การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธีการทำบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย โดย ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

พุธ ๓๐ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๒:๓๔
‘โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ’ เป็นสาเหตุสำคัญลำดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรโลก ขณะที่ในประเทศไทย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบนับเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตที่สูงที่สุด ในอัตราที่รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ

นพ. วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่า โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดตีบ เป็นผลจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือด โดยวงการแพทย์ทุกวันนี้ยังไม่สามารถทราบถึงสาเหตุการเกิดที่แท้จริง

“เราบอกได้แค่ว่า ปัจจัยเสี่ยงหลักมีความเกี่ยวพันกับประวัติการเป็นโรคในกลุ่มเบาหวาน หัวใจ ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิต ของคนในครอบครัว รวมถึงการสูบบุหรี่ โดยมีปัญหาเรื่องความอ้วน ความเครียด และการขาดการออกกำลังกาย เป็นส่วนในการหนุนปัจจัยหลักอีกต่อหนึ่ง

“ที่น่าสังเกตคือการตีบของหลอดเลือดไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่มีไขมันในเลือดสูง เราพบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจจะมียีนส์ผิดปกติบางอย่างที่เชื่อมโยงให้เกิดโรคขึ้น กรรมพันธุ์จึงอาจเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งมีส่วนกำหนดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคนแต่ละคน”

จากสถิติของกระทรวงสาธารณะสุข ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอันเป็นผลจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอยู่ที่ 15-20 % ส่วนในรายที่ไม่เสียชีวิตก็อาจได้รับความพิการ หรือมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอยลง

“ยังมีแนวโน้มว่าอัตราผู้ป่วยจะยังคงเพิ่มมากขึ้น ตราบใดที่การดูแลป้องกันตนเองและความรู้เท่าทันโรคยังไม่ดีพอ โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยถูกทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเกินไปก่อนถึงมือหมอ”

‘เจ็บน้าอก’ ...สัญญาณอันตราย

อาการสำคัญที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือเจ็บแน่นลักษณะเหมือนมีอะไรไรกดทับในหน้าอก โดยเฉพาะขณะออกกำลังกายหรือออกแรงอย่างหนัก บางรายอาจเจ็บร้าวที่บริเวณแขน คอ ไหล่ และกราม ประกอบกับมีเหงื่อออกท่วมตัว คลื่นไส้ หน้ามืด และใจสั่น ทั้งนี้หากเกิดขึ้นแบบฉับพลันและรุนแรง จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Heart Attack) ซึ่งเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

เทคนิควิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบ่งเป็น 3 วิธีหลัก คือ 1.การใช้ยา 2.การผ่าตัดตัดต่อเส้นเลือด (Coronary Artery Bypass Graft) คือการนำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันเพื่อทำทางเดินของเลือดใหม่ และ 3. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (Endovascular Intervention) โดยสอดเครื่องมือเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อถ่างขยายทางเดินเลือดให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น

“วิธีนี้มีขั้นตอนเริ่มต้นที่การฉีดสีและถ่ายภาพเอ็กซเรย์หลอดเลือดหัวใจเพื่อวินิจฉัย (Coronary Angiography) ซึ่งหากพบว่ามีอาการหลอดเลือดสมองตีบในขั้นรุนแรงจริง แพทย์จึงจะตัดสินใจทำ”

การทำบอลลูนเพื่อถ่างขยายหลอดเลือด คือการสอดเส้นลวดขนาดเล็กท่าเส้นผมที่มีบอลลูนอยู่ตรงปลายผ่านเข้าไปจนปลายเส้นลวดเลยจุดที่หลอดเลือดตีบ โดยใช้ภาพจากการเอ็กซเรย์ช่วยในการวางตำแหน่งบอลลูนจนตรงกับ

จุดที่หลอดเลือดหัวใจตีบ แล้วใช้แรงดันทำให้บอลลูนขยายตัวถ่างหลอดเลือดออกให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น บางกรณีที่หลอดเลือดยังไม่กว้างพอหรือมีโอกาสสูงที่จะเกิดการตีบซ้ำ แพทย์จะใส่ขดลวด (Stent) เข้าไปยังบริเวณที่เคยตีบ จากนั้นขยายขดลวดให้กางออกเพื่อยึดติดกับผนังหลอดเลือด

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือผู้ป่วยไม่ต้องรับการผ่าตัดและดมยาสลบ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงต่ำกว่าการผ่าตัดตัดต่อเส้นเลือด อีกทั้งผู้ป่วยยังใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วัน และในกรณีที่เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดในตำแหน่งเดิม ผู้ป่วยสามารถถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดซ้ำได้อีก ด้วยความปลอดภัยเช่นเดียวกับการทำครั้งแรก

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ริเริ่มการทำบอลลูนถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจตีบมาแล้วกว่าสิบห้าปี จนปัจจุบันมีผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ราว 600 กว่ารายต่อปี และมีแนวโน้มผู้เข้ารับการรักษาที่เพิ่มขึ้นคิดเป็น 15% ในทุก ๆ ปี และด้วยประสบการณ์ ทางโรงพยาบาลจึงมั่นใจในทีมบุคลากรของทางศูนย์ ฯ ว่าสามารถปฏิบัติการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ในศักยภาพที่เท่าเทียมกับแพทย์ทั่วโลก

“สิ่งหนึ่งซึ่งพิสูจน์ได้ถึงการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของศูนย์ คือ ‘ระบบ’ ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ทุกอาการ ตั้งแต่ในรายที่มีอาการของโรคน้อยไปจนถึงรายที่มีความซับซ้อนมากทั้งในแง่ของรายละเอียดโรคและเทคนิคขั้นตอนการรักษา ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าสามารถให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วยได้ในทุกกรณี”

ผลความสำเร็จที่ต่อเนื่องจากการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้ทางศูนย์ ฯ พัฒนาศักยภาพการทำบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดตีบไปสู่ตำแหน่งอื่น ๆ ได้ อาทิ สมองและคอซึ่งเป็นอวัยวะที่หัวใจส่งเลือดไปเลี้ยง โดยทำการพัฒนาต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547

การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดสมองด้วยวิธีการทำบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย (Endovascular Surgery) เป็นการร่วมมือกันระหว่าง นพ.วิสุทธิ์ ในฐานะผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และนพ.ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ หัวหน้าแผนกอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาสาขาโรคหลอดเลือดสมอง โดยปัจจุบันได้ผ่านการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดลำคอตีบ มาแล้วกว่าร้อยราย

และอีกความสำเร็จหนึ่ง คือการใส่โครงลวดถ่างขยายหลอดเลือดแดงที่ลำคอ (Carotid Artery Stenting) ที่ทางโรงพยาบาล ฯ ได้มีสถิติการรักษาผู้ป่วยมาแล้วมากกว่าร้อยรายเช่นกัน

ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยหลังการรักษา และโอกาสตีบซ้ำของหลอดเลือด

“ในทางเทคนิคแล้ว ขั้นตอนของ Endovascular ดูเหมือนทำได้โดยง่าย แต่ในความเป็นจริง ความแตกต่างทางสรีระของคนไข้แต่ละราย ทำให้จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์อย่างสูง แต่สิ่งสำคัญที่สุดจริง ๆ แล้ว คือการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทุกฝ่ายในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใกล้ชิด ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ระหว่างทำ และการติดตามผลการรักษา โดยทุกขั้นตอนมีความสำคัญเท่ากันหมด”

โดยทั่วไป โอกาสที่หลอดเลือดหัวใจจะกลับมาตีบซ้ำใหม่ในตำแหน่งเดิมอยู่ที่ประมาณน้อยกว่า 8 % ในระยะเวลา 10-12 ปี หากใช้ stent ซึ่งอาบน้ำยา การตีบซ้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน โดยเฉพาะรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ ระบบการติดตามผลที่ดี และการปฏิบัติตามคำแนะนำของทีมแพทย์อย่างเคร่งครัดของตัวผู้ป่วยเอง จะทำให้โอกาสที่การตีบซ้ำของหลอดเลือดมีความเป็นไปได้น้อยลง หรืออาจไม่เกิดขึ้นเลย

“แนวทางดำเนินงานของศูนย์หัวใจ คือเน้นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด ไปจนถึงโปรแกรมหลังการรักษา ที่จะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำให้รู้ว่า ปัจจัยเสี่ยงซึ่งจะทำให้โรคดำเนินซ้ำมีอะไรบ้าง ทั้งในเรื่องของอาหาร และการควบคุมโรคในกลุ่มที่เป็นปัจจัยสี่ยง ซึ่งบางครั้งเราจะใช้แพทย์เฉพาะทางเข้ามาร่วมดูแลแต่ละโรคเป็นการเฉพาะด้วย ที่สำคัญคือ การสนับสนุนให้คนไข้เลิกสูบบุหรี่และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะสองสิ่งนี้ถ้าทำได้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงได้อย่างเห็นผลที่สุด

“โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด การดูแลจะยากมาก เพราะในจุดเริ่มต้นจะไม่มีอาการใด ๆ บ่งบอก พอเป็นมากขึ้นถึงมีอาการ และเมื่อเป็นแล้วไม่มีทางหายขาด ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือการปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางป้องกัน และหากเป็นแล้วอย่าเสียใจ เป็นแล้วต้องรักษา หาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เพราะการลดโอกาสเกิดซ้ำถือว่ามีความจำเป็นต่อผู้ป่วยอย่างมาก” นพ. วิสุทธิ์ กล่าวสรุป

สอบถามรายละเอียด คุณแอนนา 081-3772111

บริษัท ไอเดีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ปรึกษาโครงการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก