บอร์ดบีโอไออนุมัติ 12 โครงการ 2.6 หมื่นล้านบาท เน้นอุตฯพลังงาน - ชิ้นส่วนยานยนต์

อังคาร ๑๒ เมษายน ๒๐๑๑ ๐๘:๐๗
ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อนุมัติส่งเสริมลงทุน 26,956.6 ล้านบาท 12 โครงการ สหฟาร์มขยายกิจการแปรรูปอาหารรับกระแสความต้องการอาหารโลก ด้านเอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น ลงทุนผลิตชิ้นส่วนตัวถังรถบรรทุกขนาดหนึ่งตัน ขณะที่อุตสาหกรรมพลังงาน เดินหน้าผลิตไฟฟ้าใช้เอง ในประเทศ

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 12 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 26,956.6 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.บริษัท ฟู้ด ฟอร์ เดอะ เวิล์ด จำกัด บริษัทในเครือสหฟาร์ม ได้รับการส่งเสริมการลงทุนขยายกิจการผลิตอาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์แช่แข็ง เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,939.8 ล้านบาท โดยเป็นการนำเนื้อไก่บางส่วนจากโครงการเลี้ยงไก่เนื้อมาแปรรูปเป็นอาหารปรุงสุกประเภท ทอด อบ นึ่ง แล้วนำมาแช่แข็ง ก่อนส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้งสิ้น เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และเวียดนาม กำลังการผลิตปีละประมาณ 41,250 ตัน รองรับอัตราการบริโภคไก่เนื้อที่เพิ่มขึ้น

2.บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตยางเรเดียล ( Radial Tyre ) เงินลงทุนทั้งสิ้น 7,750 ล้านบาท เป็นการผลิตยางเรเดียล สำหรับรถยนต์นั่ง รถปิคอัพ ส่งออกไปต่างประเทศทั้งสิ้น เช่น เอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกา โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบในประเทศประเภท ยางแท่ง มูลค่า 1,136.3 ล้านบาทต่อปี เกิดการจ้างแรงงานไทย 737 คน กำลังการผลิตปีละประมาณ 4,733,100 เส้น

3.บริษัท อาซาฮี คาเซอิ สปันบอนด์ ( ประเทศไทย ) จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิต NON -WOVEN FABRIC กำลังการผลิตปีละประมาณ 17,200 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,690 ล้านบาท โดย NON -WOVEN FABRIC หรือวัตถุดิบสำหรับใช้ผลิต ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และผ้าอนามัย มีคุณสมบัติในการป้องกันการไหลซึมของน้ำ มีความเหนียวทนต่อแรงฉีกขาด

4.Mr. Hiroshi Joichi ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะในรุ่นขนาด 20.2 — 44.0 กิโลวัตต์ หรือ 27-60 แรงม้า ที่เหมาะสมกับสภาพถูมิอากาศในประเทศไทยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำการเกษตร กำลังการผลิตปีละ 120,000 ชุดเครื่องยนต์ที่จะผลิตนี้ยังไม่มีการผลิตในประเทศ เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,139 ล้านบาท โครงการนี้จะเป็นการผลิตเพื่อป้อนให้ผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรในประเทศไทย

5.บริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตชิ้นส่วนตัวถังสำหรับยานพาหนะ เช่น โครงตัวถังด้านข้าง ( Panel Side Outer ) และพื้นรถด้านหน้า ( Panel Front Floor ) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนในการผลิตรถบรรทุกขนาดหนึ่งตัน มีกำลังการผลิตปีละประมาณ 2,236,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,126.7 ล้านบาท

6.บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนขยายกิจการผลิตขวดแก้วปีละประมาณ 115,200 ตัน หรือประมาณ 540,000,000 ขวด เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท โดยขวดแก้วตามโครงการนี้ จะผลิตเพื่อใช้บรรจุ เครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำอัดลม น้ำดื่ม หรือโซดา ขนาด 150 - 400 ซี.ซี. ร้อยละ 80 เป็นการจำหน่ายในประเทศ ให้กับผู้ผลิตเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ

7.บริษัท กำแพงเพชร ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อย ขนาด 36 เมกกะวัตต์ และไอน้ำ 450 ตัวต่อชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,035 ล้านบาท โครงการนี้จะใช้ชานอ้อยประมาณ 626,400 ตันต่อปี จำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 8 เมกกะวัตต์ ซึ่งที่เหลือจำหน่ายให้บริษัทในเครือ

8.บริษัท มุ่งเจริญ ไบโอแมส จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลขนาด 17 เมกะวัตต์ ขนาดการลงทุนทั้งสิ้น 1,110.4 ล้านบาท โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งสิ้น เช่นแกลบประมาณ 80,300 ตันต่อปี เศษไม้สับและเปลือกไม้ ประมาณ 53,500 ตันต่อปี มาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า จำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 15.5 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือใช้เองในโรงไฟฟ้า

9.บริษัท เชียงราย โซล่าร์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,076 ล้านบาท โครงการนี้จะใช้พื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้ากระแสตรงจากพลังงานแสงอาทิตย์แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแรงดัน 380 โวลท์ แล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับแรงดัน 22,000 โวลท์ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

10.นางสาวลักษมี ปิยะสมบัติกุล ผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดปาร์ติเกิลบอร์ด (Particle Board) ชนิดเปลือยและชนิดปิดผิว เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบประเภทเศษไม้ เช่น ไม้ยางพารา ไม้มะม่วง และไม้ทุเรียน กำลังการผลิตปีละประมาณ 350,000 ลูกบาศก์เมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,250 ล้านบาท ตั่งอยู่ที่ อ.เมืองตรัง จ.ตรัง

11.บริษัท เอช-วัน พาร์ทส์ ศรีราชา จำกัด ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) เช่น CROSS MEMBER,PILLAR,WHEEL HOUSE,SIDE FRAME และREAR FRAME เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,530,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,245.1 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จ.ชลบุรี

12. MR.MAKOTO SHIBUYA ผลิต STEEL TIRE CORD ซึ่งเป็นเส้นลวดที่นำมาควั่นเกลียวรวมกัน เพื่อใช้ในการผลิตยางรถยนต์เพื่อเสริมความแข็งแรง กำลังการผลิตปีละประมาณ 32,400 ตัน และผลิต BRASS PLATED STEEL ซึ่งเป็นการนำเส้นลวดมาดึงขั้นต้นเพื่อลดขนาดและชุบเคลือบผิว เพื่อจะผลิตเป็น STEEL TIRE CORD ต่อไป โดยจะมีกำลังการผลิตปีละประมาณ 3,600 ตัน เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2,194.6 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ