สึนามิเอเชีย ส่งผลกระทบรุนแรงเชิงสังคม แต่มีผลกระทบเล็กน้อยเชิงเศรษฐกิจ

พฤหัส ๐๖ มกราคม ๒๐๐๕ ๐๙:๓๓
กรุงเทพฯ--6 ม.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส
สึนามิเอเชีย ส่งผลกระทบรุนแรงเชิงสังคม แต่มีผลกระทบเล็กน้อยเชิงเศรษฐกิจ
เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก สรุปผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ที่ถล่มใส่ประเทศในเอเชียว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบด้านสังคมอย่างใหญ่หลวง
แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงมหภาคเพียงเล็กน้อย โดยในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา ภูมิภาค
เอเชียได้ประสบภัยพิบัติจากปรากฏการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ซึ่งวัดค่าความสั่นสะเทือนได้
9.0 ริคเตอร์ ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” สูงถึง 10 เมตร แม้จุดที่เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ที่น่านน้ำอินโดนีเชียบริเวณเกาะสุมาตรา แต่คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ได้เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆ โดยได้สร้างความเสียหายอย่างมากแก่ประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย และมัลดีฟ ส่งผลให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบไม่มีไฟฟ้าใช้ ตลอดจนขาดแคลนน้ำดื่ม และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นครั้งนี้ต่างจากวิกฤตการณ์โรคซาร์สซึ่งสร้างความเสียหายเป็นระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นครั้งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณจังหวัดและหมู่บ้าน ชายฝั่งทะเล โดยที่ไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงต่อเมืองใหญ่ บริเวณอุตสาหกรรมและเมืองท่าที่สำคัญแต่อย่างใด ความเสียหายเชิงเศรษฐกิจที่รุนแรงจะอยู่ที่อุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่ความเสียหายดังกล่าวมีผลกระทบเพียงระยะสั้น กล่าวคือ นักท่องเที่ยวต่างชาติต่างยกเลิก แผนการท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ ซึ่งมีตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติยกเลิกการเข้าพักที่โรงแรมและรีสอร์ตในจังหวัดชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยประมาณร้อยละ 60 แต่วิกฤตการณ์จากภัยพิบัติธรรมชาติครั้งนี้ได้ สิ้นสุดลงแล้ว คาดว่าปริมาณนักท่องเที่ยวจะกลับคืนสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 เดือน
นอกจากนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบูรณะซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติครั้งนี้จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการสูญเสียรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการประมงได้อย่างมาก ดังนั้น ผลกระทบเชิงลบระยะสั้นต่ออุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ การประมง การท่องเที่ยว การบิน และ การประกันภัย กลับเป็นปัจจัยเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ การก่อสร้าง การทำเหมืองแร่ สาธารณสุข และสวัสดิการสังคม ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อจีดีพี ดังตัวอย่างจากปรากฏการณ์ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมกราคม 2538
แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบในครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 6,400 ชีวิต และก่อเกิดความเสียหายคิดเป็นมูลค่าถึง 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี จีดีพีของประเทศญี่ปุ่นในปี 2538 ไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากนัก เนื่องด้วยมีการทดแทนด้วยการใช้จ่ายเพื่อการบูรณะซ่อมแซมเมืองครั้งใหญ่ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว นอกจากนี้ ยังมีรายงานการช่วยเหลือด้านการเงินจากต่างประเทศซึ่งขณะมีอย่างน้อย 24 ประเทศที่เข้าร่วมให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
สำหรับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ ประเทศไทยจะมีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 6 ของจีดีพี ซึ่งจังหวัดภูเก็ตที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญและได้รับผลกระทบอย่างมากในขณะนี้ โดยในปี 2545 จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตคิดเป็นร้อยละ 14 ของจำนวน นักท่องเที่ยวทั้งหมดในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ประเทศไทยในขณะนี้กำลังดำเนินนโยบายทางการคลังเกินดุล และจะมีการเลือกตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น จึงเป็นที่คาดว่า การดำเนินการบูรณะซ่อมแซมความเสียหายน่าจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดคือจังหวัดอาเจะห์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ มีนักท่องเที่ยวเพียงเล็กน้อย ขณะที่บาหลีไม่ได้รับความเสียหายใดๆ อาเจะห์เป็นแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่สำคัญ ซึ่งภัยพิบัติครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อบริเวณที่ขุดเจาะน้ำมัน ส่วนประเทศมาเลเซียนั้นเป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด โดยบริเวณที่ได้รับความเสียหายเป็นเมืองและหมู่บ้านเล็กๆ ในขณะที่ปีนังและลังกาวีซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญไม่ได้รับผลกระทบเท่าไรนัก
กล่าวโดยสรุป เลแมน บราเดอร์ส มีความเห็นว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในด้านสังคม อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงมหภาคในด้านจีดีพีมากนัก ดังนั้น เลแมน บราเดอร์ส จึงยังคงยืนยันการคาดการณ์เดิมต่อการเติบโตของจีดีพีในปีหน้าของประเทศไทย (ร้อยละ 6) ประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 5.8) และประเทศมาเลเซีย (ร้อยละ 6) โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับความเสียหาย ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน และการประกันภัย ขณะที่ อุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้แก่ การก่อสร้าง นอกจากนี้ เหตุการณ์ครั้งนี้อาจเป็นปัจจัยเสริมระยะสั้นต่อแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับความเสียหายในประเทศไทย ศรีลังกา และมาเลเซีย
ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เช่น บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และเกาะเชบุ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยต่างมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
วราพร สมบูรณ์วรรณะ / สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
โทร 0 2252 9871--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ