ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 15

อังคาร ๑๒ เมษายน ๒๐๑๑ ๑๔:๔๙
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน [ASEAN Finance Ministers’ Meeting (AFMM)] ครั้งที่ 15 ซึ่งจั ขึ้นในระหว่างวันที่ 8 เมษายน 2554 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีนาย Agus D. W. Martowardojo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย เป็นประธาน ซึ่งได้มีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านต่างๆ ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนตลอดช่วงปีที่ผ่านมา และประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซ ียน ดังนี้

1. รัฐมนตรีว่าการกร ทรวงการคลังอาเซียนได้ร่วมหารือกับผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (Troika) เกี่ยวกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค โดยได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะให้ภาคการเงินมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและความมีเสถียรภาพ และยังได้หารือร่วมกับนาง Sri Mulyani Indrawati กรรมการผู้จัดกา รของธนาคารโลก [World Bank (WB)] นาย Naoyuki Shinohara รองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ [International Monetary Fund (IMF)] และนาย Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย [Asian Development Bank (ADB)] เกี่ยวกับการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

2. รัฐมนตรีว่าการกร ทรวงการคลังอาเซียนได้ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตาม Roadmap for Monetary and Financial Integration of ASEAN ซึ่งอยู่ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งประกอบด้วย ด้านการพัฒนาตลาดทุน ด้านการเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย และด้านการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ซึ่งได้มี วามคืบหน้าไปมาก โดยเฉพาะในการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินรอบที่ ๕ ที่ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอยู่ในระหว่างการดำเนินการภายในเพื่อให้สามารถลงนามในร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน รอบที่ ๕ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียนได้ โดยคาดว่า จะมีขึ้นในช่วงระหว่างการปร ะชุมประจำปีผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

3. เพื่อให้สามารถบร ลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ในปี 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบในการปรับบทบาทของหน่วยงานระวังภัยทางเศรษฐกิจของสำนักเลขาธิการอาเซียนให้เป็นหน่วยงานติดตามการรวมตัวของอาเซียน (ASEAN Integration Monitoring Office หรือ AIM Office) ซึ่งจะมีบทบาทสำ ัญในการวิเคราะห์ ติดตาม และประสานการดำเนินการต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือด้านการเงินของอาเซียน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามแผนที่กำหนดไว้

4. นอกจากนี้ รัฐมนตร ว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนยังได้รับทราบถึงความคืบหน้าในด้านการดำเนินงานด้านความร่วมมือทางการเงินในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการประกันภัย ด้านศุลกากร ด้านการต่อต้านอาชญากรรมทางการเงินและการฟอกเงิน และด้านการสนับสนุนกลไกทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมถึงความคืบหน้าในการพิจารณาการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานในภูมิภาคอาเซียน [ASEAN Infrastructure Fund (AIF)] โดยในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้สำนักงานกองทุน AIF ตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย

5. สำหรับความร่วมมื ด้านภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้านภาษีของอาเซียน [ASEAN Forum on Taxation (AFT)] เพื่อเป็นเวทีหลักในการหารือประเด็นด้านภาษีที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวของภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีซ้ำซ้อน และสนับสนุนคว มร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศสมาชิก

6. ในด้านความร่วมมื ระหว่างอาเซียนและกลุ่มประเทศ +3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี [Chiang Mai Initiative Multilateralisation (CMIM)] ซึ่งที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนา คารกลางอาเซียน+3 ได้มีมติเห็นชอบให้นาย Wei Benhua ผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+๓ [ASEAN+3 Macroeconomic research Office (AMRO)] ในปีแรก และนาย Yoichi Nemoto ผู้แทนจากญี่ปุ่น เป็นผู้อำนวยการฯ ในปีที่ 2 และ 3

7. ในระหว่างการประช มครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้เข้าร่วมพิธีเปิดตัว “ASEAN Exchanges” ซึ่งเป็นแบรนด์ร่วมของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ที่แสดงถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค โด จะมีแบรนด์ย่อยอีก 3 แบรนด์ คือ ASEANStars InvestASEAN และ ASEANConnect

8. การประชุม AFMM ค รั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้