กระทรวงพลังงานจับมือกระทรวงยุติธรรม นำร่องผลิตไบโอแก๊สทดแทนก๊าซหุงต้มในเรือนจำ 5 แห่ง

อังคาร ๐๕ เมษายน ๒๐๑๑ ๑๗:๕๖
กระทรวงพลังงานจับมือกระทรวงยุติธรรม จัดทำโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในเรือนจำ เพื่อนำร่องผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ในเรือนจำ 5 แห่ง คาดผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ปีละ 48,300 กิโลกรัม

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในเรือนจำ ระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน และกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ว่า ตามแผนอนุรักษ์พลังงานปี 2551 — 2554 กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อให้ก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกของการใช้พลังงานในประเทศไทย และเร่งผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพจากผู้ประกอบการกลุ่มต่างๆ อาทิ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการผลิตไบโอแก๊สจากขยะเศษอาหารจากสถานประกอบการต่างๆ โดยเน้นไปที่ภาคเอกชน ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการจำนวนมาก โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการนำก๊าซชีวภาพมาใช้งานแล้วรวม 480 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2,775 ล้านบาทต่อปี และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 50 ล้านตัน

“สำหรับโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในเรือนจำที่จัดขึ้น นับเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกัน ในการส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบของการทดแทนก๊าซหุงต้ม โดยกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในกรมราชทัณฑ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 9.65 ล้านบาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงยุติธรรม ตระหนักถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมในการรณรงค์แก้ไขวิกฤตด้านพลังงาน และวิกฤตด้านสภาวะแวดล้อมของโลก จึงได้ร่วมมือกับทางกระทรวงพลังงานสนับสนุนให้มีระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในกรมราชทัณฑ์ เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีเรือนจำและทัณฑสถานในสังกัดจำนวน 143 แห่ง มีผู้ต้องขังรวม 218,000 คน มีปริมาณขยะเศษอาหารเหลือทิ้งปีละ 54 ตัน

โดยได้มีการคัดเลือกเรือนจำและทัณฑสถานที่มีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางสมุทรปราการ ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง เรือนจำพิเศษธนบุรี และ เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมเป็นเรือนจำและทัณฑสถานนำร่องในโครงการฯ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณเศษอาหารรวมไม่น้อยกว่า 3,500 กิโลกรัมต่อวัน หรือ คิดเป็นความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพได้รวมประมาณ 105,000 ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็นการทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ประมาณ 48,300 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ปีละ 870,000 บาท

กระทรวงยุติธรรม มีความยินดีในการร่วมมือกับกระทรวงพลังงานในการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อช่วยแก้ไขวิกฤตพลังงานและปัญหาโลกร้อน ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการฯ จะนำประสบการณ์และความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ ไปผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อบำบัดขยะเศษอาหารในเรือนจำและทัณฑสถานอื่นๆ ต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-612-1555 สนพ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO