Creative Enterprise : ดิจิทัล คอนเทนท์ เปลี่ยนโลก 'สิ่งพิมพ์'

จันทร์ ๑๘ เมษายน ๒๐๑๑ ๐๙:๑๐
วันนี้สื่อสิ่งพิมพ์ ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤติของบางสื่อ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้เสพ

แต่จังหวะที่ทุกคนกำลังจับตามองช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี "ดิจิทัล" ได้เข้ามาเสริมโอกาส ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มขยับไปสู่การพัฒนาคอนเทนท์ในเวอร์ชั่น "ดิจิทัล" เช่นกัน

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานบริหารและที่ปรึกษาอาวุโส ด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท ธอมัส ไอเดีย จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนของสื่อสิ่งพิมพ์ จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้รูปแบบการรับสื่อของผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม กลุ่มที่เห็นชัดเจนในขณะนี้คงเป็น "แมกกาซีน" ซึ่งหลายหัวหลายฉบับเริ่มหายจากแผง เพราะรับแรงถาโถมของเวอร์ชั่น E-Magazine ผ่านการรับชมทางเว็บไซต์ ต่อด้วยอุปกรณ์สมาร์ท ดีไวซ์ ของยุคนี้

ยังไม่ทันที่ อีแมกกาซีน จะแจ้งเกิดอย่างสมบูรณ์แบบ คอนเทนท์ ก็ถูกพัฒนาไปอีกขั้นด้วย "ดิจิทัล แมกกาซีน" และครั้งนี้มาพร้อมกับความพิเศษ ด้วยรูปแบบ "อินเตอร์แอ็คชั่น" โดยคอนเทนท์ต่างๆ สามารถโต้ตอบกับผู้เสพ ด้วยดิจิทัล แมกกาซีน จะมีฟอร์แมต ภาพ เสียง วีดิโอ และแอนิเมชันแบบครบสูตร ต่างจากอีแมกกาซีน ที่มักเป็นเพียงไฟล์พีดีเอฟ หรืออาจมีดิจิทัล คอนเทนท์ ประเภทเคลื่อนไหวบ้างก็เพียงเล็กน้อย

แต่ "ดิจิทัล แมกกาซีน" จับจุดความสนใจด้วยรูปแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้เสพทุกสัมผัสการรับรู้ หากเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถอัพโหลดข้อมูลการสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ และสิ่งสำคัญ สำหรับนักการตลาด คือ การ Engagement ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยระยะเวลานานกว่าสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทางทีวี ซึ่งมีข้อจำกัดการรับรู้เพียง 30 วินาที หรือป้ายโฆษณาที่ผ่านแล้ว อาจผ่านเลย

อุไรพร มองว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทั้ง อีแมกกาซีน และดิจิทัล แมกกาซีน ได้รับความสนใจ อยู่ที่จำนวนดีไวซ์ ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงคอนเทนท์เหล่านี้ และการกำหนดราคาดาวน์โหลดให้จูงใจ คาดว่าจำนวน "ไอแพด" ดีไวซ์ที่ได้รับความนิยม และเหมาะสมกับการเสพ ดิจิทัล แมกกาซีน ในไทยมีประมาณ 1 แสนเครื่องในปัจจุบัน แต่ปีนี้ อุปกรณ์แทบเล็ต แบรนด์อื่นๆ จะมีรุ่นใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดมากขึ้น และมีจำนวนมากพอที่จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ตื่นตัว พัฒนาแอพพลิเคชั่น ดิจิทัล แมกกาซีน อย่างคึกคักในปีนี้

ในปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตดิจิทัล คอนเทนท์ ยังมีความสับสนในการลงทุนฟอร์แมต และการกำหนดราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินดาวน์โหลด เพราะไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น ต่างๆ พฤติกรรมของคนไทยยังรู้สึกว่า คอนเทนท์เหล่านี้ควรจะ "ฟรี" การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินจึงอยู่ที่ "คอนเทนท์" ที่ดีมีคุณภาพ และแตกต่าง หรือหาเสพไม่ได้จากช่องทางไหน ดังนั้น การพัฒนา "ดิจิทัล แมกกาซีน" ที่ไม่มีเวอร์ชั่น"เล่ม" ให้อ่าน จึงมีโอกาสเรียกเงินในกระเป๋าผู้บริโภค จากการดาวน์โหลดได้ง่ายกว่า "แมกกาซีน" ที่มีทั้งสิ่งพิมพ์ และดิจิทัล คอนเทนท์

ส่วนแนวโน้มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ในประเทศไทย ไปได้ค่อนข้างช้า จากการสำรวจผู้เข้าชมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือบุ๊คเอ็กซ์โป ช่วงเดือน ต.ค. 2553 พบว่ามีเพียง 3% ที่อ่านอีบุ๊ค และ 81.4% บอกว่ายังไม่เคยอ่านอีบุ๊ค ตัวเลขดังกล่าวทำให้สำนักพิมพ์พอคเก็ตบุ๊คต่างๆ อยู่ในขั้นเตรียมความพร้อมคอนเทนท์ เพื่อรองรับตลาดอีบุ๊ค เท่านั้น

อุไรพร มองว่าตลาดอีบุ๊ค ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ และแบบพีดีเอฟ ไฟล์ แต่ด้วยพฤติกรรมคนไทยที่ชื่นชอบ สีสัน และรูปภาพ จึงเชื่อว่าอุปกรณ์ แทบเล็ต น่าจะได้รับความสนใจมากกว่า "อีบุ๊ค รีดเดอร์" ที่เจาะกลุ่มคนสูงอายุที่ยังชื่นชอบการอ่านหนังสืออยู่ เพราะปัจจุบัน อีบุ๊ค ในมุมมองของผู้อ่าน เป็นเพียงการเปลี่ยนจากพอคเก็ตบุ๊คเล่ม มาเป็นเวอร์ชั่นอีบุ๊ค ที่มีเนื้อหาไม่ต่างจากเดิม

ปัจจุบันทุกสำนักพิมพ์ต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างการปรับตัวในการพัฒนา ดิจิทัล คอนเทนท์ ที่เหมาะสมตอบสนองไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการใช้งานผ่านสมาร์ท ดีไวซ์ ต่างๆ มากขึ้น ทำให้ทุกค่ายมีการพัฒนาคอนเทนท์ เพื่อให้บริการบนดีไวซ์ที่เข้าถึงผู้บริโภค

แม้วันนี้ จะเรียกว่าอยู่ในขั้นทดลองตลาด ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ทุกค่ายก็ต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างแบรนด์เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ เมื่อถึงวันที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ "สิ่งพิมพ์" แบบเล่มอีกต่อไป แต่ยังให้ความสนใจเสพคอนเทนท์ ที่แต่ละสำนักพิมพ์มีจุดเด่นแตกต่างกัน จะเปลี่ยนภาพของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล อย่างรวดเร็ว

หากย้อนกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงของสื่อยุคดอทคอมเมื่อ 10 ปีก่อน จะพบว่าองค์กรและแบรนด์ต่างๆ "ไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องมีเว็บไซต์" แต่มาวันนี้ คงไม่มีใครถามอีกแล้วว่าต้องมีเว็บไซต์หรือไม่ แต่คำถามสำหรับผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ ในวันนี้หากไม่ทำ "ดิจิทัล คอนเทนท์" จะอยู่ได้ไหม เชื่อว่าคงไม่ต้องรอ "คำตอบ"นานถึง 10 ปีเหมือนยุคดอทคอม เพราะด้วยเทคโนโลยีบรอดแบนด์ 3 G สมาร์ทดีไวซ์ ต่างๆ จะเป็นตัวเร่ง ให้พฤติกรรมผู้บริโภควันนี้เปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง

เมื่อถึงวันที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ ฮาร์ด ก๊อบปี้ "พับลิชเชอร์" จะทำอย่างไร คำถามจึงอยู่ที่ว่า "จะอยู่ที่เดิม" หรือ "ก้าวไปหาอนาคต" หากจะเดินไปหาอนาคตก็จำเป็นต้องลงทุน พัฒนาบิซิเนส โมเดล ที่เหมาะสมสำหรับ "สิ่งพิมพ์ยุคดิจิทัล"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version