โบรกเกอร์เชียร์ SPPT หนี้ต่ำ-ปันผลสูง นักวิเคราะห์ให้ราคาเป้าหมาย SPPT 3.34 บาท แนะนำซื้อ รายได้โตต่อเนื่อง หนี้ต่ำ ปันผลสูง

จันทร์ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๕ ๐๙:๓๔
กรุงเทพฯ--14 ก.พ.--124 คอมมิวนิเคชั่นส์
จากการที่ บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SPPT ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีความเที่ยงตรงสูงในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ซึ่งมีบริษัท มินีแบไทย จำกัด (Minebea) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Minebea Group of Companies (Thailand) ผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ชั้นนำของโลก และเป็นลูกค้าหลักที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับบริษัทมาโดยตลอด ได้เปิดให้มีการจองหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทเป็นจำนวน 50 ล้านหุ้น คิดเป็น 20% ของหุ้นจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO เมื่อวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี และได้มีบทวิเคราะห์จากสถาบันการเงินออกมาประเมินราคาเหมาะสมของหุ้น SPPT ไว้ดังต่อไปนี้
บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก ในฐานะผู้ร่วมจัดจำหน่ายให้ราคาเหมาะสมอยู่ที่ 3.34 บาท เนื่องจากปกติหุ้นกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ ซื้อขายกันที่ระดับ P/E เฉลี่ย 8-10 เท่า เมื่อประเมินกำไรต่อหุ้นในปี 48 อยู่ที่ 0.38 บาทและใช้ค่า P/E ที่ 8.5 ราคาหุ้นที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 3.20 บาท และหากประเมินด้วยวิธีส่วนลดกระแสเงินสด (DCF) ที่อัตราคิดลด 15% จะได้มูลค่าหุ้นเหมาะสมที่ 3.34 บาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จากบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น SPPT ให้ความเห็นว่า หุ้น SPPT มีจุดแข็งที่การร่วมมือระหว่างลูกค้าและบริษัท ในการพัฒนาเทคนิคการผลิตร่วมกัน ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ในการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหญ่ เช่น มินีแบ ที่มียอดสั่งสินค้าสูงกว่า 70% ของรายได้รวมมีผลดีต่ออัตราเติบโตของรายได้ช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่ Gross Profit Margin อยู่ในระดับสม่ำเสมอที่ 28-30% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการปรับตัวในการผลิตสินค้าซึ่งคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
โดยเมื่อเปรียบเทียบจุดเด่นของ SPPT กับผู้ผลิตรายอื่นในหมวดอิเลคทรอนิคส์แล้ว SPPT มีอัตรากำไรอยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ผู้ผลิตรายอื่นมาก และบริษัทยังมีกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2548 นี้อีกเป็น 100 ล้านชิ้น นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตยังไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จากความผันผวนของตลาด ทั้งยังเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์รายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพมาตรฐานสากลอีกด้วย
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จากบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) เปิดเผยต่อว่า “รายได้ในปี 2548 คาดว่าจะเติบโตไปตามภาวะอุตสาหกรรมและตามการขยายกำลังการผลิต และ ผลิตภัณฑ์หลักยังคงเป็น Pivot และ Spindle Motor ทั้งนี้ บริษัทยังขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ คาดว่ารายได้หลักในปี 2548 และ 2549 จะเท่ากับ 391 และ 513 ล้านบาทตามลำดับ โดย Gross Profit Margin จะอยู่ในระดับคงที่สม่ำเสมอที่ 29-30%”
ส่วนนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญของ SPPT ด้วย เน้นการขยายการผลิต Pivot จาก 70 ล้านชิ้นในปี 2547 เป็น 100 ล้านชิ้นในปี 2548 จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 43% อีกทั้งบริษัทไม่มีภาระหนี้สิน ทำให้จ่ายเงินปันผลสูง เพราะการเติบโตของบริษัทในอดีตมาจากการใช้กระแสเงินสดภายใน โดยอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ก่อน IPO อยู่ที่ 0.48 เท่า และในการขยายกำลังการผลิตจะใช้เงินประมาณ 110 ล้านบาทจากการเพิ่มทุน IPO ทำให้ไม่มีภาระหนี้เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลให้บริษัทจ่ายเงินปันผลได้สูง
อนึ่ง บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีความเที่ยงตรงสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และอื่นๆ ทั้งนี้ชิ้นส่วนที่ผลิต ได้แก่ Pivot, Motor Base, Spindle Motor, FDB, HDD 1” และ Hub เป็นต้น โดยปัจจุบันมีโรงงานผลิตจำนวน 2 โรงงาน ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีกำลังการผลิตประมาณ 100 ล้านชิ้นต่อปี ในปี 2548
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
อินทิรา ใจอ่อนน้อม
ม.ล. ฉัตรามณี เกษมศรี
ศศิคนางค์ ศรีนวน
ดรรชนี นวลเขียว
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
02-662-2266--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ