บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต.ให้ขายหุ้นในตลาดและแต่งตั้งผู้จัดการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญ

จันทร์ ๒๑ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๗:๒๐
กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--โซลาร์ตรอน
นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ ประธานคณะกรรมการบริท และนางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามและมอบสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันจำหน่ายหุ้นสามัญ (อันเดอร์ไรท์) ของบริท ไซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) ให้กับนายช่วงชัย นะวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด รวมทั้งบริษัทโคอันเดอร์ไรท์อีกจำนวน 6 บริษัทได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์บีที จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ไซรัส จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ซึ่งจะเสนอขายหุ้นไอพีโอในปลายเดือนมีนาคม 2548 นี้ ราคาหุ้นละ 8 บาท
นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ ประธานคณะกรรมการบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) กล่าวขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นอย่างมากที่ได้อนุมัติให้บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) นำหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 60 ล้านหุ้นและหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมอีก 20 ล้านหุ้นเสนอขายต่อประชาชน
นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร มีศูนย์ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีกำลังการผลิตรวมปีละ 30 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 250,000 แผงต่อปี บริษัทให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ เช่น ระบบสูบน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบสื่อสาร ระบบติดตั้งบนหลังอาคาร สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ จะใช้ลงทุนก่อสร้างอาคารโรงงานหลังใหม่และซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนแบบต้นน้ำ จะเป็นโรงงานแรกในประเทศไทยและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้กับทั้งผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ การตัดสินใจลงทุกก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ระดับต้นน้ำครั้งนี้ถือว่าเป็นการตอบสนองต่อนโยบายการส่งเสริมการผลิตและใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ของรัฐบาล จะทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในระดับภูมิภาคอาเซียน ต้นทุนการผลิตจะสามารถแข่งขันกับราคาในตลาดโลกได้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศ และสร้างแรงงานให้กับคนไทย ความสำเร็จในการนำบริษัทโซลาร์ตรอนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวโซลาร์ตรอนสำหรับชื่ออักษรย่อของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์คือ SOLAR ซึ่งจะเข้าจดทะเบียนในหมวดพลังงาน และราคาหุ้น IPO ที่ได้กำหนดไว้แล้วคือ 8 บาท ซึ่งมีค่า P/E ประมาณ 8 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับค่า P/E ของกลุ่มพลังงานซึ่งมีค่าเฉลี่ยประมาณ 10.81 เท่า"
ศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต เครืองาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัทและผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีการผลิตแน่นเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัทกล่าวว่า "เซลล์แสงอาทิตย์ที่จะผลิตเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกมัลติคริสตัลไลน์ซิลิคอน โดยแผ่นเวเฟอร์ที่เป็นวัตถุดิบนั้นมีความหนาประมาณ 0.3 มิลลิเมตร กว้างยาวด้านประมาณ 15.6 เซนติเมตร โรงงานมีกำลังผลิตปีละประมาณ 5 ล้านแผ่น หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าประมาณ 20 เมกะวัตต์ ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของแผ่นเซลล์จะเฉลี่ยประมาณร้อยละ 14.5 ซึ่งเป็นตัวเลขมาตรสูงสุดในตลาดโลกขณะนี้ บุคลากรที่จะทำงานก็เป็นคนไทยล้วน โดยเราจะมีโครงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และมีศูนย์วิจัยและพัฒนาเป็นของบริษัทเองด้วยสำหรับในด้านการตลาดนั้น จากการที่กระทรวงพลังงานมีแผนยุทธศาสตร์ที่จะส่งเสริมให้มีการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้าอย่างจริงจัง ลดการพึ่งพิงพลังงานฟอสซิล และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยแผนดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้มีการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ระหว่าง พ.ศ.2548-2554 มีปริมาณรวมอย่างน้อย 250 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่าของอุตสาหกรรมแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปีอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างมาตรการที่รัฐบาลกำลังจะประกาศออกมาใช้และจะทำเกิดตลาดเซลล์แสงอาทิตย์โตอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณมากที่จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ มาตรการกำหนดให้โรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ต้องผลิตหรือจัดกาไฟฟ้าที่ได้พลังงานหมุนเวียน หรือมาตรการอาร์พีเอส ต่อไปเราจะพบเห็นว่ามีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านมากมายในประเทศไทย ดังนั้น บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) จึงถือว่าเป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่มีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งด้านการตลาด ด้านการผลิต และด้านการให้บริการติดตั้งระบบการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ การลงทุนโครงการใหญ่ครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นแนวหน้าของโลก"
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2547 บริษัทมีรายได้รวม 1,063.76 ล้านบาท เป็นรายได้จากโครงการโซลาร์โฮม 941.62 ล้านบาท โดยมีต้นทุนขายเท่ากับ 874.06 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเท่ากับ 36.55 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิในเท่ากับ 135.52 ล้านบาท
อนึ่ง ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 300 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เป็นทุนที่ชำระแล้ว 240 ล้านบาท การเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทต่อประชาชนในครั้งนี้ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 60 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 20 ล้านหุ้น รวมจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายต่อประชาชนทั้งสิ้น 80 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 26.67 ของทุนชำระแล้วหลังการเสนอขายในครั้งนี้--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๑๘ รพ.ยันฮี และ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ประสาน องค์กรทำดี มูลนิธิกระจกเงา และ กัน จอมพลัง มอบน้ำดื่มและยารักษาโรค มูลค่ากว่า 6
๐๘:๓๔ โรงพยาบาลยันฮี ฉลองความสำเร็จ 40 ปี ตอกย้ำผู้นำด้านสุขภาพและความงามครบวงจร พร้อมมอบสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ผ่าตัดรักษาต้อเนื้อฟรี 20 ราย
๐๘:๔๓ อบรมผู้ประกาศฯ ไทยพีบีเอส อัดแน่นคุณภาพ มุ่งเตรียมพร้อมผู้ประกาศหน้าใหม่สู่วงการสื่อ
๐๘:๓๘ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ขอชวนร่วมงาน Global Day of Discovery และคอนเสิร์ตสุดพิเศษจาก บุรินทร์
๐๘:๔๔ คริสตี้ส์ เอเชีย: การประมูลศิลปะศตวรรษที่ 20/21 ในเดือนพฤศจิกายน
๐๘:๕๖ ไทยพีบีเอส จับมือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผลักดัน หม่อมเป็ดสวรรค์ สู่ตลาดคอนเทนต์ ระดับสากล ในงาน TIFFCOM
๐๘:๔๕ ครั้งแรกในไทย! ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจโรงงานสกัดแยกโลหะมีค่าจากวัสดุใช้แล้ว ยกระดับสู่มาตรฐานสากล
๐๗:๒๔ Chappell Roan ตอกย้ำความปัง HOT TO GO! ส่งวิดีโอแดนซ์รวมแก๊ง Pink Pony Club จาก South East Asia
๐๗:๕๗ JPARK ร่วมพิธีเปิด Tops สาขา JPark Avenue Nonthaburi
๐๘:๔๓ การเคหะแห่งชาติจับมือสปสช.นำร่องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ 5 ชุมชนฟรี