และจากสถานการณ์ดังกล่าว มูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยในเบื้องต้นได้มอบเงินสนับสนุนให้กับจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 350,000 บาท เพื่อนำไปซื้อเครื่องอุปโภค ยารักษาโรค พร้อมทั้งน้ำดื่ม ตลอดจนสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอื่นๆ พร้อมทั้งได้สนับสนุนเรือ จำนวน 44 ลำ (มูลค่าประมาณ 200,000 บาท ให้กับจังหวัดที่ประสบภัยอีกด้วย
หลังจากที่สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ประสบภัยคลี่คลายลง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังคงหาแนวทางช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประสบภัยทั้งในระดับประชาชนผู้ประสบภัย และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดยในเบื้องต้นสามารถสรุปการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ หลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายได้ ดังนี้
สรุปการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ กลุ่มอุตสาหกรรม ความช่วยเหลือจากกลุ่มอุตสาหกรรม
1 เครื่องจักรกลการเกษตร มอบส่วนลด30% ค่าอะไหล่ และอุปกรณ์เครื่องจักร
ซ่อมบำรุงเครื่องจักรโดยไม่คิดค่าแรง
2 เครื่องจักรกลและโลหะการ มอบส่วนลด30% ค่าอะไหล่ และอุปกรณ์เครื่องจักร
3 หลังคาและอุปกรณ์ บจก.กระเบื้องกระดาษไทย และบริษัทในกลุ่มมหพันธ์ ให้ส่วนลดพิเศษ ในการซื้อกระเบื้องหลังคา และวัสดุอุปกรณ์
สรุปการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ต่อ)
ที่ กลุ่มอุตสาหกรรม ความช่วยเหลือจากกลุ่มอุตสาหกรรม
4 ยานยนต์ ลดค่าอะไหล่ 20 — 50 % และ ลดค่าแรง 10% - ฟรีค่าแรง แบ่งเป็น...
ประเภทรถยนต์
Toyota ลดค่าอะไหล่ 30% ลดค่าแรง 30% และจัดโมบายเซอร์วิสในจังหวัดที่ได้รับความเสียหาย
Honda ลดค่าอะไหล่ 30% ลดค่าแรง 20 - 30% (ขึ้นอยู่กับDealer) และให้ความช่วยเหลือลูกค้าเรื่องค่าซ่อมรถ
Isuzu ลดค่าอะไหล่ 30% ลดค่าแรง15% และให้ความช่วยเหลือลูกค้าเรื่องค่าซ่อมรถ
Nissan ลดค่าอะไหล่ และผลิตภัณฑ์ประเภทหล่อลื่น 30%
ประเภทรถจักรยานยนต์
Honda ลดค่าอะไหล่50% ฟรีค่าแรง และส่งทีมช่างเข้าดูแลลูกค้าตามพื้นที่ประสบภัย
Yamaha ลดค่าอะไหล่50% ฟรีค่าแรงและส่งทีมช่างเข้าดูแลลูกค้าตามพื้นที่ประสบภัย พร้อมถ่ายน้ำมันเครื่องฟรี
Suzuki ลดค่าอะไหล่30% ลดค่าแรง 10% และส่งทีมช่างเข้าดูแลลูกค้าตามพื้นที่ประสบภัย
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังได้ร่วมบริจาคเงินผ่านบัญชีมูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม - เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 208,000 บาทด้วย
นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ยังได้จัดทำสรุปแนวทางที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ในภาพรวม โดยได้รวบรวมข้อมูลจากการสอบถามไปยังสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ทราบว่าสมาชิกส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะให้หน่วยงานจากภาครัฐให้ความช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ กัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. มาตรการด้านภาษี : ภาครัฐควรมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องของสิทธิประโยชน์ในการนำค่าใช้จ่ายซ่อมแซมโรงงานที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม เพื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. ขอให้งดเว้นการเก็บค่าน้ำ - ค่าไฟเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในระยะฟื้นฟู
3. การจ่ายเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัยจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน มีการกำหนดพื้นที่ระดับความเสียหาย โดยดูจากภาพถ่ายดาวเทียม อย่างทั่วถึงและชัดเจน