ภาพข่าว: จุฬาฯ เจ๋ง คว้ารางวัลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ฮาลาลโลก

พุธ ๒๐ เมษายน ๒๐๑๑ ๑๔:๑๑
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำทีมนักวิจัยของศูนย์ฯ เข้ารับรางวัลชนะเลิศและรางวัลที่ 3 ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล “Halal Science & Innovation Excellence” จากดาโต๊ะสรีอับดุลลา บินหะยีอาหมัดบาดาวี อดีตนายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในงานประชุมสุดยอดการวิจัยฮาลาลโลก ครั้งที่ 4 (The 4th World Halal Research Summit 2011) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

งาน World Halal Research Summit 2011 เป็นงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล ครั้งที่ 4 ณ Kuala Lumpur Convention Centre จัดโดย Halal Industry Development Corporation (HDC) ของรัฐบาลมาเลเซีย เป็นงานที่รวบรวมนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักอุตสาหกรรมประมาณพันคนจาก 26 ประเทศเข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนและแสดงผลงานวิจัยทางด้าน นาโนเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ อาหารและโภชนาการ พร้อมการประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ฮาลาลระดับนานาชาติ รางวัล “Halal Science & Innovation Excellence”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สุวรรณา ธนาวิวัชชัย

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล

โทร. 0 2158 1312-6 แฟกซ์ 0 2158 1319 อีเมลล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ