ไอบีเอ็มเผยรายงานเอ็กซ์-ฟอร์ซ ประจำปี 53 พบภัยคุกคามออนไลน์ที่ก้าวล้ำและเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

อังคาร ๑๒ เมษายน ๒๐๑๑ ๑๑:๑๙
ไอบีเอ็มเผยรายงานเอ็กซ์-ฟอร์ซ ประจำปี 53 พบภัยคุกคามออนไลน์ที่ก้าวล้ำและเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะฟิชชิ่ง สแปม มุ่งเป้าโจมตีสมาร์ทโฟน อุปกรณ์พกพาและมีการรักษาความปลอดภัยคลาวด์ คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้น

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย รายงานของไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น เรื่องแนวโน้มและความเสี่ยงเอ็กซ์-ฟอร์ซ (X-Force) ประจำปี 2553 ซึ่งเป็นการประเมินประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านความปลอดภัยทางด้านไอที ระบุว่าในช่วงปี 2553 องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไอทีในรูปแบบที่ซับซ้อนและมีการปรับแต่งให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยรายงานยังเน้นแนวโน้มและความเสี่ยง ด้านความปลอดภัยสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของสมาร์ทโฟน อุปกรณ์พกพา และระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

รายงานเอ็กซ์-ฟอร์ซฉบับล่าสุดของไอบีเอ็มเปิดเผย เกี่ยวกับภัยคุกคามไอที ที่แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของมิจฉาชีพทางด้านออนไลน์ยังคงพุ่งเป้าการโจมตีไปที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อมุ่งหวังโจรกรรมข้อมูลหรือโอกาสการฉ้อฉลทางการเงิน จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากการวิจัยเรื่องช่องโหว่ในระบบต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยกว่า 150,000 เหตุการณ์ต่อวินาทีในแต่ละวันตลอดปี 2553 ทีมงานวิจัยเอ็กซ์-ฟอร์ซ ของไอบีเอ็ม สรุปประเด็นสำคัญดังนี้ คือ

สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพา มีเทคนิคการโจมตีใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ในช่วงปี 2553 เป็นผลงานของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่มีเทคโนโลยีที่เหนือชั้น มีเงินทุนสนับสนุนจำนวนมาก และมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ การออกแบบซอฟต์แวร์และบริการที่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น แนวทางปฏิบัติสำหรับการปกป้องอุปกรณ์พกพามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมความสามารถด้านการจัดการรหัสผ่านและการเข้ารหัสข้อมูล

คลาวด์คอมพิวติ้ง ผู้ให้บริการคลาวด์ต้องหาหนทางที่จะทำให้ลูกค้าเกิด ความเชื่อมั่น โดยจะต้องจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยสูงสุด พร้อมฟีเจอร์ที่ก้าวล้ำสำหรับการรักษาความปลอดภัย ซึ่งสอดรับกับความต้องการของแอพพลิเคชั่นที่ถูกย้ายไปยังระบบคลาวด์ โดยจะมีการปรับปรุงคุณสมบัติด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ไอบีเอ็มคาดการณ์ว่าตลาดจะผลักดันให้ระบบคลาวด์รองรับการเข้าถึงเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการติดตั้งแอพพลิเคชั่นภายในองค์กร และผลที่ตามมาก็คือ ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจะช่วยกระตุ้นให้องค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบคลาวด์อย่างกว้างขวาง

การโจมตีในรูปแบบฟิชชิ่ง (Phishing)ลดลง ฟิชชิ่งหรือเทคนิคการปลอมแปลงเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลที่สำคัญจากผู้ใช้งานทางอินเทอร์เน็ต ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่เทคนิคการโจมตีฟิชชิ่งแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือ “Spear Phishing” กลับมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น รายงานนี้ บ่งชี้ว่าอาชญากรไซเบอร์มุ่งเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพการโจมตีเป็นหลัก โดยอาชญากรหันไปให้ความสนใจกับวิธีการโจมตีแบบอื่นๆ ที่สร้างผลกำไรได้มากกว่า เช่น บอตเน็ต และการดูดข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม โดยอีเมลที่สร้างขึ้นอย่างแยบยล พร้อมด้วยไฟล์แนบหรือลิงค์ที่เป็นอันตราย กลายเป็นการโจมตีรูปแบบหนึ่งที่ซับซ้อนต่อเครือข่ายองค์กรมีช่องโหว่ใหม่ๆ กว่า 8,000 รายการ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 27 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การโจมตีช่องโหว่ต่างๆ เพิ่มขึ้น 21 เปอร์เซ็นต์จากปี 2552 ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีความก้าวล้ำมากขึ้นภายในสภาพแวดล้อมการประมวลผลที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม

ในรายงานแนวโน้มและความเสี่ยงทางด้านออนไลน์ หรือ รายงานไอบีเอ็ม เอ็กซ์-ฟอร์ซ ประจำปี 2553 ยังระบุเพิ่มเติมว่า

อาชญากรรมไซเบอร์มีการปรับโฉมให้ซับซ้อนมากขึ้น จากจุดยืนด้านความปลอดภัย ปี 2553 นับเป็นปีสำคัญที่มีการโจมตีขั้นสูงที่เจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตัวอย่างเช่น เวิร์ม Stuxnet แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของการโจมตีระบบควบคุมอุตสาหกรรมที่พิเศษอย่างมาก โดยการโจมตีประเภทนี้เป็นดัชนีที่บ่งชี้ว่ากลุ่มอาชญากรมีการจัดตั้งองค์กรอย่างซับซ้อนและมีเงินทุนสนับสนุนจำนวนมากสำหรับการโจรกรรมข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งนับเป็นภัยคุกคามต่อเครือข่ายสาธารณะและเครือข่ายส่วนตัวในวงกว้างเว็บแอพพลิเคชั่นมีช่องโหว่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วงปี 2553 เว็บแอพพลิเคชั่นยังคงเป็นหมวดหมู่ซอฟต์แวร์ที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ดังจะเห็นได้จากจำนวนช่องโหว่ที่พบมากที่สุดถึง 49 เปอร์เซ็นต์ในปี 2553 โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้สคริปต์ระหว่างไซต์ (Cross-Site Scripting) และการเจาะข้อมูล SQL (SQL Injection) โครงสร้างของการโจมตีเหล่านี้คล้ายคลึงกันทั้งหมด โดยพุ่งเป้าการโจมตีไปที่เพจ .asp ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำหรับการเจาะข้อมูล SQL

การออกแบบที่เหมาะสมช่วยเพิ่มความปลอดภัย การดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อประเมินความปลอดภัยของเว็บแอพพลิเคชั่นและปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพอาจช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับซอฟต์แวร์เว็บแอพพลิเคชั่น รายงานดังกล่าวชี้ว่าเว็บแอพพลิเคชั่นที่ถูกสแกนหาจุดอ่อนมักจะแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงดีขึ้นอย่างมากเมื่อมีการทดสอบซ้ำ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจำนวนจุดอ่อนจะลดลงเกินกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อทำการประเมินรอบที่สอง ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการปรับปรุงความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตอย่างยั่งยืน

เกือบครึ่งหนึ่งของช่องโหว่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในระบบ องค์กรต่างๆ จึงต้องพยายามหาหนทางที่จะลดระยะเวลาระหว่างการตรวจพบช่องโหว่กับการติดตั้งแพตช์ ทั้งนี้ 44 เปอร์เซ็นต์ของช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทั้งหมดยังไม่มีแพตช์สำหรับการแก้ไขปัญหาเมื่อสิ้นปี 2553

บอตเน็ตบนอินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างต่อเนื่อง บอตเน็ต (Botnet) ที่เป็นภัยคุกคามต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต มีแนวโน้มการเติบโตขึ้น ถึงแม้ว่าหลายๆ ฝ่ายจะพยายามร่วมมือกันสกัดกั้นกิจกรรมบอตเน็ต แต่ภัยคุกคามนี้ยังคงแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง จากความพยายามเมื่อต้นปี 2553 ในการปิดบอตเน็ต Waledac ซึ่งส่งผลให้ปริมาณแทรฟฟิกคำสั่งและการควบคุมของบอตเน็ตดังกล่าวลดลงในทันที ในทางตรงกันข้าม บอตเน็ต Zeus ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมบอตเน็ตที่ทีมงาน X-Force ของไอบีเอ็มตรวจพบในปี 2553 เนื่องจากบอตเน็ตนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้โจมตี ดังนั้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ จึงมีบอตเน็ต Zeus หลายร้อยหรือหลายพันตัวแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง มัลแวร์บอตเน็ต Zeus มักจะใช้ในการโจรกรรมข้อมูลธนาคารจากคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส

สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

จินรี ตัณมณี โทร 02 273 4676 email : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version