อียูประกาศขยายเวลาควบคุมการจำหน่ายไฟแช็ก ที่ไม่มีกลไกป้องกันอันตรายกับเด็ก

ศุกร์ ๐๘ เมษายน ๒๐๑๑ ๑๖:๓๔
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Decision 2011/176/EU ลงวันที่ 21 มีนาคม 2554 ขยายระยะเวลาการควบคุมสินค้าไฟแช็กตามประกาศ Decision 2006/502/EC เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2549 กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีมาตรการควบคุมการวางจำหน่ายสินค้าไฟแช็กที่ไม่มีกลไกป้องกันอันตรายจากการเล่นของเด็กและห้ามวางจำหน่ายไฟแช็กที่ผลิตขึ้นเป็นรูปแบบคล้ายคลึงกับวัตถุอื่นๆ ที่ใช้ประจำวันและดึงดูดความสนใจเด็ก (novelty lighters) ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวสามารถขยายระยะเวลาได้คราวละไม่เกิน 1 ปี ในครั้งนี้ได้ขยายระยะเวลาออกไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2555

นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2553 ไทยส่งออกไฟแช็กไปอียู มูลค่าเฉลี่ย (ปี 2551 — 2553) 65 ล้านบาทต่อปี โดยปี 2553 ไทยส่งออกมูลค่า 8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 69 เมื่อเทียบกับปี 2552 ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปอียู จึงควรผลิตสินค้าให้มีกลไกป้องกันอันตรายจากการเล่นของเด็ก เพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามจำหน่ายหรือถอนออกจากตลาดอียู

ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศฯ ณ กรุงบรัสเซลส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ