญหา โดยในส่วนของศูนย์ฯ ที่สามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ กระทรวงฯ จะสนับสนุนให้มี การพัฒนาก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่ง คือ การบูรณาการศูนย์ฯ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน เช่น การสนับสนุนด้านเกษตรกรรม โดยให้ใช้เป็นช่องทางเช็คราคาสินค้าเกษตร การแลกเปลี่ยนซื้อขายผลิตภัณฑ์ (e-Agriculture) การสนับสนุนด้านการศึกษาทั้งในลักษณะ Online และ Offline (e-Education) รวมถึงการแจ้งเตือนภัยพิบัติต่าง ๆ (e-Warning) เป็นต้น โดยกระทรวงฯ จะร่วมประสานการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินโครงการต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

ในส่วนของศูนย์ฯ ที่ยังพบปัญหาการดำเนินงานและการบริหารจัดการในบางด้าน กระทรวงฯ จะร่วมคิด และพัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการศูนย์ฯ อย่างมีระบบ และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำหรับศูนย์ที่ประสบกับปัญหาจนไม่สามารถดำเนินการได้ กระทรวงฯ ก็จะพยายามค้นหาวิธีรวมถึงแนวทางในการสนับสนุนเพิ่มเติมให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การทำงาน การวางแผนในการสร้าง และขยายกลุ่มผู้ใช้บริการให้มากขึ้น เพื่อให้ศูนย์ฯ สามารถดำเนินงานได้ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากผู้ดูแลศูนย์ฯ และสมาชิกในชุมชน ที่จะช่วยกันวิเคราะห์ถึงความสำเร็จ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ว่ามาจากปัจจัยใด เพื่อร่วมมือกับกระทรวงฯ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ให้เกิดการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อสภาพการณ์ ปัญหา และความต้องการในชุมชนอย่างแท้จริง

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ผลการสำรวจ ประเมิน และแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนของประเทศไทยครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการร่วมกันแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ (ร่าง) ผลการสำรวจดังกล่าว โดยได้เชิญผู้ดูแลศูนย์ฯ ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 120 คนเข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้จากการประชุมฯ นี้ กระทรวงฯ จะนำมาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้ว และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 021416747 MICT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ